ปภ. รายงานอิทธิพลของนกเตน ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยรวม 21 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 17 จังหวัด

ข่าวทั่วไป Tuesday August 9, 2011 16:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยรวม 21 จังหวัด 155 อำเภอ 893 ตำบล 6,809 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 339,148 ครัวเรือน 1,139,990 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 217 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 619,723 ไร่ ผู้เสียชีวิต 20 ราย ผู้สูญหาย 1 คน ผู้บาดเจ็บ 11 คน ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 4 จังหวัด ได้แก่ น่าน เลย หนองคาย และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 17 จังหวัด 132 อำเภอ 786 ตำบล 6,270 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 320,043 ครัวเรือน 1,114,475 คน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ภาวะฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน ส่งผลให้จังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม รวม 21 จังหวัด 155 อำเภอ 893 ตำบล 6,809 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 339,148 ครัวเรือน 1,139,990 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 217 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 619,723 ไร่ ถนน 1,085 สาย ฝาย/ทำนบ 115 แห่ง สะพาน 72 แห่ง ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮองสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก นครสววรค์ นครพนม อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร เลย เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ และพระนครศรีอยุธยา ผู้เสียชีวิต 20 ราย ผู้สูญหาย 1 คน ผู้บาดเจ็บ 11 คน ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 4 จังหวัด ได้แก่ น่าน เลย หนองคาย และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 17 จังหวัด 132 อำเภอ 786 ตำบล 6,270 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 320,043 ครัวเรือน 1,114,475 คน ดังนี้ แพร่ ลำน้ำสาขาของแม่น้ำยม ลำห้วยแม่ยาง ลำห้วยแม่หล่าย ลำห้วยแม่แคม ไหลเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ 49 ตำบล366 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 20,395 ครัวเรือน 70,647 คน ผู้เสียชีวิต 6 ราย ได้แก่ อำเภอเมืองแพร่ วังชิ้น สูงเม่น และลอง สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ 61 ตำบล 397 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 18,833 ครัวเรือน 56,152 คนพื้นที่การเกษตรได้รับความ เสียหาย 136,651 ไร่ ผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย สวรรคโลกศรีสำโรง กงไกรลาศ ด่านลานหอย ศรีนคร ทุ่งเสลี่ยม และคีรีมาศ เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 16 อำเภอ 102 ตำบล 677 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 59,582 ครัวเรือน 161,761 คนพื้นที่การเกษตรเสียหาย 31,434 ไร่ ผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ สันทราย สันกำแพง ดอยสะเก็ด แม่ออน พร้าว แม่ริม อมก๋อย แม่แตง ไชยปราการ ฮอด สารภี แม่แจ่ม สันป่าตอง แม่อาย และหางดง ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 23 ตำบล 243 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 10,490 ครัวเรือน 35,001 คน ได้แก่ อำเภอเมืองลำพูน ลี้ ป่าซาง และแม่ทา ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 10 ตำบล 308 หมู่บ้าน อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 16,476 ครัวเรือน 41,359 คน ได้แก่ อำเภอเกาะคา สบปราบ เถิน และแม่พริก ระดับน้ำในแม่น้ำวังต่ำกว่าตลิ่ง และกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แม่ฮองสอน น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 7 อำเภอ 44 ตำบล 412 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 33,846 ครัวเรือน 79,353 คน พื้นที่การเกษตร 21,966 ไร่ ผู้เสียชีวิต 7 ราย สูญหาย 1 คน ได้แก่ อำเภอเมืองแม่ฮองสอน ปาย ปางมะผ้า ขุนยวม แม่สะเรียง แม่ลาน้อย และสบเมย อุตรดิตถ์ น้ำป่าจากภูเขาไหลลงสู่ห้วยน้ำพี้ เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนในพื้นที่ 9 อำเภอ 60 ตำบล 383 หมู่บ้านราษฎรเดือดร้อน 25,328 ครัวเรือน 71,654 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 34,078 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ทองแสนขัน น้ำปาด ฟากท่า ลับแล ท่าปลา ตรอน พิชัย และบ้านโคก ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอพิชัย พิจิตร น้ำในลุ่มน้ำยมไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 5 อำเภอ 8 ตำบล 120 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 4,591 ครัวเรือน 12,687 คน ได้แก่ อำเภอเมืองพิจิตร สามง่าม ตะพานหิน บางมูลนาก และบึงนาราง พิษณุโลก น้ำในลำน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 3 อำเภอ 28 ตำบล 240 หมู่บ้าน ได้แก่อำเภอเมืองพิษณุโลก นครไทย และชาติตระการ ตาก น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านตาก สามเงา บ้านตาก แม่สอด ท่าสองยาง พบพระ แม่ระมาด และอุ้มผาง ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ นครสวรรค์ น้ำจากแม่น้ำน่าน แม่น้ำยม เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 2 ตำบล 13 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ชุมแสง และเก้าเลี้ยว นครพนม น้ำท่วมในพื้นที่ 12 อำเภอ 95 ตำบล 956 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 55,503 ครัวเรือน 230,766 คนพื้นที่การเกษตรเสียหาย 170,092 ไร่ ผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม บ้านแพง นาทม โพนสวรรค์ ศรีสงคราม ท่าอุเทน นาหว้า เรณูนคร ธาตพนม ปลาปาก นาแก และวังยา ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มการเกษตรบางพื้นที่ ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง อุดรธานี น้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 2 อำเภอ 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ได้แก่อำเภอนายูง และน้ำโสม ปัจจุบันสถานการณ์ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วอยู่ในระหว่างการฟื้นฟู บึงกาฬ น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ 53 ตำบล 506 หมูบ้าน ราษฎรเดือดร้อน 28,048 ครัวเรือน 72,243 คนพื้นที่การเกษตรเสียหาย 217,958 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ โขงหลง บุ่งคล้า ปากคาด พรเจริญ ศรีวิไล เซกา และโซ่พิสัย สกลนคร น้ำท่วมในพื้นที่ 14 อำเภอ 82 ตำบล 925 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 30,730 ครัวเรือน 229,178 คน ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร กุสุมาลย์ โพนนาแก้ว คำตากล้า อากาศอำนวย พรรณานิคม กุดบาก เจริญศิลป์ วาริชภูมิ พังโคน บ้านม่วง โคกศรีสุพรรณ สว่างดินแดง และภูพาน ปัจจุบันระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีฝนตกจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วันนี้ เพชรบูรณ์ น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอหล่มสัก 14 ตำบล 145 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 6,348 ครัวเรือน 21,417 คน ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ 65 ตำบล 305 หมู่บ้านราษฎรเดือดร้อน 9,773 ครัวเรือน 32,257 คน ได้แก่ อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ผักไห่ บางปะหัน บางไทร บางปะอิน เสนา และนครหลวง นอกจากนี้ น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลเข้าสู่คลองระบายน้ำน้อย 5 ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งเรือท้องแบน 65 ลำ เรือไฟเบอร์ 90 ลำ พร้อมเครื่องยนต์ 30 เครื่อง ถุงยังชีพ 5,477 ถุง พร้อมเจ้าหน้าที่ 35 นาย สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ