กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--สปส.
สำนักประกันสังคม (สปส.) แจงแนวปฏิบัตินายจ้าง กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนได้
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ปัจจุบัน สำนักงานกองทุนเงินทดแทนให้ความคุ้มครองลูกจ้างในสถานประกอบการจำนวน 8.2 ล้านคน (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 50) ทั้งนี้เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลได้ทุกแห่ง เนื่องจากกฎหมายกองทุนเงินทดแทน กำหนดไว้ว่านายจ้างส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่สถานพยาบาลที่มีแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 นั่นหมายถึงได้ตั้งแต่คลินิกที่มีแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 ประจำทำงาน ทั้งโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน หากโรงพยาบาลนั้นมิได้เป็นโรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน นายจ้างต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วนำหลักฐาน ได้แก่ ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จรับเงินมาเบิกจ่ายจากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ / จังหวัด / สาขา ได้ภายหลัง
ส่วนกรณีที่นายจ้างไม่ประสงค์สำรองจ่ายค่ารักษาก่อน นายจ้างสามารถส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน โดยมีแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) ซึ่งปัจจุบันมีสถานพยาบาลที่อยู่ในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน ณ ปี 2550 รวม 1,132 แห่ง เป็นสถานพยาบาลภาครัฐ 871 แห่ง และภาคเอกชน 261 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งข้อมูลจากโรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนพบว่าอัตราการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง ร้อยละ 70 อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ตามลำดับ
ทั้งนี้นายจ้างต้องแจ้งการประสบอันตรายตามแบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะ หรือสูญหาย และคำร้องขอรับเงินทดแทน (กท. 16) ส่งให้ประกันสังคมเขตพื้นที่ / จังหวัด / สาขา ที่นายจ้างขึ้นทะเบียนไว้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง พร้อมใบรับรองแพทย์และสำเนาแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท. 44) ถ้ามี สำหรับโรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนทั่วประเทศประจำปี 2551 มีโรงพยาบาลรัฐจำนวน 871 แห่ง โรงพยาบาลเอกชนจำนวน 54 แห่ง (สามารถตรวจดูรายชื่อโรงพยาบาลได้ที่ www.sso.go.th)
ส่วนที่มีข่าวออกมาว่าชมรมโรงพยาบาลเอกชนเพื่อการพัฒนาระบบบริการประกันสังคมออกมาระบุว่า จะไม่ทำข้อตกลงกับกองทุนเงินทดแทนหลังจากสิ้นสุดข้อตกลงในสิ้นเดือนธันวาคม 2550 นั้น ขณะนี้โรงพยาบาลในกลุ่มชมรมโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนาระบบบริการประกันสังคม จำนวน 112 แห่ง ได้รับคำชี้แจงจากสำนักงานประกันสังคมแล้ว ได้มีความประสงค์เข้าร่วมเป็นโรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนในขณะนี้จำนวน 55 แห่ง
สำหรับสถานพยาบาลที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมเป็นสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนนั้นสามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.sso.go.th e-service สมัครเข้าร่วมกองทุนเงินทดแทน ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน โทร.0-2956-2725-7 หรือสายด่วน 1506
สถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑล
กรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลรัฐ
โรงพยาบาลกลาง วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันประสาทวิทยา สถาบันพยาธิวิทยา สถาบันมะเร็งแห่งชาติโรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินุธโรอุทิศ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (สาขาพร้อมมิตร) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลลาดกระบัง โรงพยาบาลหนองจอก
โรงพยาบาลเอกชน
เซ็นทรัลเมดิกคลินิกเวชกรรม สาขาบางโพ เซ็นทรัลเมดิกเกษตรคลินิกเวชกรรม เซ็นทรัลเมดิกคลินิกเวชกรรม สาขาดินแดง เซ็นทรัลเมดิกคลินิกเวชกรรม สาขารัชดา โรงพยาบาลพญาไท 2 โรงพยาบาลพญาไท 1 เซ็นทรัลเมดิกคลินิกเวชกรรม สาขาเซ็นหลุยส์ โรงพยาบาลพญาไท 3 โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ สถานพยาบาลบางปะกอก 2 คลินิกพระราม 2 การแพทย์ เซ็นทรัลเมดิกคลินิกเวชกรรม สาขาพระโขนง โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท เซ็นทรัลเมดิกคลินิกเวชกรรม สาขาบางชัน
สมุทรปราการ
โรงพยาบาลรัฐ
โรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลบางบ่อ โรงพยาบาลบางพลี โรงพยาบาลบางจาก โรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์
โรงพยาบาลเอกชน
โรงพยาบาลปิยะมินทร์ โรงพยาบาลกรุงเทพพระประแดง สถานพยาบาลจุฬาเวช
สมุทรสาคร
โรงพยาบาลรัฐ
โรงพยาบาลสมุทรสาคร โรงพยาบาลกระทุ่มแบน โรงพยาบาลบ้านแพ้ว
โรงพยาบาลเอกชน
โรงพยาบาลเอกชัย โรงพยาบาลเจษฎาเวชการ
นครปฐม
โรงพยาบาลรัฐ
โรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลจันทรุเบกษา โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
โรงพยาบาลเอกชน
โรงพยาบาลศาลายา
นนทบุรี
โรงพยาบาลรัฐ
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลชลประทาน โรงพยาบาลปากเกร็ด
โรงพยาบาลบางบัวทอง โรงพยาบาลไทรน้อย โรงพยาบาลบางใหญ่ โรงพยาบาลบางกรวย
โรงพยาบาลเอกชน
เซ็นทรัลเมดิกคลินิกเวชกรรม สาขาปากเกร็ด ศูนย์การแพทย์เมืองทองธานี โรงพยาบาลแม่น้ำ
ปทุมธานี
โรงพยาบาลรัฐ
โรงพยาบาลปทุมธานี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลหนองเสือ โรงพยาบาลลำลูกกา โรงพยาบาลธัญบุรี โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว โรงพยาบาลสามโคก โรงพยาบาลคลองหลวง โรงพยาบาลธัญญารักษ์
ชลบุรี
โรงพยาบาลรัฐ
โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลอ่าวอุดม อำเภอศรีราชา โรงพยาบาลพนัสนิคม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม โรงพยาบาลหนองใหญ่ โรงพยาบาลพานทอง โรงพยาบาลสัตหีบ ก.ม. 10 โรงพยาบาลบ่อทอง โรงพยาบาลบางละมุง โรงพยาบาลบ้านบึง โรงพยาบาลเกาะสีชัง
-4-
โรงพยาบาลเอกชน
สถานพยาบาลชลเวช
พระนครศรีอยุธยา
โรงพยาบาลรัฐ
โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลเสนา โรงพยาบาลมหาราช โรงพยาบาลบางปะอิน โรงพยาบาลบางไทร โรงพยาบาลบางบาล โรงพยาบาลลาดบัวหลวง โรงพยาบาลบางซ้าย
โรงพยาบาลผักไห่ โรงพยาบาลวังน้อย โรงพยาบาลภาชี โรงพยาบาลท่าเรือ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชฯ โรงพยาบาลบางปะหัน โรงพยาบาลบ้านแพรก โรงพยาบาลอุทัย
ศูนย์สารนิเทศ สายด่วน 1506 / www.sso.go.th