บริษัทในธุรกิจค้าปลีกสยายปีกพรั่งพร้อมด้วยศักยภาพสู่แชมป์โลก

ข่าวทั่วไป Thursday August 11, 2011 17:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ส.ค.--คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล รายงานฉบับล่าสุดของคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Colliers International Thailand) เผยว่า ไตรมาสที่ผ่านมาเป็นไตรมาสที่คึกคักหวือหวาสำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีกในประเทศไทยประกอบด้วยทั้งโครงการใหม่ๆ นอกกรุงเทพฯและการควบรวมกิจการในตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ต นับตั้งแต่บิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูในช่วงปลายปี 2553 เป็นต้นมา มีการปรับชื่อตราสินค้าใหม่ ไม่เพียงแค่เปลี่ยนชื่อเท่านั้น แต่ทั้งเทสโก้ โลตัสและบิ๊กซีสร้างความแตกต่างในตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ตโดยเพิ่มคำว่า “เอ็กซ์ตร้า” ต่อท้ายในบางสาขา โดยสาขา “เอ็กซ์ตร้า” จะมีทางเลือกด้านอาหาร เครื่องดื่ม และความบันเทิงที่หลากหลายขึ้นเพื่อเป็นการดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูงกว่าเดิมเล็กน้อย นายปฏิมา จีระแพทย์ กรรมการผู้จัดการของคอลลิเออร์สฯ ประเทศไทยให้ความเห็นว่า การผูกขาดโดยสองบริษัทอาจจะเป็นผลดีต่อสภาพตลาด “ยกตัวอย่างเช่น การแข่งขันอย่างดุเดือดระหว่างโบอิ้งกับแอร์บัส ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตอากาศยานอย่างมหาศาล อันเป็นผลจากการประหยัดจากการเพิ่มขนาดการผลิต ประกอบกับการแข่งขันอย่างรุนแรง ซึ่งในสถานการณ์ของเทสโก้ โลตัส/บิ๊กซีก็อาจเป็นเช่นนี้” นายปฏิมาอธิบาย คาดว่าอุปทานพื้นที่ศูนย์การค้าใหม่จะเพิ่มขึ้นเกือบ 340,000 ตร.ม. ณ สิ้นปี 2554 พื้นที่ใหม่ปริมาณไม่น้อยจะออกสู่ตลาดในช่วงคริสต์มาสซึ่งเป็นฤดูช้อปปิ้ง รวมทั้งเซ็นทรัลพระราม 9 ซึ่งมีพื้นที่เกือบ 90,000 ตร.ม. ในทำเลที่คนจำนวนมากเห็นว่าเป็นเขตธุรกิจที่กำลังเฟื่องฟู เทอร์มินัล 21 ติดสถานีรถไฟฟ้าอโศกเพิ่มอุปทานอีก 35,000 ตร.ม. ช่วยเร่งการเติบโตของย่านช็อปปิ้งบนถนนสายหลัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่ถนนพระราม 1 ไปจนถึงเอ็มโพเรียม และยังมีโครงการใหม่ติดสถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง “ในเวลาห้าปีนับจากนี้ จะเกิดถนนสายช็อปปิ้งทอดยาวตลอดแนวสถานีรถไฟฟ้า 6 สถานี ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อผู้พักอาศัยในย่านนั้นแล้ว ยังส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย” นายปฏิมาเสริม และยังได้มองย้อนไปถึงการเปิดตัวใหม่ของเซ็นทรัลเวิลด์ในย่านชิดลมช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาอีกด้วย หลังจากต้องปิดไปเพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2553 “นี่เป็นสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ซึ่งบ่งบอกถึงจิตวิญญาณแห่งกรุงเทพฯในยามวิกฤต” นายปฏิมากล่าวชม คอมมูนิตี้มอลล์สองแห่งได้เปิดให้บริการในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ได้แก่ “เดอะ จังชัน” บนถนนรัชดา — รามอินทราของบริษัทเอสซี แอสเสท ตั้งอยู่หน้าโครงการที่อยู่อาศัยของเอสซี แอสเสท อีกแห่งหนึ่งได้แก่ “เดอะ ซิตี้ วีว่า” ของบริษัทซัน โกลบอล แอสเสท ซึ่งเพิ่งเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 โดยตั้งอยู่บนถนนนราธิวาส ราชนครินทร์ อันที่จริงแล้ว ปริมาณพื้นที่รวมของคอมมูนิตี้ มอลล์คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 700,000 ตร.ม. ในปี 2556 เมื่อเทียบกับ 300,000 ตร.ม. ในปี 2549 นายโทนี พิคอน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของคอลลิเออร์สฯเชื่อว่า การที่คอมมูนิตี้ มอลล์ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วกรุงเทพฯนั้นมีเหตุผลที่ดีมารองรับ “คอมมูนิตี้ มอลล์เหล่านี้ตอบสนองความต้องการของชุมชนคอนโดมิเนียมบริเวณในเมืองที่เติบโตมากขึ้น และลดปริมาณการเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งดีต่อสิ่งแวดล้อม” นายโทนีให้ความเห็น และยังเชื่ออีกว่า ร้านอาหารและเครื่องดื่มเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ “ในหลายด้าน คอมมูนิตี้มอลล์ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของบริเวณที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ที่กำลังเติบโต ดังนั้นที่กิน ที่ดื่ม และแหล่งบันเทิงจึงเป็นปัจจัยสำคัญ" นายโทนีชี้ นายโทนีกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จำนวนพื้นที่รวมของคอมมูนิตี้มอลล์จะสูสีกับไฮเปอร์มาร์เก็ตภายในเวลาอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อัตราการครอบครองและค่าเช่าขยับสูงขึ้นขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พร้อมๆ กับระดับความเชื่อมั่นต่อกรุงเทพฯที่เพิ่มขึ้น และความมั่นคงในอนาคตหลังการเลือกตั้งก็ยิ่งส่งผลยกระดับความเชื่อมั่นของตลาดให้สูงขึ้น ลักษณะที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ พื้นที่ค้าปลีกในประเทศไทยเริ่มขยายตัวออกนอกกรุงเทพฯไปยังจังหวัดต่างๆ และที่สำคัญกว่านั้นคือ มีการขยายไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก เซ็นทรัล กรุ๊ป ซื้อลา รีนาเซนเต ห้างสรรพสินค้าชั้นนำในอิตาลี รวมทั้งปิซา ดูโอโม อันเลื่องชื่อในมิลาน นอกจากนั้นเซ็นทรัลยังรุกคืบสู่จีน นายโทนีไม่แปลกใจเลยที่ยักษ์ใหญ่แห่งวงการค้าปลีกของไทยกำลังสยายปลีก อากาศเย็นสบายในยุโรปนั้นส่งผลให้การช็อปปิ้งส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนร้านค้าซึ่งตั้งเรียงรายตามไฮสตรีทและจตุรัสต่างๆ ส่วนในสหรัฐอเมริกานั้น พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในช็อปปิ้งมอลล์ขนาดใหญ่ที่สูงเพียงไม่กี่ชั้น พื้นที่ที่มีอยู่จำกัดและภูมิอากาศร้อนชื้นทำให้พื้นที่ค้าปลีกแบบตึกสูงติดแอร์เป็นลักษณะสำคัญของตลาดค้าปลีกในเอเชีย “บริษัทผู้พัฒนาโครงการจึงต้องเผชิญกับความท้าทายเป็นอย่างสูง ซึ่งก็ถือเป็นโอกาสดีสำหรับเมืองต่างๆ ทั่วประเทศไทย หลายๆ บริษัททำได้ดีมากด้วยมอลล์ที่ออกแบบมาอย่างดีเยี่ยม ทำให้ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนนักช็อปให้ขึ้นไปยังชั้นบนซึ่งส่งผลให้ค่าเช่าโดยรวมเพิ่มขึ้น” นายโทนีกล่าว นายปฏิมาเชื่อว่าภาคค้าปลีกสามารถนำเสนอความโดดเด่นของประเทศไทยได้ “ทำไมไม่ขยายกิจการและแสดงให้โลกรู้ว่าเมืองไทยมีดี บริษัทค้าปลีกของเราเป็นแชมป์ระดับโลกได้” นายปฏิมาให้ความเห็น คอมมูนิตี้ มอลล์เริ่มผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วกรุงเทพฯโดยคาดการณ์ว่าในปี 2556 คอมมูนิตี้ มอลล์จะมีขนาดพื้นที่รวมสูสีกับไฮเปอร์มาร์เก็ต การขยายเส้นทางขนส่งมวลชนและการเติบโตของพื้นที่อยู่อาศัยอันหนาแน่นในบริเวณจำกัดย่านชานเมือง ก่อให้เกิดความจำเป็นต้องมีช็อปปิ้งคอมเพล็กซ์บางประเภท เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ค้าปลีกเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า แหล่งช็อปปิ้งของกรุงเทพฯนั้นมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา อัตราการครอบครองรวมทุกพื้นที่ในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 เล็กน้อย ช่วงครึ่งแรกของปีเต็มนั้นมีเหตุให้ผู้คนต้องควักเงินออกจากกระเป๋าอยู่ตลอด เช่น เทศกาลปีใหม่ในเดือนมกราคม ตรุษจีน เทศกาลสงกรานต์ และกิจกรรม "ต้อนรับเปิดเทอมใหม่" เป็นช่วงกอบโกยของอุตสาหกรรมค้าปลีกซึ่งมักเห็นได้จากอัตราการครอบครองที่เพิ่มขึ้น ข้อมูลเพิ่มติม http://www.colliers.co.th ? สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 656 7000 คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ