กรุงเทพฯ--18 ส.ค.--ฟินันซ่า
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด ยังแนะนำการลงทุนระยะสั้นสำหรับตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากดอกเบี้ยยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น คาดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะถูกปรับขึ้นอีกจากระดับปัจจุบันที่ 3.25% เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4.08% ในเดือนกรกฏาคม 2554 ฟินันซ่าออกกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัส 6เดือน5 (FAM FIP 6M5) ให้ประมาณการผลตอบแทน 3.6 % ต่อปีอายุประมาณ 6 เดือน เสนอขายถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ผู้ที่สนใจสามารถจองซื้อขั้นต่ำ 2,000 บาท มั่นใจผลตอบแทนน่าสนใจเมื่อเทียบกับกองทุนอื่นในลักษณะเดียวกัน โดยในเดือนที่ผ่านมาตัวเลขประมาณการที่เห็นสำหรับ 6 เดือนจะเป็น 3.1-3.55%[1]ต่อปีเท่านั้น
FAM FIP 6M5 เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น โดยกองทุนจะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงิน และ/หรือ เงินฝาก ของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กองทุนนี้จะลงทุนในเงินฝากธนาคารต่างประเทศสกุลเงิน CNY (ICBC, BOC HK or Macau or KBANK.) ตั๋วแลกเงินบมจ. Double A, บมจ. KTC, บมจ.เอเชียเสริมกิจลีสซิ่ง, บมจ.อุตสาหกรรมโรจนะ, บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท และบมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ และตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราผลตอบแทนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน CNY เป็นเงินบาทแล้ว
เมื่อครบกำหนดการลงทุนบริษัทจัดการจะทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ โดยจะจัดให้มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนส่วนที่เหลือทั้งหมดของกองทุนนี้เพื่อใช้ในการสับเปลี่ยนไปยังกองทุนเปิดฟินันซ่าเพิ่มพูนทรัพย์ (FAM VF) หรือกองทุนรวมตลาดเงินอื่นภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายโดยอัตโนมัติ โดย FAM VF มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น ให้ประมาณการผลตอบแทนที่ 2.48 % ต่อปี 3 เดือนย้อนหลัง และ 2.23 % ต่อปี 6 เดือนย้อนหลัง ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2554[2]
ผลตอบแทนย้อนหลัง FAM VF เกณฑ์มาตรฐาน*
3 เดือน 2.48% 1.59%
6 เดือน 2.23% 1.42%
1 ปี n/a n/a
3 ปี n/a n/a
YTD 2.15% 1.38%
ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 2.01% 1.28%
*เกณฑ์มาตรฐาน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเฉลี่ย ประเภทบุคคลธรรมดาวงเงิน 1 ล้านบาทของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมนี้ ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
1. จากตารางสรุปรายละเอียดกองทุนตราสารหนี้ ประจำเดือนสิงหาคม 54 จัดทำโดย บล.ฟินันซ่า
2. จาก fund fact sheet กองทุนเปิดฟินันซ่า เพิ่มพูนทรัพย์ เดือนกรกฏาคม 2554
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับเงินค่าขายคืนอัตโนมัติเท่าที่คาดหวังไว้เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดนัดชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นของผู้ออกตราสาร
หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป หรือผลการประมูลของตราสารไม่เป็นไปตามที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่ประมาณการไว้
ทั้งนี้ ตราสารที่ลงทุน สัดส่วนการลงทุน และประมาณการค่าใช้จ่าย อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป หรือตามที่บริษัทจัดการเห็นสมควร ในการนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุน
กองทุนจะถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมหรือตลอดรอบการลงทุนในแต่ละรอบ
การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัส 6เดือน5 เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติ ผู้ลงทุนอาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
ในกรณีที่กองทุนนี้ไม่สามารถดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
เนื่องจากกองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศบางส่วน จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศที่กองทุนไปลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
กองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (Fully Hedged)
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจและควรเก็บหนังสือชี้ชวนไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต และเมื่อมีข้อสงสัย ให้สอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน