กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์
นักโภชนาการแนะ การรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมไขมันไม่มากเกินไป และเลี่ยงไขมันไม่ดี สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดและรักษาสมดุลของน้ำหนักตัว พร้อมช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายต่างๆ ที่สำคัญการมีสุขภาพดีต้องเริ่มด้วยการดูแลใส่ใจและรักตัวเอง…
พฤติกรรมการบริโภคของคนในปัจจุบันมักไม่คำนึงถึงสารอาหารที่มีประโยชน์และโทษ เอาเพียงความสะดวกเข้าว่า กินตามใจปาก กินตามกระแสนิยม โดยเฉพาะขนมกรุบกรอบ คุกกี้ อาหารฟาสฟู๊ด หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม ตามแบบต่างชาติ แต่เราไม่เคยรู้เลยว่า อาหารเหล่านี้มีไขมันทรานซ์อยู่ในปริมาณที่ทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ด้วยเหตุนี้ชมรมโภชนวิทยามหิดล จึงได้ร่วมกับ บริษัท ฟอร์แคร์ จำกัด ผู้ผลิตกะทิธัญพืชฟอร์แคร์ จึงจัดประชุมหัวข้อ “ระวังภัย...ไขมันทรานส์” ที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้
ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า การบริโภคอาหารของคนเราส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของเราอย่างมหาศาล โดยมีการศึกษาวิจัยและติดตามผลอย่างต่อเนื่องมาเป็นสิบๆ ปี ชี้ให้เห็นว่า การรับประทานอาหารไม่สมดุลในสัดส่วนของสารอาหาร โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน จะทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
การมีโภชนาการที่ดี.. นั้นควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน หนังเป็ด ไก่ และน้ำมันหรือไขมันที่มีไขมันอิ่มตัวซึ่งเป็นตัวการสำคัญทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ขณะเดียวกันเพิ่มอาหารที่มีไฟเบอร์ หรือใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ขัดสีน้อย ซึ่งอุดมด้วยใยอาหารชนิดละลายน้ำ เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมไขมันได้น้อยลง ซึ่งมีผลวิจัยทางการแพทย์ในหลายประเทศระบุว่า สามารถลดคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยรักษาสมดุลน้ำหนักของร่างกาย และองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้ให้การรับรองว่าสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลและป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้
นักโภชนาการ กล่าวต่อว่า “คอเลสเตอรอลในเลือด มี 2 ชนิด คือ 1.แอลดีแอล คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดร้าย มาจากอาหารที่มีไขมันสูง ไขมันนี้ร่างกายสร้างขึ้นเอง 2.เอชดีแอล คอเลสเตอรอลไขมันชนิดดี ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ยิ่งสูงขึ้นจะเป็นผลดี และจะเกิดกับผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมคอเลสเตอรอล สามารถทำได้โดยการออกกำลังกาย คือจะต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการเลือกอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักโภชนาการ เป็นหนทางที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคร้ายเหล่านี้ได้ และควรตระหนักว่าอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีคืออาหารที่มีไขมันต่ำ โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ขณะเดียวกันก็ต้องมีคอเลสเตอรอลต่ำและมีเส้นใยอาหารสูง ดังนั้นผู้ฉลาดในการรับประทานจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพของอาหารเป็นหลักอยู่เสมอ”
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งควบคุมปริมาณไขมัน และสัดส่วนของกรดไขมันเน้นว่า กรดไขมันอิ่มตัวต้องต่ำและกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง เลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ เลือกกินอาหารที่มีไขมันต่ำ เน้นผัก ผลไม้ และธัญพืช ไม่ทานรสหวานจัด หรือเค็มจัด ขนมสำเร็จรูป คุ๊กกี้ พาย อาหารทอดที่ใช้น้ำมันซ้ำ อาหารฟาสฟู๊ด อาหารตามซูเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงอาหารไดเอ็ทด้วย เพราะที่บอกว่าไม่มีไขมันอิ่มตัวไม่ทำให้อ้วน แต่มีไขมันทรานส์ นอกจากจะทำให้อ้วนแล้วจะทำลายสุขภาพด้วย ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยเวลาเลือกอาหารควรอ่านฉลากให้ละเอียดและคำนวณดูว่ามีไขมันทรานส์เยอะหรือไม่
นอกจากนี้ ความนิยมของคนไทยที่เป็นส่วนประกอบหลักคู่ความอร่อยของครัวไทยนั่นคือ “กะทิ” ทำได้ทั้งผัด แกง ต้ม หรือของหวาน ซึ่งกะทิจากมะพร้าวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เป็นตัวการสำคัญที่เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และอาหารไขมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะไขมันจากกะทิ ซึ่งในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์กะทิจากธัญพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกะทิจากมะพร้าวแถมยังไร้กังวลจากปัญหาคอเลสเตอรอล เพราะ “กะทิธัญพืช” ผลิตจากโปรตีนจากถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ไม่มีส่วนผสมของกะทิมะพร้าว มีสัดส่วนของกรดไขมันที่เหมาะสม ให้ความอร่อยไม่แตกต่างจากกะทิจากมะพร้าว และสามารถใช้ปรุงอาหารแทนกะทิได้ทั้งคาว หวาน เหมาะที่จะเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้รักและห่วงใยสุขภาพ
“อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสินค้าบริโภคมีมากมายหลากหลายชนิดหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อต่างก็มีข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป จนผู้บริโภคไม่ทราบว่าสินค้าไหนจะดีต่อสุขภาพ ฉะนั้นเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี ก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ให้สังเกตตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” ของโครงการ “อาหารไทยหัวใจดี” จากมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ” นักโภชนาการกล่าวในตอนท้าย
สอบถามรายละเอียดที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2718-3800 ต่อ 132
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net