ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่ ‘BBB’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 30, 2011 16:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--ฟิทช์ เรทติ้งส์ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ซึ่งรวมถึง อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-term Issuer Default Rating (IDR)) ที่ ‘BBB’ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (Long-term National Rating) ที่ ‘AA-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ รายละเอียดอันดับเครดิตแสดงอยู่ด้านล่าง อันดับเครดิตและแนวโน้มอันดับเครดิตของ BAY สะท้อนถึงผลประกอบการที่แข็งแกร่ง ระดับของเงินกองทุนที่อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเพียงพอเมื่อเทียบกับระดับความเสี่ยงของธนาคาร และการปรับตัวดีขึ้นของคุณภาพสินทรัพย์ซึ่งเป็นไปตามที่คาด นอกจากนี้อันดับเครดิต ยังพิจารณาถึงการใช้แหล่งเงินทุนจากตลาดทุน รวมถึงตั๋วแลกเงิน ในสัดส่วนที่สูงกว่าธนาคารอื่นๆ ที่มีอันดับเครดิตในระดับใกล้เคียงกัน เนื่องด้วยขนาดของสินทรัพย์ สินเชื่อ และเงินฝาก ของ BAY ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งอยู่ที่ 8% ของระบบธนาคารไทย ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ในการที่ธนาคารจะได้รับการช่วยหลือจากภาครัฐในกรณีที่มีความจำเป็น กำไรสุทธิของ BAY ในครึ่งแรกของปี 2554 เติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 38% มาอยู่ที่ 5.8 พันล้านบาท เป็นผลมาจากอัตราส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (Net interest margin) ที่อยู่ในระดับสูง จากการที่ธนาคารมีการปล่อยกู้ในกลุ่มลูกค้ารายย่อยซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในสัดส่วนที่สูง รวมทั้งการบริหารต้นทุนทางการเงินที่ดี และการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลง อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 1.32% ในครึ่งแรกของปี 2554 เทียบกับ 1.07% ในปี 2553 และน่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการตั้งสำรองหนี้สูญที่คาดว่าจะลดลงและอยู่ในระดับคงที่ การปล่อยสินเชื่อในกลุ่มลูกค้ารายย่อยของ BAY เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีสัดส่วนที่สูงกว่า 40% ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนที่ประมาณ 30% หลังจากการซื้อสินทรัพย์ในประเทศไทยของ General Electric Capital Corporation Inc. และ American International Group ในช่วงปี 2551-2552 คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารได้ปรับตัวดีขึ้นใน 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจจะมีความผันผวน สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 3.6 หมื่นล้านบาท หรือ 5.35% ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 เทียบกับ 7.2 หมื่นล้านบาทหรือ 15.87% ณ สิ้นปี 2550 ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างหนี้ การขายและตัดจำหน่ายหนี้สูญและมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น ธนาคารมีแผนการที่จะขายสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในครึ่งหลังของปี 2554 ขณะเดียวกันอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็น 92.6% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 จาก 88.7% ณ สิ้นปี 2553 ซึ่งมาอยู่ที่ระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ความสามารถในการหาแหล่งเงินทุนและสภาพคล่องยังคงมีความเสี่ยง เงินฝากของ BAY อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าธนาคารขนาดใหญ่ โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 72% ของฐานเงินทุน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 เนื่องจากการใช้แหล่งเงินทุนระยะยาวจากตลาดทุนในสัดส่วนที่มากกว่า เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของสินทรัพย์ อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน) ที่ 102% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 108% ณ สิ้นปี 2553 แต่ยังถือว่าเป็นระดับที่สูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 91% ของธนาคารขนาดใหญ่ 4 อันดับแรกในประเทศ สินทรัพย์สภาพคล่องมีการปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 16% ของเงินฝากรวมทั้งแหล่งเงินทุนจากตลาดเงินและเงินกู้ยืมระยะสั้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 20% ของธนาคารขนาดใหญ่ การเพิ่มทุนในปี 2550 และการสะสมของเงินกองทุนจากกำไรจากการดำเนินธุรกิจ ได้ช่วยให้ BAY เป็นหนึ่งในธนาคารที่มีระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มธนาคารไทย ซึ่งฟิทช์มองว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของธนาคาร อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 และอัตราส่วนส่วนของผู้ถือหุ้นต่อสินทรัพย์ที่ระดับ 12.16% และ 11% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 ยังอยู่ในระดับคงที่ แม้ว่าจะมีการซื้อสินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และมีการเติบโตของสินทรัพย์ใน 3 ปี ที่ผ่านมา นอกจากนี้ฟิทช์ยังคาดว่าระดับเงินกองทุนของธนาคารน่าจะยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง แม้สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจอาจจะปรับตัวอ่อนแอลงบ้าง การระดมเงินฝากที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยในระดับที่ใกล้เคียงกับธนาคารขนาดใหญ่ โดยวัดจากขนาดของเงินฝากเป็นสัดส่วนของฐานเงินทุน น่าจะส่งผลกระทบในเชิงบวกต่ออันดับเครดิต และการรักษาความแข็งแกร่งของระดับเงินกองทุน และความสามารถในการทำกำไรอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นผลดีต่ออันดับเครดิตด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันหากความเสี่ยงด้านสภาพคล่องมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงการพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากตลาดทุนในระดับที่สูง หรือความเสี่ยงที่คุณภาพสินทรัพย์อาจปรับตัวอ่อนแอลงอย่างมาก เนื่องจากอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ที่สูงมาก และ/หรือการที่มีการปรับตัวอ่อนแอลงของระดับเงินกองทุน อาจส่งผลในเชิงลบต่ออันดับเครดิต การจัดอันดับเครดิตของตราสารหนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของฟิทช์ในการจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้ดังกล่าว ซึ่งยังมีการชำระดอกเบี้ยBAY ก่อตั้งขึ้นในปี 2488 และเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย GECIH ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ General Electric Capital Corporation Inc. ปัจจุบันถือหุ้นในสัดส่วน 33% ขณะที่กลุ่มรัตนรักษ์ถือหุ้นในสัดส่วน 25% ธนาคารถือหุ้นในบริษัทอื่นๆ ในเครือซึ่งดำเนินธุรกิจ ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจบริหารกองทุน ตัวแทนประกัน อันดับเครดิตของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงไว้ที่ ‘BBB’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงไว้ที่ ‘F3’ - อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินคงไว้ที่ ‘bbb’ (‘C’) - อันดับเครดิตสนับสนุนคงไว้ที่ ‘3’ - อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงไว้ที่ ‘BB+’ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงไว้ที่ ‘AA-(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงไว้ที่ ‘F1+(tha)’ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันคงไว้ที่ ‘AA-(tha)’ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิคงไว้ที่ ‘A+(tha)’ ติดต่อ Primary Analyst นฤมล ชาญชนะวิวัฒน์ Director +662 655 4763 บริษัท ฟิทช์เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด 55 ถนน วิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 Secondary analyst วสันต์ ผลเจริญ Director +662 655 4758 Committee Chairperson Jonathan Cornish Managing Director +825 2263 9901

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ