ไทยเอ็นจีโอเชิญร่วมงานมหกรรมวิถีคนรักษ์ป่า-ดิน-น้ำ 4-7 ตุลาคม 2545 ณ ลานชุมชนริมน้ำปิง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ข่าวทั่วไป Thursday September 26, 2002 15:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.ย.--ไทยเอ็นจีโอ
ความเป็นมา
แนวทางการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยละเลยการให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติป่า ดิน น้ำ และนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจน การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตจากการผลิตเพื่อการยังชีพเข้าสู่การผลิตเพื่อสนองนโยบายการส่งออก ทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการเกษตรเชิงเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น มีการใช้สารเคมียาปราบศัตรูพืชอย่างเข้มข้น มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นอย่างสูง ซึ่งการผลิตดังกล่าวนอกจากจะทำให้เกษตรกรต้องได้รับสารพิษจากยาปราบศัตรูพืชโดยตรงแล้ว ยังทำให้ดิน น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ อาหารธรรมชาติ สมุนไพร อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม ทำให้คุณภาพชีวิตและความสามารถในการพึ่งตนเองของเกษตรกรตกต่ำลงไป ความพยายามปรับตัวของชาวบ้านมีหลายรูปแบบ ซึ่งนอกจากแนวทางการรวมกลุ่มต่อรองและพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่แล้ว ยังพบว่ามีผู้นำชุมชนและท้องถิ่นอีกมากที่พยายามในการรักษา และปรับประยุกต์เอาความรู้ และวิถีการผลิตและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ และจากประสบการณ์ที่องค์กรชาวบ้านภาคเหนือ ได้ปฎิบัติการ ร่วม 10 - 20 ปี พบว่าประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งด้านการรักษาป่าธรรมชาติ การฟื้นป่า การจัดการไฟป่า การจัดการที่ดิน การปรับปรุงระบบการเกษตร การพัฒนาระบบการจัดการน้ำ การพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพอาหารและยาสมุนไพร การจัดกลุ่มและองค์กรในระดับชุมชนเครือข่าย ทำให้สภาพจิตสำนึกของคน สภาพป่า สภาพน้ำ ระบบการผลิตการเกษตรเริ่มดีขึ้นอย่างน่าสนใจ และด้วยความตระหนักถึงการขยายผลความสำเร็จไปสู่วงกว้างและการร่วมเรียนรู้เพื่อแก้ไขจุดอ่อน จากมุมมองต่าง ๆ ชาวบ้านร่วมกับหน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานราชการ จึงได้ร่วมกันจัดโครงการมหกรรมวิถีคนรักษ์ป่า-ดิน-น้ำ ขึ้นเพื่อเสนอทางเลือกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมและยั่งยืน ให้ชาวบ้าน คนในเมืองและผู้มีอำนาจในทางนโยบายได้เรียนรู้และเข้าใจถึงความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้นำชุมชนใน 15 จังหวัดได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการทรัพยากรป่า ดิน น้ำ
2. เพื่อให้ชุมชนที่มีบทเรียน ประสบการณ์ในการจัดการทรัพยากรป่า ดิน น้ำ แขนงต่างๆ ได้นำเสนอเผยแพร่ ชุดความรู้ประสบการณ์เหล่านั้นต่อสาธารณะ
3. เพื่อให้เครือข่ายพันธมิตร ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค นักธุรกิจ ข้าราชการท้องถิ่น และข้าราชการการเมือง ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนกับผู้นำชุมชน ในเรื่องการจัดการทรัพยากร ป่า ดิน น้ำ ที่เหมาะสม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เครือข่ายชุมชนต่างๆ สามารถเชื่อมร้อย และกำหนดแนวทางประสานความร่วมมือข้ามข่าย ในอนาคตมีรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น
2. การเผยแพร่ประสบการณ์ของชุมชน ในแขนงต่างๆ ต่อสาธารณะสามารถจัดทำได้อย่างต่อเนื่อง
3. ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางนโยบาย มีข้อมูลเพียงพอในการกำหนดนโยบาย การจัดการทรัพยากรป่าดิน น้ำ
แนวทางการดำเนินงาน
การจัดงานมหกรรมวิถีคนรักษ์ป่า ดิน น้ำ ได้วางรูปแบบของการดำเนินงาน ที่มีลักษณะของกิจกรรมในงานที่หลากหลาย โดยแบ่งเป็นกลุ่มงานได้ ดังนี้
1.หมวดกิจกรรมสาธิตและแสดงผลงาน การสาธิตการใช้ประโยชน์/การจัดการที่ยั่งยืน โดยสื่อผ่านเรื่องปัจจัย 4 (อาหาร,ยา,เครื่องนุ่งห่ม,เครื่องใช้สอย) การนำเสนอผลงานและบทบาทขององค์กรพันธมิตรในการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรของชุมชน (อบต.,พระสงฆ์,สถาบันวิชาการ,นักศึกษา,ศิลปิน-นักเขียน,นักธุรกิจ,หมอเมือง,กลุ่มเกษตร,เหล้าพื้นบ้าน,เหมืองฝาย)
2.หมวดวิชาการ/ข้อมูล นิทรรศการภาพรวมเรื่ององค์ความรู้ ในการจัดการป่า ดิน น้ำ (บอร์ด/วีดีโอ/วีซีดี/เอกสาร) การเสวนา อภิปราย (ทั้งเวทีกลางและวงย่อยแต่ละซุ้ม) การพาลงพื้นที่ศึกษาข้อเท็จจริง การแสดงเจตนารมย์ร่วมสนับสนุนกฎหมายป่าชุมชน การให้ข้อมูลเรื่องกฎหมายป่าชุมชน
3.หมวดศิลปะ-วัฒนธรรม การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน (กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ) ของชาวบ้านในเครือข่าย พันธมิตร
4.หมวดการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชาวบ้าน (กาดหมั้ว) การจัดจำหน่ายสินค้าพื้นบ้าน เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สินค้าทางเลือก
ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ 4-7 ตุลาคม 2545
สถานที่ดำเนินงาน
ลานชุมชน ริมน้ำแม่ปิง ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ผู้เข้าร่วมงานมหกรรม
เครือข่ายชุมชนแขนงต่างๆ เช่น เครือข่ายป่าชุมชน เครือข่ายหมอเมือง เครือข่ายเกษตรฯลฯ และองค์กรพันธมิตร รวมประมาณ 1,500 - 2,000 คน
กำหนดการ งานมหกรรมวิถีคนรักษ์ป่า-ดิน-น้ำ วันศุกร์ที่ 4- วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2545
4 ตุลาคม 2545
13.00-17.00น. - เดินทาง ลงทะเบียนที่บริเวณงานลานชุมชนริมน้ำปิง และเข้าที่พัก
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการป่า ดิน น้ำ ระหว่างตัวแทน 15 จังหวัด
5 ตุลาคม 2545
9.30-12.00 น. - พิธีสืบชะตาหลวง (พิธีสงฆ์)
- พิธีถวายสังฆทาน
- กล่าวรายงาน ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดงาน โดย พ่อหลวงติ๊บ ศรีบุญยัง ตัวแทนเครือข่ายป่าชุมชนชน อ.เชียงดาว
- คุณอานันท์ ปันยารชุน ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน
- พิธีกรโดย คุณรจเรข วัฒนพานิช
12.00-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.30-15.30 น. เวทีเสวนา เรื่อง “ ความสัมพันธ์ของคนกับป่า-ดิน-น้ำ :ใครควรจัดการ และอย่างไร”
- คุณวีระ สกุลทับ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- คุณประสาร มฤคพิทักษ์ ตัวแทนกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- คุณแสงดาว ศรัทธามั่น * ตัวแทนกลุ่มศิลปินนักเขียน
- พระมหาดร.บุญช่วย สิรินธโร มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
- คุณพิชิต ชัยมงคล ตัวแทนสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
- อาจารย์ไพรัช ใหม่ชมพู ตัวแทนสำนักงานประถมศึกษาอ.เชียงดาว
- คุณพิกุล ฉิมนันท์ ตัวแทนชาวบ้านจ.เพชรบูรณ์ - คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ผู้ดำเนินรายการ
15.30-17.00 น. เวทีกลาง เวทีนำเสนอประสบการณ์การจัดการป่าในต่างประเทศ กรณีประเทศเนปาล กัมพูชา ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ผู้ดำเนินรายการ ลานกิจกรรม
- กิจกรรมกีฬาและการละเล่น / แข่งขัน เกี่ยวกับวิถีคนอยู่กับป่า
- ชมนิทรรศการ และการบรรยายในแต่ละซุ้มนิทรรศการ
17.00-18.00 น. แยกย้ายเข้าที่พัก รับประทานอาหารเย็น
18.00-19.30 น. - เวทีวัฒนธรรมพื้นบ้าน การแสดงของท้องถิ่นอ.เชียงดาว
- สลับกับการนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการป่าจาก ภาคต่างๆ
19.30-22.00 น. เวทีคอนเสิร์ต “คนรักษ์ป่า-ดิน-น้ำ” (ดนตรี-กวี-ละคร) และ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
6 ตุลาคม 2545 กิจกรรมศึกษาลงพื้นที่
10.00-16.00 น. จัดแบ่งกลุ่มลงพื้นที่ศึกษา 5 กลุ่ม ได้แก่
1) การจัดการและการใช้ประโยชน์จากป่า(บ้านหัวทุ่ง)
2) การจัดการเหมืองฝาย (บ้านม่วงฆ้อง)
3) ระบบการเกษตร (บ้านออน)
4) วัฒนธรรมและประเพณีชนเผ่า (บ้านขุนห้วยไส้)
5) กรณีความขัดแย้งในการจัดการป่า (บ้านหัวฝาย) กิจกรรมบริเวณงาน
10.00- 12.00 น. เวทีวิชาการ “โลกาภิวัฒน์กับการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนในสถานการณ์ปัจจุบัน”
- ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ สถาบันราชภัฎนครราชสีมา
- ดร.ปรีชา เปี่ยมพงษ์ศานต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คุณทวีศิลป์ ศรีเรือง บ้านห้วยแก้ว อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
- ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ดำเนินรายการ
12.00-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.30-16.00 น. เสวนาวงย่อยในประเด็น “ภูมิปัญญาท้องถิ่น : สิทธิและบทบาทในการจัดการทรัพยากร” โดยจัดตามซุ้มต่างๆ ได้แก่
1. กลุ่มหมอเมือง
2. กลุ่มเหล้าพื้นบ้าน
3. กลุ่มเกษตร
4. กลุ่มการจัดการน้ำ
5. กลุ่มปัญหาที่ดินนอกเขตป่า
6. กลุ่มองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
7. กลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่า
8. พรบ.ป่าชุมชน
9. ประสบการณ์การจัดการป่าจากต่างประเทศ
16.00-17.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
17.00-18.00 น. - พิธีบายศรีสู่ขวัญผู้เข้าร่วมงาน และให้กำลังใจ ผู้นำชาวบ้านในขบวนการต่อสู้
- พิธีรำลึกผู้เสียสละชีวิตในขบวนการต่อสู้เพื่อป่าชุมชน
17.00- 22.00 น. คอนเสิร์ต โดย คุณสุนทรี เวชานนท์ และการแสดงพื้นบ้านจากภาคต่างๆ 7 ตุลาคม 2545
9.00-11.00 น. เวทีติดตามวิเคราะห์สถานการณ์พ.ร.บ. ป่าชุมชน
- คุณไพโรจน์ พลเพชร สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน
- คุณสุรพล ดวงแข เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทยในพระ บรมราชูปถัมภ์
- ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
- คุณมังกร ชัยชนะ ประธานองค์การบริหารส่วนตำบล ต.เชียงดาว
- คุณนิคม พุทธา ผู้ดำเนินรายการ
11.00-12.00 น. - เวทีประกาศเจตนารมย์ร่วมขององค์กรพันธมิตรและองค์กรประชาชน ต่อแนวทางจัดการทรัพยากรธรรมชาติดินน้ำป่าโดยองค์กรประชาชน
- ผู้แทนจากวุฒิสภา, สภาผู้แทนราษฎร และพรรคการเมืองทุกพรรคร่วมรับหนังสือคำประกาศเจตนารมย์จากองค์กรภาคประชาชนและองค์กรพันธมิตร
12.00 — 12..30 น. กล่าวสรุปงานโดย กำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน ประธานเครือข่ายป่าชุมชนภาคเหนือ
12.30 —13.00 น. คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กล่าวปิดงาน--จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ