วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรม ในหัวข้อพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับการนำเข้า/ส่งออก กลยุทธ์การสำแดงพิกัดฯเพื่อป้องกันความผิดทางศุลกากร

ข่าวทั่วไป Wednesday August 31, 2011 12:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง พิกัดอัตราศุลกากรสำหรับการนำเข้า-ส่งออกกลยุทธ์การสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อป้องกันความผิดทางศุลกากรCustoms Tariff Classification for Import and Export อบรมวันพุธที่ 21 กันยายน 2554ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4KEEN Conferenceห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค(ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์ Rational and Significance เป็นที่ทราบกันดีว่า การสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรผิดนั้นถือว่า “เป็นความผิดพลาดแบบไม่เจตนา” ของผู้ประกอบการนำเข้า/ส่งออก จึงเป็นเหตุให้เกิดข้อพิพาทกับกรมศุลกากรมากที่สุดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้ประกอบการจะหลีกเลี่ยงหนีภาษีนั้น ปัจจุบันเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้และไม่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นผู้นำเข้าจึงมีความเสี่ยงจากการสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรอย่างมาก หากขาดความรอบคอบ และการวางแผนที่ดี อาจเข้าข่ายความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากร หรือสำแดงเท็จ ถูกปรับ 4 เท่าของราคาของบวกอากรอีกด้วย ดังนั้น บริษัทฯ จึงทำการจัดอบรมสัมมนาหัวข้อ “พิกัดอัตราศุลกากรสำหรับการนำเข้า/ส่งออก” ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในการลดความเสี่ยงประเด็นการสำแดงพิกัดอัตราศุลกากร (Customs Tariff Classification and Risk Management) Training Schedule 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น. หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ภายใต้พระราชกำหนดศุลกากร พ.ศ. 2530 และระบบฮาร์โมไนซ์ การบริหารความเสี่ยงจากการสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรในใบขนสินค้า (Import Entry) ขณะนำเข้า ประเด็นพิกัดอัตราศุลกากรที่กรมศุลกากรมักดำเนินการ Post Audit และผู้ประกอบการมักผิดพลาด แนวทางการชี้แจงข้อมูลสินค้า ได้แก่ Model คุณสมบัติลักษณะการทำงานและการนำไปใช้ของสินค้าที่นำเข้า ให้สอดคล้องกับพิกัดที่ควรจะเป็น เพื่อลดความเสี่ยงพิกัดอัตราศุลกากร (Best Practice for Customs Tariff Classification) การกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรมีความเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองของกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศได้อย่างไร วิวัฒนาการของเทคโนโลยี นวัตกรรมสินค้า กับการบริหารความเสี่ยงพิกัดอัตราศุลกากร หากสินค้าที่นำเข้าเป็นสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ (Unique) ซึ่งไม่มีผู้ประกอบการรายอื่นนำเข้ามาก่อน กรณีเทคโนโลยีมีการพัฒนาตลอดเวลา ส่งผลกระทบต่อการจำแนกพิกัดของสินค้าเดิมที่เปลี่ยนไป หากผู้นำเข้าบริหารความเสี่ยงพิกัดอัตราศุลกากรโดยขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของภาครัฐอื่น ๆ ในการวิเคราะห์สินค้าที่นำเข้า เช่น กรมวิทยาศาสตร์บริการ ช่วยในการบริหารความเสี่ยงเช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมศุลกากรยอมรับได้หรือไม่ หากไม่ยอมรับจะมีแนวทางโต้แย้งอย่างไร พิกัดอัตราศุลกากรกับการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เขตการค้าเสรี FTA การนำเข้าสินค้าโดยใช้สิทธิภายใต้ BOI เขตปลอดอากร และคลังสินค้าทัณฑ์บน กับการบริหารความเสี่ยงทางศุลกากร ตัวแทนออกของหรือชิปปิ้ง กับประเด็นความเสี่ยงในการสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรต่ำกว่าความเป็นจริง การบริหารความเสี่ยงจากการใช้สิทธิพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า (Advance Customs Tariff Ruling) ผู้ประกอบการสามารถใช้คำวินิจฉัยพิกัดอัตราศุลกากรและคำพิพากษาศาลฎีกาที่ได้ตัดสินเกี่ยวกับ “ข้อพิพาทพิกัดอัตราศุลกากร” ได้หรือไม่ เพียงใด ผู้นำเข้าสามารถใช้ประโยชน์จาก “คำอธิบายพิกัดฮาร์โมไนซ์ (Explanatory Notes หรือ EN)” เพื่อลดความเสี่ยงพิกัดอัตราศุลกากรด้วยตนเองได้อย่างไร กรมศุลกากรใช้แหล่งข้อมูลที่ได้จากภายนอก เช่น เว็บไซต์ หรือข้อมูลทางวิชาการ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยพิกัด เช่นนี้แล้วผู้นำเข้าควรมีเทคนิคในการเตรียมข้อมูลเพื่อโต้แย้งศุลกากรได้อย่างไร Update ข้อพิพาทในศาลฎีกาล่าสุดเกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากร (Customs Tariff Dispute) ของที่ได้รับการยกเว้นตามภาค 4 กับแนวทางการตีความที่มักเป็นปัญหา ของส่งกลับออกไปซ่อม ณ ต่างประเทศนำกลับเข้ามา (ประเภท 2) ของส่งกลับออกไป (Re-Export) ตัวอย่างสินค้าตามภาค (ประเภท 14) ของนำเข้าชั่วคราว (ประเภท 3) กรณีเป็นของที่ได้รับยกเว้นอากรตามภาค 4 แต่กลับชำระอากรขาเข้าตามพิกัดภาค 2 สามารถขอคืนอากรได้หรือไม่ พิกัดอัตราศุลกากรขาออก กับประเด็นที่ผู้ประกอบการควรบริหารความเสี่ยง มีหรือไม่ อย่างไร เทคนิคการโต้แย้งพิกัดต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ (เพื่อเพิ่มโอกาสในการชนะคดี) Instructor ดร.สิทธิชัย พรหมสุวรรณ ผู้ชำนาญการศุลกากร กรมศุลกากร Partner ของ กลุ่มบริษัทสยามเคาน์ซิล อดีตผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด Registration Fee ท่านละ 3,200 บาท รวม ภาษี 7 % = 3,424 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 How to Apply สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 Payment Method เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจาก ต่างจังหวัด) Notice of Cancellation ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน Remark การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ