สมาคมนักวิเคราะห์ฯ ฟันธงดัชนีตลาดหุ้นสิ้นปีที่ 729

ข่าวทั่วไป Friday February 9, 2007 12:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ก.พ.--ตลท.
สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ทำโพลล์สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์สำหรับการลงทุนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ธันวาคม 2550 โดยนายสมบัติ
นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมฯ เปิดเผยผลสรุปความเห็นของนักวิเคราะห์ล่าสุด เทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อ 19 ตค. 2549 พบว่าตัวเลขคาดการณ์ทาง
เศรษฐกิจลดลงตามคาด โดย GDP Growth และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีค่าเฉลี่ยคาดการณ์เติบโตที่ร้อยละ 4.2 และ 2.6 ตามลำดับ กลุ่มธุรกิจที่
คาดว่าจะมีผลประกอบการเติบโตสูงที่สุดคือ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะยังคงเป็นผู้ซื้อสุทธิต่อเนื่อง โดยผลตอบแทนจากการ
ลงทุนในหุ้นสามัญจะสูงกว่าการลงทุนประเภทอื่น นอกจากนี้ นักวิเคราะห์มองว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในวันสิ้นปี 2550 เฉลี่ยอยู่ที่ 729 จุด โดยกลุ่ม
ที่น่าลงทุนได้แก่ ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ รับเหมาก่อสร้าง และพลังงานตามลำดับ แต่น่าสังเกตว่าพลังงานได้รับความนิยมแนะนำลดลง
สำหรับการสำรวจครั้งแรกของปี 2550 นี้ สมาคมนักวิเคราะห์ฯ ได้สอบถามความเห็นของนักวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นเดือน
กุมภาพันธ์ - ธันวาคม 2550 ซึ่งรวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ความเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาลชุด
ปัจจุบัน ผลกระทบต่อดัชนีราคาหุ้นหากการเลือกตั้งล่าช้ากว่าที่คาดไว้ แนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน
คาดการณ์ EPS Growth ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ ผลตอบแทนของการลงทุนประเภทต่าง ๆ กลุ่มธุรกิจและหุ้นที่แนะนำให้ลงทุน รวมถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล
เกี่ยวกับนโยบายสำคัญที่ควรดำเนินการ โดยมีสำนักวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นรวม 19 แห่ง
ปัจจัยบวกที่สำคัญต่อการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ — ธันวาคม 2550 อันดับแรกที่นักวิเคราะห์เกือบทั้งหมดหรือร้อยละ 95 เห็น
ตรงกัน คือ การที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง อันดับที่สอง คือ ราคาน้ำมันที่ลดลง มีผู้ตอบร้อยละ 53 อันดับที่สาม มีผู้ตอบร้อยละ 37 คือ หาก
มีการเลือกตั้งภายในปี 2550 อันดับที่สี่มีสองประเด็นที่มีผู้ตอบจำนวนเท่ากันที่ร้อยละ 32 คือ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง และนโยบายภาครัฐในด้านการ
ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งโครงการเมกะโปรเจ็กต์และการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายปีนี้ได้ทันตามกำหนดเวลา
สำหรับปัจจัยลบที่สำคัญ อันดับแรกคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับนโยบายบางด้านของรัฐบาลที่ยังไม่ชัดเจน เช่น นโยบายทางการเงิน การแก้ไข พรบ.
ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรณีความไม่แน่นอนในการขอเพิกถอน พรฎ.ที่เกี่ยวกับการแปรรูป ปตท. อันอาจมีผลต่อการเพิกถอนการจดทะเบียนในตลาดหุ้นของ
ปตท. เป็นต้น มีผู้ตอบร้อยละ 79 อันดับสองมีผู้ตอบร้อยละ 63 คือ สถานการณ์ทางการเมือง อันดับที่สาม คือ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ชะลอ
ตัว มีผู้ตอบร้อยละ 37 ส่วนสถานการณ์ความไม่สงบภาคใต้และการก่อการร้ายต่าง ๆ มีผู้ตอบร้อยละ 26 เป็นอันดับสี่ และอันดับที่ห้าคือ ความเชื่อ
มั่นของนักลงทุนที่ลดลง มีผู้ตอบร้อยละ 21
จากการสอบถามความเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบัน พบว่า ในด้านเศรษฐกิจนั้น นักวิเคราะห์ร้อยละ 68 มีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง ร้อย
ละ 21 มีความเชื่อมั่นเล็กน้อย และมีเพียงร้อยละ 11 ที่ไม่มีความเชื่อมั่น ส่วนในด้านสังคมและการเมือง พบว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
58 เชื่อมั่นปานกลาง ร้อยละ 32 เชื่อมั่นเล็กน้อย ในขณะที่นักวิเคราะห์ที่เชื่อมั่นมาก และไม่เชื่อมั่นมีร้อยละ 5 เท่ากัน
ทั้งนี้ นโยบายสำคัญที่นักวิเคราะห์มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐดำเนินการ อันดับแรก คือ แนะนำให้รัฐบาลมีความระมัดระวังและรอบคอบในการออก
มาตรการหรือนโยบายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายทางการเงินการคลัง เช่น มาตรการกันสำรอง 30% การออกกฎหมายถือครองหุ้นของคนต่างด้าว เป็นต้น
เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนและความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยมีผู้ตอบถึงร้อยละ 42 นอกจากนี้ยังมีนักวิเคราะห์ร้อยละ 32 แนะนำให้รัฐบาล
เร่งดำเนินโครงการเมกะโปรเจ็กต์โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโครงสร้างสาธารณูปโภคให้รวดเร็วและโปร่งใส สำหรับนโยบายสำคัญด้านอื่นที่นักวิเคราะห์เสนอ
ได้แก่ การเร่งสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยและต่างชาติ การเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้สามารถจัดการเลือกตั้งได้ตามกำหนดเวลา เป็นต้น
ต่อคำถามเกี่ยวกับผลกระทบต่อดัชนีราคาหุ้นหากรัฐบาลปัจจุบันจำเป็นต้องยืดเวลาออกไปอีก 6 เดือน - 1 ปีจากเดิมที่คาดว่าอยู่ครบ 1 ปีใน
เดือนตุลาคม 2550 นั้น นักวิเคราะห์จำนวนร้อยละ 79 มองว่าจะส่งผลลบ ในขณะที่ร้อยละ 21 เห็นว่าไม่น่ามีผลกระทบต่อดัชนีหุ้น
จากผลสำรวจประมาณการตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2550 สมาคมนักวิเคราะห์ฯ พบว่า นักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการตัวเลขต่าง ๆ ลดลง
จากผลสำรวจเมื่อเดือนตุลาคม 2549 โดยอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth เฉลี่ยของปีนี้ลดลงเล็กน้อยเป็น 4.2% เทียบกับการสำรวจครั้งก่อน
ที่ 4.5% ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน หรือ EPS Growth เฉลี่ยก็ต่ำลงจากเดิม 4.4% เป็น 2.6%
สำหรับตัวเลขสำคัญ ณ สิ้นปี นักวิเคราะห์คาดว่า ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้เดิม โดยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและ
ดอลลาร์สรอ. ณ สิ้นปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 35.7 บาท จากเดิมคาดไว้ 37.4 บาท สำหรับอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ในปลายปีนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าเฉลี่ย
อยู่ที่ 4.1% ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Index สิ้นปีนี้เฉลี่ยคาดว่าอยู่ที่ 729 จุด ลดลงจากการสำรวจที่ผ่านมา โดยมีสำนักวิจัยที่พยากรณ์
ดัชนีสิ้นปีสูงสุดที่ 800 จุดและสำนักวิจัยที่คาดการณ์ดัชนีวันสิ้นปีไว้ต่ำที่สุดที่ 680 จุด
ตารางที่ 1 - ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ
ค่าเฉลี่ย ตัวเลขของผู้คาดการณ์สูงสุด ตัวเลขของผู้คาดการณ์ต่ำสุด จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ
สำรวจ ณ 19 ตค.49 สำรวจ ณ สำรวจ ณ 19 ตค.49 สำรวจ ณ สำรวจ ณ 19 ตค.49 สำรวจ ณ สำรวจ ณ 19 ตค.49 สำรวจ ณ
5 กพ.50 5 กพ.50 5 กพ.50 5 กพ.50
รวมทั้งปี 2550
GDP Growth 4.5 4.2 5.1 4.8 3 3.7 19 18
EPS Growth 4.4 2.6 10.8 12.0 0.1 -6.8 17 19
ณ สิ้นปี 2550
SET Index 799 729 900 800 730 680 16 19
FOREX Bht:US$ 37.4 35.7 39 37.5 36.5 33.8 19 18
ดอกเบี้ย RP 1 วัน n/a 4.1 n/a 4.5 n/a 3.5 - 18
ในส่วนของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ ประเมินจากอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ จากผลที่ได้
จากแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จะเติบโตสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ย EPS Growth ที่ร้อยละ 18.7 อันดับสองคือ ธนาคาร เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ
10.2 อันดับต่อมาคือ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และปิโตรเคมี เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 2.8 และ 0.3 ตามลำดับ
ตารางที่ 2 - EPS Growth (%) แยกตามกลุ่มธุรกิจ
กลุ่มธุรกิจ ค่าเฉลี่ย จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ
อสังหาริมทรัพย์ 18.7 13
ธนาคาร 10.2 14
วัสดุก่อสร้าง 2.8 13
ปิโตรเคมี 0.3 13
เดินเรือ -0.7 11
พลังงาน -1.6 13
นักวิเคราะห์ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89 เชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากราคาหุ้นไทย
นับว่าถูกมาก และยังมีกระแสเงินลงทุนไหลเข้าภูมิภาคเอเซียจำนวนมาก ทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าไทยด้วย ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ผลตอบแทนในการ
ลงทุน 5 ประเภท โดยคาดว่าการลงทุนในหุ้นสามัญปีนี้จะได้รับผลตอบแทนในอัตราสูงที่สุด หรือเฉลี่ยร้อยละ 9.8 อันดับสองคือ ทองคำ ได้รับผลตอบแทน
เฉลี่ยร้อยละ 7.6 และอันดับสามได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยใกล้เคียงกันหรือร้อยละ 7.5 คือ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่กองทุนตราสารหนี้ได้รับผล
ตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 5.6 และอันดับสุดท้ายคือ เงินฝากธนาคาร คาดว่าผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.7
ตารางที่ 3 - คาดการณ์ผลตอบแทนการลงทุน
ประเภทของการลงทุน ค่าเฉลี่ย (%) จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ
หุ้นสามัญ 9.8 16
ทองคำ 7.6 11
กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 7.5 12
กองทุนตราสารหนี้ 5.6 12
เงินฝากธนาคาร 3.7 16
สำหรับกลุ่มธุรกิจที่น่าลงทุนนั้น นักวิเคราะห์แนะนำ ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ รับเหมาก่อสร้าง และพลังงาน ตามลำดับ ทั้งนี้ เชื่อว่า
อัตราการเติบโตของกลุ่มธนาคารจะอยู่ในระดับสูง เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะช่วยให้สินเชื่อขยายตัวขึ้น
อสังหาริมทรัพย์ก็จะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเช่นกัน รับเหมาก่อสร้างจะได้ประโยชน์จากโครงการลงทุนของรัฐบาล เช่น การประมูลโรง
ไฟฟ้า รถไฟฟ้า รวมถึงการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน สำหรับพลังงานได้รับความนิยมลดลงเหลืออันดับสี่ แต่บางบริษัทในหมวดพลังงานยังได้ประโยชน์จาก
การประมูลโรงไฟฟ้าใหม่
หุ้นที่นักวิเคราะห์แนะนำให้ลงทุนตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ BANPU, BBL, KBANK, LPN, SCB, SEAFCO เป็นต้น (เรียงตามลำดับตัวอักษร)
แหล่งข้อมูล...สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โทร. 02-229-2355-6 อีเมล์ info@saa-thai.org
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ