องค์การที่อยู่อาศัยฯ พร้อมผลักดันให้การมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงปลอดภัย ต้องเป็นภาระเร่งด่วนในเอเชียแปซิฟิก

ข่าวอสังหา Wednesday July 27, 2011 17:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ เกือบ 70 % ของประชากรที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากภัยธรรมขาติในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2554 ในจำนวนนี้ มากกว่า 1 ล้านคนเป็นประขากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยการประชุมฯ ระดับภูมิภาค มุ่งหาทางออก เรื่องที่อยู่อาศัยท่ามกลางสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และภัยธรรมชาติ ผู้นำขององค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากลเปิดเผยว่า พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว สึนามิ และอุทกภัยและผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น ในขณะที่จำนวนประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มมากขึ้น หากยังมีการขาดแคลนที่อยู่อาศัยที่ถูกออกแบบและก่อสร้างอย่างถูกต้อง จำนวนผู้ได้รับผลกระทบก็จะเพิ่มสูงขึ้นและผลกระทบนั้นก็ยิ่งจะร้ายแรงมากขึ้นตามไปด้วย นายริค แฮททะเวย์ (Mr. Rick Hathaway) รองประธานองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าประชากรที่เพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกต้องการที่อยู่อาศัยซึ่งมั่นคงไม่พังทะลายเมื่อประสบภัยแผ่นดินไหวหรือพายุไต้ฝุ่น ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมและปลอดภัยจากเถ้าถูเขาไฟ เนื่องจาก 60 เปอร์เซนต์ของประชากรในชุมชนแออัดทั้งโลกอาศัยอยู่ในแถบนี้ บ้านและที่อยู่อาศัยที่มั่นคงปลอดภัยจึงต้องมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ดังนั้น การหาทางออกที่มีประสิทธิผลในการปกป้องผู้ยากไร้ในเอเชียจากผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติ จึงเป็นหัวข้อหลักในเวทีการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 3 การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นทุกสองปี และกำลังจะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งเป็นโอกาสที่ผู้แทนรัฐบาล องค์กรไม่แสวงผลกำไร นักวิชาการ และบริษัทเอกชน จะได้พบปะเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสนอทางออกของปัญหาที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นปัญหาที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง “คนหลายล้านทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องการที่พักพิงสักแห่งที่เรียกได้ว่าบ้าน บ้านซึ่งมีความหมายมากกว่าที่พักสักแห่งที่เป็นของพวกเขา แต่ยังเป็นที่ที่เด็กๆจะได้รับการศึกษา และเป็นที่ๆครอบครัวใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ และยังรวมถึงโครงสร้างที่พร้อมเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติ” ดร. ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย (Dr Chainarong Monthienvichienchai) ประธานกรรมการ มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ประเทศไทย กล่าว “นี่คือสิ่งท้าทายยิ่งใหญ่ และทางออกของที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืนทั่วทั้งภูมิภาค เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด” การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 7 - 9 กันยายน พ.ศ. 2554 นี้ คาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมการประชุมราว 800 คน จาก 30 ประเทศ สามารถลงทะเบียนได้แล้วที่เว็บไซด์ www.aphousingforum.org การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกปีนี้ จะรวมนิทรรศการ การนำเสนอเทคนิคและบริการทางการเงิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับบ้านและที่อยู่อาศัย ผู้บรรยายและผู้สนับสนุนที่ยืนยันเข้าร่วมงานรวมถึง: ฯพณฯ ท่าน นางแอนนา ทิไบจูคา (Honorable Anna Tibaijuka) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาที่ดิน ที่อยู่อาศัย และการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ แห่งสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (Minister for Lands, Housing and Human Settlements of the United Republic of Tanzania) และอดีตผู้อำนวยการบริหารใหญ่โครงการตั้งถิ่นฐานมุนษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-HABITAT) นาย อัศวิน ดายาล (Mr. Ashvin Dayal) ผู้อำนวยการ ประจำสำนักงานภูมิภาคเอเชีย (Managing Director , Asia) มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation ) นาย ยัง วู ปาร์ค (Mr. Young-Woo Park) ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคและตัวแทนประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Regional Director and Representative for Asia and the Pacific) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) นาย เทรเวอร์ เพียร์ซ (Mr. Trevor Pierce) หัวหน้าการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Head of FX Trading (Asia-Pacific)) ไอเอ็นทีแอล โกลบอล เคอเรนซีส์ (INTL Global Currencies) นายอังเดร เฮอร์ซ็อก (Mr. Andre Herzog) ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านชุมชน สถาบันวิชาการแห่งธนาคารโลก (World Bank Institute) นายทีโอฟิดโต กินโนน่า III (Mr. Teofisto Guingona III), วุฒิสมาชิก สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีประสบการณ์จากภัยฤดูแล้ง แผ่นดินไหว น้ำท่วม และแผ่นดินถล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 50 รายและยังมีประชาชนอีกกว่า 1 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ