กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) เปิดตัวสินค้าและกระบวนการนาโนเทคโนโลยี 16 ชิ้นอย่างอลังการในงาน Nanotechnology Portfolio Release ซึ่งจัดขึ้นในโอกาสฉลองครบรอบ 52ปีแห่งการก่อตั้งสถาบันเอไอที ทั้งนี้ ในระหว่างการเปิดตัวเทคโนโลยีดังกล่าว ศ. จอยดีพ ดุตตา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี หรือ CoEN กล่าวว่าชุดสินค้าและกระบวนการเหล่านี้จะผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางงานวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยี
ในการเปิดตัวสินค้านาโนเทคโนโลยี ซึ่งมีหลากหลายตั้งแต่เครื่องทำน้ำให้บริสุทธิ์โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์แบบพกพา การพิสูจน์ลายนิ้วมือ ไปจนถึงแก๊สเซนเซอร์หรือตัวตรวจวัดแก๊ส ศ.ดุตตา ซึ่งยังดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการของสถาบันเอไอที กล่าวว่าการเปิดตัวนี้เป็นการเก็บเกี่ยวงานวิจัยที่มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางในช่วงระยะเวลา 5 ปี โดยสินค้า 4 ชิ้นกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการขอจดสิทธิบัตร และมีสินค้าอีก 7 ชิ้นที่ได้รับการพัฒนาอย่างประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีสินค้าอื่นๆที่ได้รับการพัฒนาเสร็จและพร้อมที่จะขอจดสิทธิบัตรและเปิดตัวในตลาด
ศ.ดุตตา ซึ่งได้อธิบายเกี่ยวกับการประยุกต์ปฏิบัติซึ่งพัฒนาโดย CoEN ว่าศูนย์ฯได้สาธิตถึงการใช้แสงแดดเพื่อการทำน้ำให้บริสุทธิ์ “การศึกษาส่วนใหญ่จนถึงขณะนี้มักจะเกี่ยวกับการใช้แสงอุลตร้าไวโอเล็ตหรือเกี่ยวกับการยับยั้งอนุภาคนาโน แต่กลุ่มวิจัยของสถาบันเอไอทีได้ละเว้นทั้งสองวิธีการ” นอกจากนี้ ศ.ดุตตายังเสริมอีกว่าการทำน้ำให้บริสุทธิ์บนพื้นฐานของอนุภาคนาโนไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในการทำและเป็นเครื่องมือแบบพกพา
อีกตัวอย่างหนึ่งของสินค้านาโนคือเทคโนโลยีการพิสูจน์ลายนิ้วมือซึ่งอนุภาคนาโนยึดติดเพียงแค่ขอบของนิ้ว และทิ้งส่วนที่เหลือเพียงเล็กน้อย อนุภาคนาโนที่ทาบนนิ้วมือนั้นเพิ่มความแตกต่างมากขึ้น ทำให้กระบวนการไม่ยุ่งยากและง่ายขึ้น เทคนิคนี้สามารถใช้กับพื้นผิวที่เปียก ซึ่งแตกต่างจาก การพิมพ์รอยนิ้วมือแบบดั้งเดิม
ตัวตรวจวัดเก๊ส LPG มุ่งที่จะลดการเกิดอุบัติเหตุและเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ใช้พลังงานต่ำ อีกหนึ่งนวัตกรรมคือพิ้นผิวที่สามารถทำความสะอาดได้ด้วยตัวเองซึ่งป้องกันการกัดกร่อนของพื้นผิวอันเนื่องมาจากน้ำ นวัตกรรมนี้เป็นการประหยัดเงินที่ต้องใช้สำหรับการซ่อมบำรุงและการซ่อมแซมพื้นผิวเหล่านี้
สินค้าที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งคือเครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกหรือ inkjet printer ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้ประจำในห้องปฏิบัติการ และยังมีกระดาษเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงซึ่งเป็นกระดาษชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้อีกและมีการดูดซึมหมึกต่ำ กระดาษนี้มีราคาถูกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีอีกชิ้นหนึ่งคือเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นสินค้าที่มีราคาถูกและเป็นแหล่งพลังงานที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
“สินค้าและกระบวนการเหล่านี้ได้รับการพัฒนาในช่วงระยะเวลา 5 ปีนับแต่การก่อตั้ง CoEN” ศ.ดุตตากล่าวว่า ศูนย์ CoEN ที่สถาบันเอไอทีเป็น 1 ใน 8 ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี ภายใต้ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ศ.ดุตตาได้กล่าวขอบคุณสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และนาโนเทค สำหรับความร่วมมือกับ CoEN ของสถาบันเอไอที
ในภาพ: ศ. ซาอิด อิรานดุส (ซ้าย) อธิการบดีสถาบันเอไอที และ ศ. จอยดีฟ ดุตตา รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการสถาบันเอไอที ในงานเปิดตัวสินค้านาโนเทคโนโลยี