ปภ. รายงานเกิดสถานการณ์อุทกภัยรวม 32 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 20 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 12 จังหวัด ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2554

ข่าวทั่วไป Friday August 26, 2011 08:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ส.ค.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยมีจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวม 32 จังหวัด 291 อำเภอ 1,925 ตำบล 15,627 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน940,961 ครัวเรือน 3,484,587 คน ผู้เสียชีวิต 42 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย 3,223,275 ไร่ ปศุสัตว์ 2,033,485 ตัว ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 20 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 12 จังหวัด 55 อำเภอ370 ตำบล 2,312 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 171,655 ครัวเรือน 406,429 คน ทางหลวงสัญจรไม่ได้ 4 สาย ใน 3 จังหวัดทางหลวงชนบท ไม่สามารถสัญจรได้ 14 สาย ใน 6 จังหวัด นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ภาวะฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวม 32 จังหวัด 291 อำเภอ 1,925 ตำบล 15,627 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 940,961 ครัวเรือน 3,484,587 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 3,223,275 ไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาดว่าจะเสียหาย 45,931 ไร่ ปศุสัตว์ 2,033,485 ตัว ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ นครพนม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุบลราชานี อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ สกลนคร เลยเพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ นครนายก ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท เชียงราย และระยอง ผู้เสียชีวิต 42 ราย ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 20 จังหวัด ได้แก่ น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 12 จังหวัด 55 อำเภอ 370 ตำบล 2,312 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 171,655 ครัวเรือน 406,429 คน ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท อุบลราชธานีปราจีนบุรี เชียงราย และระยองสุโขทัย น้ำท่วมพื้นที่ 9 อำเภอ 82 ตำบล 616 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 40,011 ครัวเรือน 118,920 คนพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 299,747 ไร่ ผู้เสียชีวิต 6 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 อำเภอ 30 ตำบล 153 หมู่บ้าน ได้แก่อำเภอเมืองสุโขทัย กงไกรลาศ และศรีสำโรงพิจิตร น้ำในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่านไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 9 อำเภอ 55 ตำบล 302 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 21,162 ครัวเรือน 63,486 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 126,683 ไร่ ผู้เสียชีวิต 7 ราย ได้แก่ อำเภอเมืองพิจิตร สามง่ามบึงนาราง โพทะเล โพธิ์ประทับช้าง วชิรบารมี ตะพานหิน บางมูลนาก และสากเหล็กพิษณุโลก น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 67 ตำบล 434 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 12,476 ครัวเรือน 46,171 คนพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 157,969 ไร่ ผู้เสียชีวิต 2 ราย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ 20 ตำบล 264 หมู่บ้านราษฎรเดือดร้อน 2,045 ครัวเรือน 15,354 คน ได้แก่ อำเภอเมืองพิษณุโลก บางระกำ และพรหมพิรามนครสวรรค์ น้ำจากแม่น้ำน่าน แม่น้ำยม เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ 26 ตำบล 179 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 10,313 ครัวเรือน 30,076 คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 73,501 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ 19 ตำบล 133 หมู่บ้านราษฎรเดือดร้อน 3,532 ครัวเรือน 11,352 คน ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ชุมแสง โกรกพระ เก้าเลี้ยว และตาคลีอ่างทอง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ 16 ตำบล 43 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 87 ครัวเรือน 261 คน ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ และโพธิ์ทอง พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ 101 ตำบล 543 หมู่บ้านราษฎรเดือดร้อน 18,807 ครัวเรือน 40,940 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 20,621 ไร่ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ผักไห่ บางไทร บางปะอิน เสนา บางบาล มหาราช และบางปะหันชัยนาท น้ำจากแม่น้ำป่าสักเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอสรรพยา 3 ตำบล 20 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,731 ครัวเรือน 5,193 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 10,400 ไร่นครนายก น้ำท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ 14 ตำบล 16 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 4,821 ครัวเรือน 14,463 คนพื้นที่การเกษตรเสียหาย 9,461 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก องครักษ์ ปากพลี และบ้านนาอุบลราชธานี น้ำในลำน้ำสาขาแม่น้ำมูลและน้ำจากแม่น้ำโขงเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 16 อำเภอ 101 ตำบล 772 หมู่บ้านราษฎรเดือดร้อน 41,311 ครัวเรือน 181,614 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 115,334 ไร่ ยังคงมีน้ำท่วมขัง 5 อำเภอ 44 ตำบล341 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี โขงเจียม นาตาล ศรีเมืองใหม่ และตระการพืชผลปราจีนบุรี น้ำท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ 22 ตำบล 144 หมู่บ้าน 5 ชุมชน ราษฎรเดือดร้อน 2,304 ครัวเรือน 3,933 คนพื้นที่การเกษตรเสียหาย 2,172 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ และประจันตคามเชียงราย เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพาน เวียงป่าเป้า เวียงแก่นเชียงของ เชียงแสน แม่จัน และแม่สรวย ระยอง น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ ตำบลทุ่งควายกิน อำเภอเมืองแกลง ทางหลวง ได้รับความเสียหายเส้นทางไม่สามารถสัญจรไปมาได้ 4 สาย ใน 3 จังหวัด จังหวัดสุโขทัย 2 สาย เพชรบูรณ์ 2 สาย น่าน 1 สายทางหลวงชนบท ได้รับความเสียหายเส้นทางไม่สามารถสัญจรไปมาได้ 14 สาย ใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 4 สาย นครสวรรค์ 2 สาย พิจิตร 4 สาย พิษณุโลก 1 สาย นครพนม 1 สาย และร้อยเอ็ด 2 สายสำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งเรือท้องแบน 162 ลำ เรือขนาดเล็ก 931 ลำ เรือยาง 1 ลำ เครื่องยนต์ 72 เครื่อง เครื่องสูบน้ำ 7 เครื่อง รถติดตั้งเครน 1 คัน รถผลิตน้ำ 1 คัน รถบรรทุกน้ำ 2 คัน รถขุดไฮดรอลิก 2 คันรถเกลี่ยดิน 1 คัน รถบดล้อเหล็ก 1 คัน รถบรรทุกท้าย 2 คัน รถแทกเตอร์ 2 คัน เต๊นท์ที่พักอาศัย 176 หลัง เต๊นท์ยกพื้น 79 หลังสุขาเคลื่อนที่ 132 หลัง สุขาลอยน้ำ 89 หลัง ออกให้บริการในพื้นที่ประสบภัย พร้อมสนับสนุนเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว รวมถึงการประสานให้จังหวัดเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป ? สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 022432200 kpr

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ