กรุงเทพฯ--4 ส.ค.--ปภ.
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยรวม 16 จังหวัด 105 อำเภอ 542 ตำบล 3,889 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 125,513 ครัวเรือน 441,316 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 217 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 29,510 ไร่ ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮองสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครพนม อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ ผู้เสียชีวิต 7 ราย ผู้สูญหาย 4 คน ผู้บาดเจ็บ 12 คน ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 2 จังหวัด ได้แก่ น่าน และหนองคาย ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 14 จังหวัด 92 อำเภอ 491 ตำบล 3,600 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 125,513 ครัวเรือน 441,316 คน
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึง อิทธิพลของพายุโซนร้อน “นกเตน” (NOCK - TEN)ที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2554 แม้ภาวะฝนตกจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตนจะคลี่คลายลงแล้ว แต่ก็ยังส่งผลให้มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม รวม 16 จังหวัด
105 อำเภอ 542 ตำบล 3,889 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 125,513 ครัวเรือน 441,316 คน บ้านเรือนเสียบางส่วน 217 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 29,510 ไร่ ถนน 264 สาย ฝาย/ทำนบ 20 แห่ง ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮองสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครพนม อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ ผู้เสียชีวิต 7 ราย
ผู้สูญหาย 4 คน ผู้บาดเจ็บ 12 คน ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 2 จังหวัด ได้แก่ น่าน และหนองคาย ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 14 จังหวัด 92 อำเภอ 491 ตำบล 3,600 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 125,513 ครัวเรือน 441,316 คน ดังนี้
แพร่ ลำน้ำสาขาของแม่น้ำยม ลำห้วยแม่ยาง ลำห้วยแม่หล่าย ลำห้วยแม่แคม ไหลเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 5,000 ครัวเรือน 25,776 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ได้แก่ อำเภอเมืองแพร่ วังชิ้น หนองม่วงไข่ ร้องกวาง สูงเม่น สอง และลอง
สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 5,379 ครัวเรือน 16,498 คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง และกงไกรลาศ
เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 16 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 3,643 ครัวเรือน 7,158 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้แก่อำเภอเมืองเชียงใหม่ สันทราย สันกำแพง ดอยสะเก็ด แม่ออน พร้าว แม่ริม อมก๋อย แม่แตง ไชยปราการ ฮอด สารภี แม่แจ่ม สันป่าตอง แม่อาย และหางดง
ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 10,490 ครัวเรือน 35,001 คน ได้แก่ อำเภอเมืองลำพูน ลี้ ป่าซาง และแม่ทา
ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ 1 เทศบาล ราษฎรเดือดร้อน 16,476 ครัวเรือน 41,359 คน ได้แก่ อำเภอเมืองลำปาง แจ้ห่ม งาว แม่เมาะ วังเหนือ ห้างฉัตร เกาะคา แม่ทะ และเมืองปาน
แม่ฮองสอน น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 7 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 9,230 ครัวเรือน 26,771 คน ผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 12 คน และสูญหาย 4 คน ได้แก่ อำเภอเมืองแม่ฮองสอน ปาย ปางมะผ้า ขุนยวม แม่สะเรียงแม่ลาน้อย และสบเมย
อุตรดิตถ์ น้ำป่าจากภูเขาไหลลงสู่ห้วยน้ำพี้ เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ทองแสนขัน น้ำปาด ฟากท่า ลับแล ท่าปลา ตรอน พิชัย และบ้านโคก ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ
พิจิตร น้ำในลุ่มน้ำยมไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 5 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 4,591 ครัวเรือน 12,687 คนได้แก่ อำเภอเมืองพิจิตร ตะพานหิน บางมูลนาก และบึงนาราง
พิษณุโลก น้ำในลำน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพิษณุโลก นครไทย และชาติตระการ
นครพนม น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 30,566 ครัวเรือน 126,552 คน ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม บ้านแพงท่าอุเทน นาทม โพนสวรรค์ ศรีสงคราม นาหว้า และเรณูนคร ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มการเกษตรบางพื้นที่
อุดรธานี น้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 2 อำเภอ ผู้เสียชีวิต 1 ราย ได้แก่ อำเภอนายูง และน้ำโสม ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว อยู่ในระหว่างการฟื้นฟู
บึงกาฬ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 28,048 ครัวเรือน 72,243 คน ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ โขงหลง บุ่งคล้า ปากคาด และพรเจริญ
สกลนคร น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 12,063 ครัวเรือน 77,201 คน ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร คำตากล้า โคกศรีสุพรรณ อากาศอำนวย กุสุมาลย์ กุดบาก เจริญศิลป์ บ้านม่วง และโพนนาแก้ว
ประจวบคีรีขันธ์ เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 32 ครัวเรือน 70 คน ได้แก่ อำเภอหัวหิน และปราณบุรี
นอกจากนี้ น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลลงสู่คลองบางหลวง ทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยารวม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล เสนา และผักไห่ และได้เกิดลมกระโชกแรงในพื้นที่ ตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ส่งผลให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 64 ครัวเรือน 192 คน ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ
สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งเรือท้องแบน 46 ลำ เรือไฟเบอร์ 90 ลำ พร้อมเครื่องยนต์ 19 เครื่อง ถุงยังชีพ 4,277 ถุง พร้อมเจ้าหน้าที่ 30 นาย สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป