กรุงเทพฯ--11 ส.ค.--ปภ.
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยรวม 22 จังหวัด 205 อำเภอ 1,310 ตำบล 10,482 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 595,923 ครัวเรือน 1,830,108 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 217 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 1,481,052 ไร่ ผู้เสียชีวิต 22 ราย ผู้สูญหาย 1 คน ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 14 จังหวัด ได้แก่ น่าน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย นครพนม อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 8 จังหวัด 55 อำเภอ 371 ตำบล 2,615 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 142,073 ครัวเรือน 391,810 คน
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ภาวะฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน
ส่งผลให้จังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม รวม 22 จังหวัด 205 อำเภอ 1,310 ตำบล 10,482 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 595,923 ครัวเรือน 1,830,108 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 217 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 1,481,052 ไร่ ถนน 1,085 สาย ฝาย/ทำนบ 20 แห่ง สะพาน 72 แห่ง ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ นครพนม อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ สกลนคร เลย เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ และพระนครศรีอยุธยา ผู้เสียชีวิต 22 ราย ผู้สูญหาย 1 คน ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 14 จังหวัด ได้แก่ น่าน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย นครพนม อุดรธานี
บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 8 จังหวัด 55 อำเภอ 371 ตำบล 2,615 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 142,073 ครัวเรือน 391,810 คน ดังนี้
สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ 81 ตำบล 568 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 29,930 ครัวเรือน 88,256 คน
พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 180,984 ไร่ ผู้เสียชีวิต 4 ราย ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง กงไกรลาศ บ้านด่านลานหอย ศรีนคร ทุ่งเสลี่ยม และคีรีมาศ
อุตรดิตถ์ น้ำป่าจากภูเขาไหลลงสู่ห้วยน้ำพี้ เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนในพื้นที่ 9 อำเภอ 60 ตำบล 383 หมู่บ้านราษฎรเดือดร้อน 25,328 ครัวเรือน 71,654 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 48,922 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอพิชัย
พิจิตร น้ำในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่านไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 7 อำเภอ 43 ตำบล 215 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 6,523 ครัวเรือน 19,569 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 96,367 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองพิจิตร สามง่าม ตะพานหิน บางมูลนาก บึงนาราง โพทะเล และโพธิ์ประทับช้าง
พิษณุโลก น้ำในลำน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 7 อำเภอ 59 ตำบล 423 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 4,590 ครัวเรือน 14,180 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 96,257 ไร่ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก บางระกำ และพรหมพิราม
ตาก น้ำจากแม่น้ำวังและแม่น้ำเมยเอล้นเข้าท่วมพื้นที่ 9 อำเภอ 49 ตำบล 299 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 36,435 ครัวเรือน 104,411 คน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในอำเภอบ้านตาก และสามเงา
นครสวรรค์ น้ำจากแม่น้ำน่าน แม่น้ำยม เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 13 ตำบล 55 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 33,738 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ชุมแสง เก้าเลี้ยว และโกรกพระ
พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ 61 ตำบล 319 หมู่บ้านราษฎรเดือดร้อน 9,681 ครัวเรือน 15,072 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 14,128 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยาผักไห่ บางไทร บางปะอิน เสนา และบางบาล
มุกดาหาร น้ำจากแม่น้ำโขงเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ 5 ตำบล 353 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 28,748 ครัวเรือน 76,168 คน พื้นที่การเกษตรสียหาย 43,462 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร คำชะอี หว้านใหญ่ และหนองสูง
สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งเรือท้องแบน 65 ลำ เรือไฟเบอร์ 90 ลำ พร้อมเครื่องยนต์ 30 เครื่อง ถุงยังชีพ 5,477 ถุง น้ำดื่ม 2,500 ขวด พร้อมเจ้าหน้าที่ 35 นาย สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป