กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--ธนบุรินทร์ เอเซีย แปซิฟิค
ไฮไล้ท์
? กำไรขั้นต้นก่อนหักภาษี 552 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 46%
? รายได้จากการดำเนินงานเป็นเงิน 14,900 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 8%
? เงินสดหมุนเวียนในการดำเนินงาน 1,800 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 32%
? รายได้เติบโตในทุกหน่วยธุรกิจ
? ผลประกอบการตรงตามเป้า แม้ว่าจำนวนเงินรายได้ 224 ล้านเหรรียญออสเตรเลียจะหายไปเนื่องจากประสบปัญหาจากภัยธรรมชาติ
? กำไรก่อนหักภาษีตามกฎหมาย 323 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 81%
? ตัวเลขเงินปันผลที่แท้จริงยังไม่มีการประกาศ
แควนตัส กรุ๊ป ประกาศผลประกอบการประจำปี 2553 สิ้นสุด 30 มิถุนายน 2554 ด้วยผลกำไรที่ขั้นต้นก่อนหักภาษีเป็นเงิน 552 ล้านเหรียญออสเตรเลีย
มร.อลัน จอยส์ ประธานกรรมการบริหาร สายการบิน แควนตัส เปิดเผยว่า “สายการบิน แควนตัส สามารถบรรลุเป้าที่ตั้งไว้ แม้ว่าจะเผชิญกับเรื่องราวต่างๆ ที่กระทบต่อการดำเนินงานของ แควนตัส กรุ๊ป และอุตสาหกรรมการบิน อย่างไรก็ตามผลประกอบการที่ได้รับสะท้อนความแข็งแกร่งของแควนตัส กรุ๊ป และความสามารถในการดำเนินงานแม้ว่าจะเกิดภาวะวิกฤตด้านการเงินทั่วโลกก็ตาม โดยสามารถเอาชนะปัจจัยภายนอกและปัจจัยที่กระทบการดำเนินงาน รวมถึงภัยธรรมชาติ อัตราค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 28% และผลประกอบการที่ลดลงในเส้นทางบินนานาชาติ สายการบินฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ผลการดำเนินงานทั้งในเส้นทางบินภายในประเทศ บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ (แควนตัส เฟรท) เจ๊ทสตาร์ และแควนตัส ฟรีเคว่น ฟลายเออร์ เพิ่มขึ้น แม้ว่าธุรกิจการบินจะมีความผกผัน แต่เนื่องจากที่มาของรายได้จากหลากหลายธุรกิจจึงถือเป็นความแข็งแกร่งของแควนตัส กรุ๊ป อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องสำคัญในการรวบรวมผลประกอบการ โดยได้มีการวางแผนงานการใช้จ่ายเงินทุนของ แควนตัส กรุ๊ป ตลอดระยะเวลา 2 ปี ข้างหน้าไว้กว่า 5,000 ล้านเหรียญออสเตรเลีย อีกทั้งคาดว่าอัตราค่าน้ำมันจะยังคงมีราคาสูงอยู่ และเศรษฐกิจทั่วโลกยังมีความไม่แน่นอน”
“สำหรับผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2553 ปรากฏว่า แควนตัส เส้นทางบินนานาชาติประสบปัญหาการขาดทุนกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเงินลงทุนกว่า 5,000 ล้านเหรียญออสเตรเลียที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ อย่างไรก็ตามคาดว่า ในเส้นทางบินนานาชาติคงจะไม่อยู่แบบนี้ตลอดไป ทั้งนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา แควนตัส กรุ๊ป ได้ประกาศแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี เพื่อผันให้การดำเนินงานในเส้นทางบินนานชาติกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง รวมทั้งจะลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในธุรกิจที่ผลประกอบการไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ โดยจะหันไปลงทุนโดยตรงกับธุรกิจที่มีโอกาสมีอัตราการเติบโต นอกจากนั้น จะมุ่งเน้นการปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า พัฒนาเน็ทเวิร์คและพันธมิตรให้แข็งแกร่งมากขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญกับตลาดในภูมิภาคเอเชียที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลกมากขึ้น โดยมุ่งหวังว่าภายในระยะเวลา 5 ปี ข้างหน้า สายการบิน แควนตัส ทั้งในเส้นทางบินภายในประเทศ และเส้นทางบินต่างประเทศเมื่อรวมกันจะมีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายในเรื่องของต้นทุน”
ผลประกอบการแต่ละหน่วยธุรกิจ
ผลประกอบการในทุกกลุ่มธุรกิจในรอบปีบประมาณ 2553 เพิ่มขึ้น
สายการบิน แควนตัส มีรายได้ก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยเป็นเงิน 228 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เมื่อเทียบกับผลประกอบการปีงบประมาณ 2552 ที่มีตัวเลขอยู่ที่ระดับ 67 ล้านเหรียญออสเตรเลีย
“แควนตัส ยังคงรั้งตำแหน่งสายการบินภายในประเทศที่ทำกำไรได้มากที่สุด ซึ่งช่วยชดเชยการขาดทุนของธุรกิจในต่างประเทศ โดยในระหว่างปีงบประมาณ 2554 เราได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้วยเครื่องบินรุ่นใหม่และโครงสร้างพื้นฐานสนามบินแบบใหม่ ในขณะเดียวกันได้มีการเข้าซื้อกิจการของสายการบินเน็ตเวิร์ค เอวิเอชั่น (Network Aviation) ผู้ให้บริการเครื่องบินเช่าเหมาลำในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ก็ช่วยเพิ่มชื่อเสียงของเราตามภูมิภาคต่างๆ ของออสเตรเลียด้วย”
“ในขณะที่สายการบิน เจ็ทสตาร์ ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยให้บริการครอบคลุม 17 ประเทศ กว่า 56 เส้นทาง ดำเนินงานด้วยกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีที่โดดเด่น คิดเป็น 169 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 29% จากปีงบประมาณที่ผ่านมา นอกจากนี้ การเปิดตัว เจ๊ทสตาร์ เจแปน ภายใต้การร่วมทุนระหว่างแควนตัส กรุ๊ป สายการบินเจแปน แอร์ไลน์ส และ มิตซูบิชิ จะช่วยเสริมสร้างความเป็นผู้นำของเจ๊ทสตาร์ในฐานะสายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย”
“นอกจากนี้ โปรแกรมสะสมไมล์ของสายการบิน แควนตัส หรือแควนตัส ฟรีเคว่น ฟลายเออร์ (Qantas Frequent Flyer) ซึ่งเป็นโปรแกรมสะสมไมล์ยอดนิยมชั้นนำของประเทศออสเตรเลีย ทำให้มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีที่โดดเด่น คิดเป็น 342 ล้านเหรียญออสเตรเลีย โดยในระหว่างปีงบประมาณ 2554 มีพันธมิตรธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อมอบสิทธิประโยชน์แก่สมาชิกจำนวน 8 ล้านคน”
“ด้านกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีของ แควนตัส เฟรท เอ็นเตอร์ไพร้สเซส (Qantas Freight Enterprises) มีความโดดเด่นเช่นเดียวกัน โดยคิดเป็น 62 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือเพิ่มขึ้น 48% ในระยะเวลา 1 ปี และพบว่ามีการดำเนินงานที่สำคัญต่อธุรกิจจำนวนมาก อาทิ การเพิ่มเที่ยวบินเพื่อการขนส่งสำหรับให้บริการในเส้นทางข้ามทะเลทัสมัน”
ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ / สภาพอากาศ
มร. จอยส์ กล่าวว่า “ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นรุนแรงอย่างต่อเนื่อง มีผลกระทบต่อรายได้ของ แควนตัส กรุ๊ป โดยในปีงบประมาณ 2553 คิดเป็นมูลค่ากว่า 224 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ได้แก่ พายุฝนและน้ำท่วมจากการถล่มของพายุไซโคลนคาร์ลอสและยาซีในรัฐควีนส์แลนด์ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ เหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่น รวมไปถึงกลุ่มเถ้าภูเขาไฟในประเทศชิลี ซึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติและอุปสรรคในเรื่องสภาพอากาศเป็นสิ่งทีอุตสาหกรรมการบินไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม ภัยธรรมชาติและสภาพอากาศที่แปรปรวนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงปีงบประมาณ 2553 นั้นไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยตลอดเวลาที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น แควนตัส กรุ๊ป ได้ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยและผลประโยชน์ของผู้โดยสารเป็นอันดับแรก ความยืดหยุ่นในการดำเนินงานที่มีการพัฒนาเสมือนเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง ทำให้เราสามารถรับมือกับเหตุกาณ์ต่างๆ และฟื้นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
การระงับใช้งานเครื่องบินแอร์บัส A380 / การชดเชยความเสียหายของโรลส์-รอยซ์
ความขัดข้องของเครื่องยนต์ โรลส์-รอยซ์ เทรนต์ 900 ที่อยู่ในเครื่องบินแอร์บัส A380 ของสายการบิน แควนตัสเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ทำให้มีการระงับใช้งานอากาศยานรุ่นดังกล่าวของแควนตัสเป็นเวลาชั่วคราว ซึ่ง ต่อมาในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สายการบินแควนตัสได้บรรลุข้อตกลงมูลค่า 95 ล้านเหรียญออสเตรเลียกับโรลส์-รอยซ์ โดยเป็นค่าชดเชยความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
“เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหญ่มาก แต่แควนตัสและโรลส์-รอยซ์ก็ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อหาสาเหตุของอุบัติเหตุดังกล่าว ตอนนี้เราได้รับค่าชดเชยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหวังว่าจะยังคงสานสัมพันธ์อันดีที่เรามีต่อโรลส์-รอยซ์มาอย่างยาวนาน”
แนวโน้มธุรกิจ
การดำเนินงานโดยทั่วไปมีความท้าทายและผันผวนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้คาดว่ารายได้ในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2554 จะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2553 แควนตัส กรุ๊ป คาดหวังว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2555 เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2554
ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2554 มีการคาดการณ์ว่า ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงสำหรับครึ่งปีแรกของปีบประมาณ 2555 จะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 500 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือจาก 1,700 เป็น 2,200 เหรียญออสเตรลีย เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงอากาศยานที่พุ่งสูงและจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีการเก็บอัตราภาษีน้ำมัน การเพิ่มราคา ตั๋วโดยสาร และการบริหารความเสี่ยงเพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้นได้อย่างเต็มที่
สำหรับผลประกอบการปีงบประมาณ 2553 รวมถึงการเปลี่ยนตัวเลขคาดการณ์สำหรับโปรแกรมสมาชิก ฟรีเคว่น ฟลายเออร์ ที่มีมูลค่า 172 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (แควนตัส ฟรีเคว่น ฟลายเออร์ เป็น 140 ล้านเหรียญออสเตรเลีย การยกเลิกกรุ๊ปออกไปเป็นเงิน 32 ล้านเหรียญออสเตรเลีย) ในส่วนของการปรับตัวเลขในช่วงครึ่งปีแรกปีงบประมาณ 2555 สำหรับการยกเลิกกรุ๊ป หวังว่าจะน้อยกว่า 5 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งจะไม่กระทบต่อการดำเนินงานในอนาคต
จากกระแสความผันผวนของเศรษฐกิจทั่วโลก อัตราค่าน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และความสัมพันธ์ด้านอุตสาหกรรม ตลอดจนถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับผลกำไร
เงินปันผล
แควนตัส กรุ๊ป จะยังคงเดินหน้าดำเนินงานด้านเงินทุนเพื่อสนับสนุนอัตราการเติบด้านต่างๆ ตลอดจนถึงบริหารธุรกิจในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน และให้ระดับการลงทุนอยู่คงที่ และจะพิจารณาเรื่องเงินปันผลในอนาคต อันใกล้
อนึ่ง จากเส้นทางกรุงเทพฯ สายการบิน แควนตัส ให้บริการเที่ยวบินตรงไป-กลับกรุงเทพฯ — ซิดนีย์-กรุงเทพฯ ทุกวัน รวม 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และกรุงเทพฯ-ลอนดอน-กรุงเทพฯ ทุกวัน รวม 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดการบริการของสายการบินฯ ได้ที่ 02 627 1701 หรือ คลิกไปที่เว็บไซต์ www.qantas.com
สื่อมวลชนต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
สำนักงานที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ สายการบิน แควนตัส
บริษัท ธนบุรินทร์ เอเซีย แปซิฟิค จำกัด
เกษมศรี แก้วธรรมชัย
โทร:+66 (0) 231 6158-9
อีเมล์: kasemsri@thanaburin.co.th