กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--เอพีพีอาร์ มีเดีย
ฟูจิตสึส่ง PRIMERGY รุ่นใหม่ สร้างสถิติโลก เหนือชั้นด้านความยืดหยุ่นของระบบ การดูแลจัดการ และการรองรับงานประมวลผลสำคัญสำหรับองค์กร
PRIMERGY สร้างสถิติโลกครั้งใหม่จากการวัดผลของ ทีพีซีเบนช์มาร์ก เหนือกว่าในฐานะระบบประมวลผลสำหรับเดต้าเซ็นเตอร์บนแพลตฟอร์ม x86
ฟูจิตสึ เดินหน้าครั้งใหญ่ด้านเซิร์ฟเวอร์แพลตฟอร์ม x86 มุ่งสู่ระบบการประมวลผลที่มีความสำคัญเป้าหมายขององค์กร โดยเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ PRIMERGY x86 หลายรุ่นที่ล้วนสร้าง “สถิติโลก” ครั้งใหม่ในด้านศักยภาพต่อการจัดการรายการบนระบบฐานข้อมูล เพื่อเป็นทางเลือกในเดต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่แทนที่ระบบ RISC/UNIX แบบเดิม
จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านระบบธุรกิจอัจฉริยะ แอพพลิเคชั่นด้านดาต้าแวร์เฮ้าส์ และระบบฐานข้อมูลแบ็กเอ็นด์ประสิทธิภาพสูง ทำให้องค์กรต้องการเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพที่น่าเชื่อถือเพื่อรองรับการทำงานส่วนต่างๆ ในธุรกิจ ดังเห็นได้จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นและเสถียรซึ่งให้ผลตอบแทนด้านการลงทุนได้เร็วและคุ้มค่ากว่า
PRIMERGY RX900 S2 แร็คเซิร์ฟเวอร์แบบ 8 ซ็อกเก็ต และ PRIMERGY RX600 S6 แร็คเซิร์ฟเวอร์แบบ 4 ซ็อกเก็ต จากฟูจิตสึ ที่ได้สร้างสถิติโลกครั้งใหม่ และพร้อมจำหน่ายแล้ววันนี้1 ได้ช่วยขจัดความแตกต่างด้านประสิทธิภาพในการทำงาน อันเป็นเหตุให้หลายองค์กรต้องหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีเฉพาะด้านซึ่งมีราคาสูงกว่า แต่ด้วยเซิร์ฟเวอร์ PRIMERGY เจเนอเรชั่นใหม่ ฟูจิตสึได้ก้าวเข้าสู่การนำเสนอเซิร์ฟเวอร์แพลตฟอร์ม x86 ศักยภาพสูงอย่างแท้จริง พร้อมมอบความยืดหยุ่นที่มากกว่า จัดการระบบได้สะดวกกว่า และให้บริการได้ดีกว่า เพราะเดต้าเซ็นเตอร์ต่างล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
PRIMERGY RX900 S2 พร้อมรองรับกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย ไม่ว่าจะในด้านการเงินหรือหน่วยงานภาครัฐ โดยมอบความน่าเชื่อถือในระดับสูงที่สามารถรองรับแอพพลิเคชั่นได้ดีขึ้น จากเดิมที่เคยต้องยึดติดกับระบบ RISC/UNIX ซึ่งมีราคาสูงและเป็นระบบแบบปิด ทั้งนี้ด้วยราคาที่ต่ำกว่าของ PRIMERGY RX600 S6 ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดการและรองรับการทำงานที่เพิ่มขึ้นได้อย่างสะดวก เหมาะสำหรับลูกค้าระดับกลางค่อนไปทางระดับสูง และลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่
เซิร์ฟเวอร์ PRIMERGY โมเดลใหม่ทั้งหมดมีดีไซน์แบบ "กลู-เลส (glue-less)" ทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมในการเรียกใช้งานซีพียูทั้ง 8 หน่วย นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีอินเทลควิกพาธอินเตอร์คอนเน็ค ยังช่วยลดปัญหาคอขวดของอินพุตและเอาต์พุตด้วยการใช้เส้นทางที่สั้นที่สุดระหว่างโพรเซสเซอร์ หน่วยความจำ และส่วนอินพุตเอาต์พุตต่างๆ ทำให้สามารถรองรับงานที่สำคัญได้อย่างไม่มีปัญหาภายใต้ราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ PRIMERGY ยังรองรับการขยายระบบได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการอัพเกรดโพรเซสเซอร์ หน่วยความจำ และชิ้นส่วนอินพุตเอาต์พุตต่างๆ เปิดช่องให้องค์กรพร้อมรองรับการเติบโตในอนาคตโดยไม่ต้องปรับปรุงแร็คใหม่ทั้งหมดหรือต้องถึงขั้นซื้อระบบใหม่ที่สิ้นเปลืองกว่า
เจนส์-ปีเตอร์ ซีค รองประธานอาวุโสกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ ฟูจิตสึ เทคโนโลยี โซลูชั่นส์ กล่าวว่า "เซิร์ฟเวอร์แบบ x86 เจเนอเรชั่นใหม่ ช่วยผลักดันให้ PRIMERGY จากฟูจิตสึ ก้าวกระโดดนำไปข้างหน้า และจะยิ่งทำให้ตลาดเซิร์ฟเวอร์แบบยูนิกซ์ที่หยุดนิ่ง ถูกแทนที่ด้วยระบบแบบ x86 นั้น เป็นไปอย่างเร็วขึ้น ทั้งนี้เพราะเซิร์ฟเวอร์ PRIMERGY ศักยภาพสูงสามารถรองรับงานขนาดใหญ่ในระบบเดต้าเซ็นเตอร์ชั้นสูงได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันก็สร้างมาตรฐานใหม่ในเรื่องราคาที่ประหยัดกว่าสำหรับงานด้านการประมวลผลที่สำคัญสำหรับองค์กรและธุรกิจต่างๆ"
ทุบสถิติโลกด้วยประสิทธิภาพจาก PRIMERGY RX900 S2
ทีพีซี (TPC - Transaction Processing Performance Council) ได้จัดอันดับให้ PRIMERGY RX900 S2 เป็นสุดยอด2ของ ทีพีซี-อี ในด้านระบบเซิร์ฟเวอร์ ทั้งนี้ในการจัดอันดับ ทีพีซี-อี ดังกล่าว เซิร์ฟเวอร์ PRIMERGY จากฟูจิตสึ ไม่เพียงแค่เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ทรงพลังที่สุดในโลก แต่ยังนำเสนอความคุ้มค่าในด้านราคาและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าด้วย
การทำงานแบบรวมศูนย์ที่สำคัญขององค์กรสามารถรับมือได้อย่างมั่นใจด้วย PRIMERGY RX900 S2 ที่พร้อมมอบศักยภาพในการทำงานสูงสุด พลังในการประมวลผลเหนือกว่าด้วยการรองรับซีพียูอินเทลซีออน E7-8800 มากสูงสุดถึง 8 หน่วย ให้จำนวนคอร์กว่า 80 แกน และหน่วยความจำหลักที่สูงสุดถึง 4 เทราไบต์ พร้อมด้วยอินพุตเอาต์พุตที่มีแบนด์วิธรองรับมากกว่า 100 กิกะไบต์ เช่นเดียวกับ RX600 S6 ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์แบบ 4 ซ็อกเก็ต ซึ่งให้จำนวนคอร์กว่า 40 คอร์ประมวลผล และใช้โพรเซสเซอร์รุ่นใหม่อย่าง อินเทลซีออน E7-4800 และรองรับหน่วยความจำหลักมากสูงสุดถึง 2 เทราไบต์
ทั้งนี้ PRIMERGY RX900 S2 พร้อมมอบความต่อเนื่องในการทำงานที่เหนือกว่าและไม่เคยมีมาก่อนด้วยฟังก์ชั่นความพร้อมในการทำงานระดับสูง ที่ทำงานสอดคล้องกับความน่าเชื่อถือ ความคล่องตัว และความพร้อมของโพรเซสเซอร์อินเทลซีออน E7-8800 ที่เหนือชั้น
ทีพีซี ได้ดำเนินการตรวจสอบเปรียบเทียบการประมวลผลรายการธุรกรรมและระบบฐานข้อมูล เพื่อประเมินพลังและศักยภาพของระบบการประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ (OLTP - On-line Transaction Processing)
หมายเหตุ
1. PRIMERGY RX900 S2 พร้อมจำหน่ายแล้วทั่วโลกยกเว้นที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับ PRIMERGY RX600 S6 นั้นพร้อมจำหน่ายแล้วทั่วโลกตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา
2. ผลการเปรียบเทียบแข่งขันดังกล่าวอ้างอิงจากรายงานเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554 ที่ http://www.tpc.org/tpce/results/tpce_perf_results.asp โดย TPC Benchmark TM เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของทาง Transaction Processing Performance Council
PRIMERGY RX900 S2 จากฟูจิตสึ ใช้โพรเซสเซอร์อินเทล ซีออน E7-8870 ที่สัญญาณนาฬิกา 2.40 กิกะเฮิร์ตซ์ รวมจำนวน 8 หน่วย และมีหน่วยความจำหลัก 2 เทราไบต์ โดยทำผลลัพธ์ ทีพีซี-อี ได้ที่ 4.555 tpsE และมีราคาต่อประสิทธิภาพที่ 217.27 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ tpsE (ดีกว่าคู่แข่งในลำดับถัดไปที่เป็นแพลตฟอร์มแบบ 8 ซ็อกเก็ตและใช้เทคโนโลยีโพรเซสเซอร์เดียวกัน คิดเป็นร้อยละกว่า 24 โดยผลลัพธ์ที่คู่แข่งได้อยู่ที่ 4.2000 tpsE และ 287.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ tpsE) นอกจากนี้ PRIMERGY RX900 S2 จากฟูจิตสึ ยังถือเป็นเซิร์ฟเวอร์แบบ 8 ซ็อกเก็ตตัวแรกที่บรรลุเป้าด้านพลังงานของทีพีซี ด้วยผลลัพธ์ที่ 1.00 วัตต์ต่อ tpsE ทั้งนี้ระบบดังกล่าวพร้อมส่งมอบในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา
เกี่ยวกับการจัดอันดับทีพีซี
การจัดอันดับ ทีพีซี เบนช์มาร์ก อี (TPC-E) เป็นการคำนวณปริมาณการทำงานการประมวลผลธุรกรรมแบบออนไลน์ (OLTP - On-Line Transaction Processing) ที่พัฒนาขึ้นโดยทีพีซี ทั้งนี้ ทีพีซี-อี ได้จำลองการทำงานของการประมวลผลธุรกรรมแบบออนไลน์ของบริษัทโบรคเกอร์ และมุ่งเน้นไปที่การเปรีรยบเทียบฐานข้อมูลหลักซึ่งจัดการรายการธุรกรรมอันเกี่ยวข้องกับบัญชีของลูกค้า และแม้ว่าโมเดลธุรกิจที่จำลองในทีพีซี-อี จะเป็นบริษัทโบรคเกอร์ แต่โครงสร้างฐานข้อมูล จำนวนข้อมูล รายการธุรกรรม และเกณฑ์การติดตั้งใช้งานต่างๆ นั้นได้ถูกออกแบบมาให้เป็นตัวแทนของระบบการประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างเหมาะสม
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PRIMERGY RX900 S2 และ RX600 S6 นั้น สามารถเรียกดูได้ที่ http://ts.fujitsu.com/products/standard_servers/rack/index.html ส่วนภาพถ่ายและรูปภาพต่างๆ นั้น สามารถเรียกดูได้ที่ http://mediaportal.ts.fujitsu.com/?r=26747
เกี่ยวกับ ฟูจิตสึ
ฟูจิตสึ คือผู้นำธุรกิจโซลูชันเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารระดับโลก มีพนักงานประมาณ 170,000 คน ในการรองรับความต้องการลูกค้าในกว่า 100 ประเทศ ฟูจิตสึ ได้ผนวกเอาระบบในการทำงานร่วมกันทั่วโลกเข้ากับความชำนาญในการบริการ ให้กับผลิตภัณฑ์ระบบประมวลผลที่เชื่อถือได้ในระดับสูง ระบบสื่อสารและอุปกรณ์ไมโครอิเล็คทรอนิคส์ล้ำหน้าเพื่อมูลค่าเพิ่มที่มากกว่าให้กับองค์กรลูกค้า สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ เมืองโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น, โดยที่มีรายงานการรับรู้รายได้ประจำปีปฏิทินสิ้นสุด ณ 31 มีนาคม 2554 มีรายได้รวม 4.5 พันล้านเยน (5.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.fujitsu.com
เกี่ยวกับ ฟูจิตสึ เอเชีย
ฟูจิตสึ เอเชีย ก่อตั้งในสิงคโปร์ในปี 1997 ในการนำเสนอความเป็นผู้นำด้านการให้บริการพัฒนาธุรกิจ, เทคโนโลยีนวัตกรรมและสนับสนุนลูกค้าในฐานะสำนักงานภูมิภาคสำหรับกลุ่มบริษัทฟูจิตสึในภูมิภาคอาเซียน บนพื้นฐานของประสบการณ์ 3 ด้านในภูมิภาคอาเซียนและความชำนาญด้านวิศวกรรม ฟูจิตสึ เอเซีย นำเสนอโซลูชันทางธุรกิจแบบครบวงจรเพื่อมูลค่าที่แท้จริงและช่วยให้องค์กรของลูกค้าตอบสนองความท้าทายที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษบกิจยุคใหม่ ฟูจิสึ เอเชีย เป็นบริษัทในเครือของ ฟูจิตสึ จำกัด ผู้นำธุรกิจโซลูชันเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติม เยี่ยมชมได้ที่ http://sg.fujistu.com
ชื่อของบริษัทหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ได้ระบุถึงเป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของเจ้าของผู้มีสิทธิ์ ข้อมูลที่จัดเตรียมในข่าวประชาสัมพันธ์นี้ถูกต้อง ณ เวลาที่จัดพิมพ์ และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า