สถานการณ์ราคาน้ำมันประจำสัปดาห์ และแนวโน้มในสัปดาห์นี้ ที่ 18 — 22 ก.ค. 54

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 20, 2011 11:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--ปตท. ฝ่ายบริหารความเสี่ยงราคาและวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันว่า ราคาน้ำมันเฉลี่ยสัปดาห์ที่ 11 มิ.ย. - 15 ก.ค. 54 ราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น 2.69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ระดับ 110.21 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) เพิ่มขึ้น 2.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 117.87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบเวสเท็กซัส (WTI) ลดลง 0.39 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลอยู่ที่ 96.71 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 0.10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 126.21 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 3.49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 129.11 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา ได้แก่ ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงบวก 16 ก.ค. 54 เกิดเหตุท่อขนส่งน้ำมันดิบ (30,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท BP รั่วที่แหล่งผลิต Prudhoe Bay ในมลรัฐอลาสกา ประเทศสหรัฐฯ 15 ก.ค. 54 บริษัท TransCanada Corp. ของแคนาดามีแผนปิดซ่อมบำรุงระบบท่อขนส่ง Keystone (591,000 บาร์เรลต่อวัน) จากปัญหาการรั่วไหล ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบจากแคนาดามายังคลังเก็บน้ำมัน Cushing รัฐ Oklahoma ของสหรัฐฯในเดือน ส.ค. 54 ลดลง 20% สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (Energy Information Administration: EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์สัปดาห์สิ้นสุด 8 ก.ค. 54 ลดลง 3.1 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 355.5 ล้านบาร์เรล และ Gasoline ลดลง 0.8 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 211.7 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม Distillates เพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 145.0 ล้านบาร์เรล อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาส 2/54 อยู่ที่ 9.5% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 9.4% (ไตรมาส 1/54 อยู่ที่ 9.7% ) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ก.ค. 54 ลดลง 22,000 ราย จากสัปดาห์ก่อน อยู่ที่ 405,000 ราย ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงลบ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก (Organization of the Petroleum Exporting Countries: OPEC) รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน มิ.ย. 54 เพิ่มขึ้น 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อน อยู่ที่ 29.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน (หากไม่รวมอิรัก OPEC - 11 ผลิตน้ำมันที่ระดับ 26.89 ล้านบาร์เรลต่อวัน) โดยซาอุดีอาระเบียผลิตเพิ่มขึ้น 0.46 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 9.42 ล้านบาร์เรลต่อวัน Euroilstock รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของยุโรป (16 ประเทศ) ในเดือน มิ.ย. 54 เพิ่มขึ้น 5.9 ล้านบาร์เรล จากเดือนก่อน อยู่ที่ 466.8 ล้านบาร์เรล 14 ก.ค. 54 ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) Mr. Ben Bernanke แถลงต่อคณะกรรมาธิการธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยไม่ได้เสนอมาตรการผ่อนปรนเชิงปริมาณครั้งที่ 3 (QE3) อาทิ การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งส่งสัญญาณขัดแย้งกับที่ได้แถลงต่อสภาผู้แทนฯ เมื่อวันก่อนหน้า ถึงความพร้อมในการใช้ QE3 ทั้งนี้ รายงานการประชุมนโยบายของ FED (21-22 มิ.ย. 54) ล่าสุด ระบุถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง เนื่องจากอัตราการว่างงานยังสูง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody's ลดระดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์ลง 1 ขั้น จาก Baa3 อยู่ที่ Ba1 ซึ่งเป็นระดับ Junk Bond และเตือนว่าไอร์แลนด์ยังต้องการความช่วยเหลือ (Bailout) รอบสอง ประกอบกับ Fitch Ratings ลดระดับความน่าเชื่อถือของกรีซลง จาก B+ อยู่ที่ CCC ซึ่งเป็นระดับ Junk Bond ขณะที่ S&P’s อาจลดความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ลงจากระดับ AAA หากสหรัฐฯ ผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากเพิ่มเพดานหนี้ไม่สำเร็จ ในระยะสั้นราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI มีแนวรับแนวต้านอยู่ที่ 115-120 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลและ 94-99 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยนักลงทุนปรับลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจมหภาคของทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการลงทุนในตลาดน้ำมัน และเพิ่มการลงทุนในตลาดทองคำซึ่งนักลงทุนเห็นว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่า ทั้งนี้สหรัฐฯ และยุโรปล้วนเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาหนี้ ล่าสุดบริษัทวาณิชธนกิจขนาดใหญ่ของโลก Goldman Sachs ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 2/54 ที่ระดับ 1.5% ลดลงจากเดิมที่ 2% อย่างไรก็ตามควรจับตามองทิศทางของ IEA ที่มีกำหนดประเมินผลของการระบายน้ำมันปริมาณ 60 ล้านบาร์เรลสู่ตลาดในวันที่ 23 ก.ค. นี้ว่า IEA จะระบายน้ำในระลอกใหม่อีกครั้งหรือไม่ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศซึ่งล่าสุดเยอรมนี และอิตาลีมีท่าทีไม่เห็นด้วย นอกจากนั้นให้ติดตามประเด็นร้อนทางเศรษฐกิจโดยวันพฤหัสฯนี้จะมีการประชุมผู้นำยูโรโซนเพื่อสรุปความช่วยเหลือรอบสองแก่กรีซ และปลายสัปดาห์มีการประชุมสภาคองเกรสของสหรัฐฯเพื่อสรุปเรื่องการเพิ่มเพดานหนี้ โทร. 0 2537-1630 ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โทรสาร 0 2537-2171

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ