เชค พอยต์ ประกาศเพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัย รองรับภัยคุกคามและการเติบโตของเทคโนโลยี

ข่าวเทคโนโลยี Monday September 5, 2011 09:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ก.ย.--มายด์ พีอาร์ บริษัท เชค พอยต์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด (Nasdaq: CHKP) ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นระบบรักษาความปลอดภัย ทั่วโลกในประเทศไทย ด้วยเครื่องมือวัดประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัย ที่ชื่อว่า ซีเคียวริตี้ พาวเวอร์ (SecurityPower) พร้อมทั้งเชค พอยต์ อาร์ 75.20 ซอฟต์แวร์ระบบรักษาความปลอดภัย 3 มิติ สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์เบลด และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยใหม่ล่าสุดสำหรับตลาดระดับบนสองรุ่น ได้แก่ เชค พอยต์ 61000 ซึ่งเป็นไฟร์วอลล์ที่มีความเร็วที่สุดในโลก และ เชค พอยต์ 21400 สำหรับกลุ่มดาต้า เซ็นเตอร์ นาย จอห์น ออง ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค เอเชียใต้ บริษัท เชค พอยต์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด กล่าวในงานแถลงข่าวในประเทศไทย ว่า ด้วยการเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยด้านไอทีด้วยไฟล์วอลล์ — 1 ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเทคโนโลยี ที่เป็นรากฐานของเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายที่ใช้มากที่สุดในปัจจุบัน และยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัย ทำให้เชค พอยต์ เป็นบริษัทที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยคาดว่าในปี 2554 จะมีอัตราการเติบที่ในประเทศไทยที่ 20% โดยตลาดรวมของระบบรักษาความปลอดภัยในประเทศไทยมีมูลค่า 28.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2553 และจะมีอัตราการเติบในปี 2554 ประมาณ 17% การเติบโตของตลาดระบบรักษาความปลอดภัย มาจากการใช้เทคโนโลยี 3 กลุ่มที่มากขึ้นคือ คือ 1.ระบบคลาวด์ การคอนโซลิเดชั่นและเวอร์ชวลเซชั่น 2. โมบาย แอพพลิเคชั่นและแทบเล็ต พีซี และ 3. เว็บ 2.0 และโซเชียลมีเดีย ทำให้องค์กรต่างๆ ย่อมมองระบบรักษาความปลอดภัยที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นกว่าเดิม นางสาวธนนันท์ มานีกุล ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท เชค พอยต์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า เชค พอยต์ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ครั้งสำคัญในประเทศไทยครั้งนี้ ประกอบด้วย ซีเคียวริตี้ พาวเวอร์ เชคพอยต์ 75.20 เชค พอยต์ 61000 และเชค พอยต์ 21400 ซีเคียวริตี้ พาวเวอร์ (SecurityPower?) ที่เป็นเครื่องมือในการวัดที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถประเมินความต้องการด้านการรักษาความปลอดภัยของตนและเปรียบเทียบระดับ Security Power Unit (SPU) กับโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยแต่ละโซลูชั่นได้ ซึ่งจะเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการวัดประสิทธิภาพอุปกรณ์ภายใต้สถานการณ์ที่มีการโจมตีระบบความปลอดภัยและในระหว่างการดำเนินงานในแต่ละวัน โดยซีเคียวริตี้ พาวเวอร์นี้ ช่วยให้บริษัทต่างๆ มีภาพที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับวิธีการวัดความต้องการด้านประสิทธิภาพในด้านฮาร์ดแวร์และความต้องการด้านการรักษาความปลอดภัยจากซอฟต์แวร์ ถือเป็นแนวคิดที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถวางแผนเกี่ยวกับประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ได้เปิดตัว เชคพอยต์ 75.20 ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นจากวิสัยทัศน์ด้านการรักษาความปลอดภัยแบบ 3 มิติของบริษัท เชค พอยต์ ซึ่งเป็นการกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยในรูปแบบกระบวนการทางธุรกิจด้วยการรวมนโยบาย บุคลากร และการบังคับใช้เพื่อการป้องกันที่แข็งแกร่งขึ้นซึ่งครอบคลุมการรักษาความปลอดภัยในทุกระดับชั้น ทำให้องค์กรสามารถควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น และวิดเจ็ท นับล้านรายการภายใต้นโยบายรวมเพียงชุดเดียว นับเป็นในครั้งแรกในอุตสาหกรรมที่บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างครอบคลุมด้วยโซลูชั่นการควบคุมเว็บที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งทางเชค พอยต์ยังได้เปิดตัวอุปกรณ์ระบบรักษาความปลอดภัยอีก 2 รุ่น ด้วยกันคือ เชค พอยต์ 61000 และเชคพอยต์ 21400 โดยเชค พอยต์ 61000 เป็น ไฟร์วอลล์ เกตเวย์ ที่มีความเร็วสูงสุดในโลก สำหรับ ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูล ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม และผู้ให้บริการระบบคลาวด์ พร้อมด้วยแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์แบบหลายเบลดที่มีขีดความสามารถสูงสุดที่ระดับกว่า 1 เทราบิตต่อวินาที และระดับ 200 กิกะบิตต่อวินาที และ เป็นไฟร์วอลล์ รายเดียวที่พร้อมให้บริการแล้วในปีนี้ สำหรับ เชค พอยต์ 21400 เป็นไฟร์วอลล์ความเร็วสูงที่มีระดับความเร็วในการสื่อสารถึง 100 กิกะบิตต่อวินาที และ การป้องกันการบุกรุก (IPS) ที่มีระดับความเร็วสูงถึง 21 กิกะบิตต่อวินาที โดยถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการปรับใช้ซอฟต์แวร์เบลดสำหรับการป้องกันที่เหมาะสมและครอบคลุม สำหรับองค์กรขนาดใหญ่และดาต้า เซ็นเตอร์ “ปัจจุบันเกตเวย์ขององค์กรขนาดใหญ่จะเป็นมากกว่าไฟร์วอลล์ โดยมักจะผสานรวมเทคโนโลยีหลายอย่างเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการรักษาความปลอดภัยที่มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้ว่าองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่กำลังเผชิญหน้ากับการใช้งานระบบประมวลผลแบบเคลื่อนที่ เว็บ 2.0 การรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ และการโจมตีของภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตที่ซับซ้อน ตลอดจนซอฟต์แวร์ร้ายที่เป็นอันตราย ส่งผลให้ความต้องการด้านการรักษาความปลอดภัย แบนด์วิธ และกำลังการประมวลผลเพิ่มสูงขึ้น” นางสาวธนนันท์ กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ