กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--แฟรนคอมเอเชีย
ทาวเวอร์ส วัทสัน (NYSE, NASDAQ: TW) ผู้นำระดับโลกด้านการบริการสายอาชีพ ได้จัดงานสัมมนาขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้องค์กรธุรกิจในประเทศไทยเกี่ยวกับมาตรฐานทางบัญชีใหม่ TAS19 ซึ่งได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553 และได้เริ่มมีผลบังคับใช้ในการจัดทำงบการเงินของบริษัท นับตั้งแต่งบวันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป แล้ว TAS19 มีความพิเศษอย่างไร และ ทำไมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยถึงมีความสำคัญในการเปลี่ยนจากการทำบัญชีสวัสดิการพนักงานเดิมเป็นการทำบัญชีสวัสดิการพนักงานตามมาตรฐานทางบัญชีใหม่ซึ่งสอดคล้องกับระดับสากล
มาตรฐานทางบัญชีแบบใหม่ TAS19 หรือ Thai Accounting Standard 19 ครอบคลุมเรื่องใดบ้าง
มาตรฐานทางบัญชีระบบใหม่ TAS19 ครอบคลุมสวัสดิการทั้งหมดของพนักงาน:
สวัสดิการระยะสั้น (ครอบคลุมค่าตอบแทนที่เป็นเงิน เช่น เงินเดือน โบนัส)
สวัสดิการหลังออกจากงาน (รวมถึง การจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย สวัสดิการเกษียณอายุ และค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุ)
สวัสดิการพนักงานในระยะยาวอื่นๆ (รวมถึง รางวัลสำหรับพนักงานในการทำงานระยะยาว และการให้โบนัสแบบแบ่งจ่าย)
สวัสดิการกรณีเลิกจ้าง
มาตรฐานทางบัญชีระบบใหม่ TAS19 มีความแตกต่างจากระบบบัญชีเดิมอย่างชัดเจนที่สุดในด้านการคำนวณสวัสดิการหลังออกจากงาน และ สวัสดิการพนักงานในระยะยาวอื่นๆ โดยมีการเพิ่มเติมด้านการประเมินภาระหนี้สินตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย และ accruals accounting สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ (Publicly Accountable Enterprises — PAEs)
การบัญชีผลประโยชน์ของพนักงานในระยะยาวแบบเดิม
ที่ผ่านมาบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยส่วนใหญ่คำนวณสวัสดิการเกษียณอายุ และบันทึกตามเกณฑ์เงินสด (cash basis) เป็นหลัก และแสดงค่าใช้จ่ายตามจริงในปีที่มีการจ่ายและไม่มีการตั้งเงินสำรองหรือหนี้สินในงบดุลของบริษัท บางบริษัทใช้ Accrual approach แบบง่าย ไม่ได้ใช้การประเมินภาระหนี้สินตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย การประเมินภาระหนี้สินตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยมักใช้โดยบริษัททีมีบริษัทแม่ในต่างประเทศเท่านั้น
?
มาตรฐานทางบัญชีTAS19 มีความสำคัญอย่างไร สำหรับบริษัทไทย
ภายใต้มาตรฐานทางบัญชี TAS19 การบัญชีสำหรับสวัสดิการเกษียณอายุแบบ โครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ (รวมถึงสวัสดิการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย) มีความเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ TAS19 จะบังคับให้บริษัทลงบัญชีสวัสดิการพนักงานระยะยาวด้วย accruals basis และรับรู้ภาระหนี้สินโดยใช้หลักคณิตศาสตร์ประกันภัย
ไม่เพียงแต่การลงบัญชีค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่เปลี่ยนไป แต่ข้อบังคับในการเปิดเผยข้อมูลมีมากขึ้นด้วย รวมถึงการแสดงยอดเริ่มต้นและยอดสิ้นสุดของสินทรัพย์ (โครงการส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่มีสินทรัพย์โครงการ จึงเป็นแบบ unfunded) และยอดเริ่มต้นและยอดสิ้นสุดของหนี้สิน รายละเอียดต่างๆ ในกำไรขาดทุน รวมถึงรายละเอียดของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นทีเกี่ยวข้อง (Other comprehensive Income — OCI) ถ้ามี
จุดประสงค์หลักของ TAS19 คือการบันทึกบัญชีลงในรอบบัญชีที่ตรงกับช่วงเวลาการทำงานของลูกจ้างรายนั้นๆ-accruals concept นอกจากนี้ มาตรฐาน TAS19 ยังครอบคลุมไปถึงหลักการคำนวณและสมมติฐานทางคณิตศาสตร์ประกันภัย การเพิ่มการเปิดเผยข้อมูลจะทำให้เกิดความโปร่งใส และทำให้สามารถเปรียบเทียบสถานภาพทางการเงินระหว่างบริษัทอีกด้วย บทบาทของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยจึงมีความสำคัญมากขึ้น ไม่เพียงเฉพาะในการประเมินภาระหนี้สินตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย (actuarial valuation) แต่ในการเลือกสมมุติฐานให้เหมาะสมและการทำความเข้าใจกับข้อมูลในรูปแบบใหม่อีกด้วย
บริษัทควรมีการตรวจสอบให้มั่นใจว่าสมมุติฐานที่ใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นเหมาะสม นี่เป็นสิ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มีประสบการณ์สามารถช่วยได้อย่างมาก โดยการทำการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตของบริษัทเกี่ยวกับประวัติการขึ้นเงินเดือนพนักงาน ตลอดจนอัตราการลาออก ควบคู่ไปกับภาพรวมของอุตสาหกรรมและลักษณะทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประมาณค่าในอนาคต การเลือกสมมติฐานที่เหมาะสมจะช่วยลดความผันผวนในการลงบัญชีรายการหนี้สินและค่าใช้จ่ายประจำปีของบริษัท
ผลกระทบของระบบมาตรฐานทางบัญชีใหม่ TAS19 ที่มีต่อประเทศไทย
การมีผลบังคับใช้ในระบบมาตรฐานทางบัญชีใหม่ TAS19 ทำให้บริษัทต้องกันเงินสำรองส่วนหนึ่งไว้ในงบดุลบัญชีและมีค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนอย่างต่อเนื่องสำหรับสวัสดิการของพนักงานระยะยาวทั้งหมด การเริ่มใช้ระบบบัญชีมาตรฐานใหม่นี้ ทำให้บริษัทจำเป็นต้องมีการลงรายการหนี้สินครั้งแรก (เนื่องจากบริการที่เกิดเมื่อในอดีต)เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนหรือหักจากส่วนของกำไรสะสม จากประสบการณ์ของทาวเวอร์ส วัทสันแล้ว บริษัทส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายส่วนนี้ออกจากกำไรสะสม สำหรับหลายๆ บริษัทแล้ว มาตรฐานบัญชีใหม่ไม่ได้มีผลกระทบต่อกิจการมาก แต่สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีพนักงานจำนวนมาก และทำงานมานาน ผลกระทบจาก TAS19 อาจจะถึงหลักพันล้านบาทซึ่งแสดงให้เห็นในบัญชีปี 2009 ของหลายบริษัทใหญ่ที่นำมาตรฐาน IAS19 มาใช้ก่อนที่ระบบ TAS19 จะมีผลบังคับใช้
บริษัทควรจะทำอย่างไร
บริษัทควรปรึกษาผู้ตรวจบัญชีและผู้ให้คำปรึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยเพื่อเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ บริษัทในกลุ่มที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) ได้ถูกบังคับใช้ระบบมาตรฐานทางบัญชี TAS19 มานับตั้งแต่ต้นปีนี้ ส่วนบริษัทในกลุ่มที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) ก็อาจเลือกนำระบบมาตรฐานทางบัญชีใหม่นี้มาใช้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะบริษัทที่มีต้นสังกัดในต่างประเทศ หรือบริษัทไทยที่มีแผนที่จะจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คริส เมย์ส
หัวหน้าส่วนงานผลประโยชน์พนักงาน ประเทศไทย
chris.mayes@towerswatson.com
อากิระ บันโนะ
ที่ปรึกษาผลประโยชน์พนักงาน
akira.banno@towerswatson.com
?
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-233-4329 แฟรนคอมเอเชีย