กรุงเทพฯ--25 ส.ค.--โพสต์บุ๊กส์
’60 ปีโพ้นทะเล’ หนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ดินแดนอุษาคเนย์จากยุคอาณานิคมถึงยุคเอกราช ในสายตาปัญญาชนจีนโพ้นทะเล ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้อ่าน นักวิชาการและนักวิจารณ์อย่างสูงเด่น กระทั่งหนังสือขาดตลาด สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์ตัดสินใจตีพิมพ์รอบสองทันที มีวางจำหน่ายที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศแล้ว
’60 ปีโพ้นทะเล’ ผลงานการประพันธ์ใน พ.ศ. 2524-25 ของ อู๋จี้เยียะ นักหนังสือพิมพ์ชั้นนำชาวจีนโพ้นทะเลในอุษาคเนย์แห่งศตวรรษที่ 20 แต่เพิ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทยอย่างสมบูรณ์ในปี 2553 โดยฝีมือการบรรณาธิการของ ปนัดดา เลิศล้ำอำไพ บุตรีของผู้ประพันธ์ และสำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์ ในเครือบริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) ได้สิทธิ์ตีพิมพ์จำหน่าย ได้รับการตอบรับจากนักวิชาการและนักวิจารณ์ด้วยความชื่นชมอย่างกว้างขวาง กลายเป็นหนังสือขายดีในประภทสารคดีในงานสัปดาห์หนังสือเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาและหายไปจากหิ้งหนังสือตามร้านหนังสือชั้นนำอย่างรวดเร็ว ซีเอ็ดยูเคชั่นจึงกระตุ้นให้สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์ตีพิมพ์รอบสองให้ทันกระแสนิยม
สุพร พรฤกษ์งาม ผู้บริหารสำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์ กล่าวว่า “ต้องถือว่า ‘60 ปีโพ้นทะเล’ เป็นหนังสือสารคดีที่ขายดีเกินคาดของทางสำนักพิมพ์ฯ ทั้งนี้เป็นเพราะคุณภาพของข้อเขียน ที่มีเนื้อหาเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า ในรูปแบบอ่านง่าย อีกทั้งสำนวนภาษาไทยที่สละสลวย ด้วยฝีมือของบรรณาธิการอย่างคุณปนัดดา เลิศล้ำอำไพ ที่ทำงานเขียนมาอย่างยาวนานด้วยค่ะ”
หนังสือ ‘60 ปีโพ้นทะเล’ ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างกว้างขวางในทันทีที่ออกวางจำหน่ายเมื่อปลายปี 2553 เจริญ ตันมหาพราน ปราชญ์ท้องถิ่นแห่งเยาวราช นำหนังสือเล่มนี้ทั้งเล่ม ที่มีทั้งหมด 105 บท อ่านออกวิทยุชุมชนย่านวัดไผ่เงิน ‘สถานีพิทักษ์สังคมไทย’ คลื่น 105.75 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553 ในเวลาไล่เรี่ยกัน ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ และไพศาล มังกรไชย ก็นำเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ ‘60 ปีโพ้นทะเล’ ไปเล่าและสนทนากันในรายการเที่ยงวันเสาร์ ทางสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. คลื่น 100.5 ติดต่อกันถึง 3 สัปดาห์
?
คอลัมน์นิสต์ในหนังสือพิมพ์รายวันหลายท่านกล่าวถึง ‘60 ปีโพ้นทะเล’ ด้วยน้ำเสียงที่ชื่นชมอย่างยิ่ง เริ่มจาก ‘เสือปีนไว’ อย่าง ประภัสสร เสวิกุล นักเขียนนิยายชื่อดัง ได้เขียนถึง ’60 ปีโพ้นทะเล’ ในคอลัมน์ ‘วันเว้นวัน’ ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2553 ว่า “ ‘60 ปีโพ้นทะเล’ นับเป็นหนังสือที่ช่วยให้มองเห็นภาพต่างๆ ทั้งในเมืองไทยและประเทศใกล้เคียงได้อย่างชัดเจน และมีมิติ..”
กิเลน ประลองเชิง แห่งคอลัมน์ ‘ชักธงรบ’ หน้า 3 ไทยรัฐ จั่วหัวคอลัมน์วันที่ 20 มกราคม 2554 ด้วยชื่อ ’60 ปีโพ้นทะเล’ เล่าถึงเนื้อหาและผู้ประพันธ์ไว้ว่า “...ชีวิตลูกจีน อายุ 12 เดินทางจากจีนไปอยู่ชวา จนมาเป็นต้นแบบนักหนังสือพิมพ์จีนในเมืองไทย เรื่องราวทำนองนี้ ถูกอัธยาศัย...แวดวงคนไทยรู้จักนักเขียนระดับตำนานอย่าง สุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร) รู้จัก จิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะนักภาษา นักประวัติศาสตร์ นักต่อสู้ผู้ยิ่งใหญ่ แวดวงจีนโพ้นทะเลในไทย ก็รู้จักอู๋จี้เยียะ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ในแถวแนวเดียวกัน..”
หนังสือเล่มนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 ในรายการเสวนาแนะนำ ’60 ปีโพ้นทะเล’ ที่โรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล เจริญ ตันมหาพราน กล่าวถึงคุณค่าของหนังสือเล่มนี้ว่า เล่าถึงสีสันของชีวิตบนถนนเยาวราชได้อย่างออกรสออกชาติ โดยเฉพาะในรายละเอียดเกี่ยวกับซ่องโสเภณีในยุคก่อน พร้อมทั้งมีเกร็ดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ช่วยเสริมเติมส่วนที่เขาหามานานและยังหาไม่พบ เป็นต้นว่า ถนนยกระดับที่เรียกกันว่า สะพานลอย แห่งแรกของกรุงเทพฯ นั้น คือ ที่ประตูน้ำ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้ร่วมเสวนาอีกท่านหนึ่ง ก็กล่าวยกย่อง ’60 ปีโพ้นทะเล’ ว่า ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ยุคที่เพิ่งพ้นผ่านในศตวรรษที่ 20 ของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ได้อย่างเห็นภาพพจน์ ขณะที่ นักวิชาการด้านจีนศึกษา 2 ท่านที่ร่วมรายการเสวนาด้วย ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ และ ดร.ศิริเพ็ชร ทฤษณาวดี กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ’60 ปีโพ้นทะเล’ มีคุณค่าในเชิงวิชาการอย่างสูงเด่น ด้วยความถูกต้องแม่นยำในเชิงประวัติศาสตร์ต่อทุกเหตุการณ์ของจีนและของอุษาคเนย์ในห้วงเวลาที่ครอบคลุม หากแต่สามารถบอกเล่าได้อย่างมีสีสัน มีชีวิตชีวา ด้วยภาษาที่สละสลวย งดงาม มีชั้นเชิงทางวรรณศิลป์ในแบบฉบับของวรรณคดีชิ้นสำคัญของจีน
สุภาวดี อินทวงศ์ แห่งหนังสือพิมพ์ Bangkok Post เขียนแนะนำหนังสือ ’60 ปีโพ้นทะเล’ ไว้ใน Spectrum ประจำวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม 2554 ว่า “... ‘60 ปีโพ้นทะเล’ เป็นหนังสือที่คอหนังสือประวัติศาสตร์ไม่ควรพลาด ด้วยเหตุว่า ’60 ปีโพ้นทะเล’ เขียนได้อย่างสนุก น่าอ่าน น่าติดตาม นับเป็นหนังสือที่ลูกหลานชาวจีนควรหามาอ่าน..”
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ประจำวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 ได้สัมภาษณ์ ปนัดดา เลิศล้ำอำไพ บรรณาธิการหนังสือเล่มสำคัญนี้ไว้อย่างชัดเจน ถึงความเป็นมาและการทำงานจนได้หนังสือเล่มนี้ขึ้นในภาษาไทย เธอกล่าวในตอนหนึ่งว่า “..มีคนพูดว่า คุณพ่อเขียนงานดีๆ ในภาษาจีนไว้เยอะ ทำไมเราไม่นำมาแปลให้คนได้รู้บ้าน งานของท่านเป็นที่รู้จักในภูมิภาค ที่มหาวิทยาลัยในประเทศจีน มีหนังสือของท่านเรียนเป็นตับ เป็นเอกสารของจีนโพ้นทะเลที่หาบาก นั่นเป็นจุดเริ่มต้นให้ทำงานนี้..”?
?
นักเขียนอาวุโสอย่าง อาจินต์ ปัญจพรรค์ หลังจากได้อ่าน ’60 ปีโพ้นทะเล’ แล้ว ก็ได้ส่งข้อความสะท้อนความคิดมาถึงสำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์ โดยผ่านทางบรรณาธิการแปลว่า “ ’60 ปีโพ้นทะเล’...มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อตำนานหนังสือพิมพ์จีนในไทย มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์การเมือง แล้วยังมีประวัติศาสตร์ภาพยนต์จีน ’60 ปีโพ้นทะเล’ มีค่าแก่คนรุ่นผม... ผมขอคารวะคนจีนที่เข้ามาสร้างตัวในเมืองไทย ผมขอน้อมคำนับ อู๋จี้เยียะ ผู้ประพันธ์ นะครับ”
สำหรับบทวิจารณ์ที่จริงจังต่อ ‘60 ปีโพ้นทะเล’ ศ. ดร. ศุภจิต มโนพิโมกษ์ แห่ง คณะเอเซียแปซิฟิกศึกษา มหาวิทยาลัยริทชุเมคันเอเซียแปซิฟิก ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำลังจะตีพิมพ์ในเนชั่นสุดสัปดาห์ในเร็วๆ นี้ (สค. ) ได้สรุปไว้ว่า “‘60 ปีโพ้นทะเล’ เป็นหนังสือที่อ่านได้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกอาชีพ อ่านแล้วได้ทั้งความสนุกสนานและความรู้ ห้องสมุดต่างๆ ควรมีไว้ให้ศึกษาค้นคว้า คนไทยที่มีบรรพบุรุษอพยพมาจากประเทศจีนอ่านแล้วจะยิ่งซึมซับการต่อสู้ของบรรพชน.. ขอยกย่อมคุณภาพที่ยอมเยี่ยมของผลงานชิ้นนี้”
‘60 ปีโพ้นทะเล’ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 มีวางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
?
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง www.postbooksonline.com และ www.facebook.com/postbooks
?
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-240-3700