กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 3 เสนอทางออกสำหรับที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนท่ามกลางสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และภัยธรรมชาติ
- หลังจากการเกิดเหตุภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือฟื้นฟูและซ่อมแซมที่อยู่อาศัยในระยะยาวถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
- องค์กรพัฒนาเอกชน, องค์กรประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ต้องทำงานร่วมกันกับภาครัฐและสถาบันทางการเงิน ในการขจัดปัญหาความยากลำบากในการกู้ซื้อบ้านของครอบครัวที่มีความยากจนที่มีอยู่ในปัจจุบัน
- ควรมีการพิจารณาการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมซึ่งมีราคาไม่สูงจนเกินไป จากที่ผ่านมาใช้ต้นอ้อให้เปลี่ยนมาเป็นเหล็ก ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
บทสรุปจาก การประชุมและนิทรรศการบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 3 ว่าด้วยการเสนอทางออกด้านนโยบายที่อยู่อาศัย, การเงิน, เทคโนโลยีที่เพื่อที่อยู่อาศัยและชุมชนอันยั่งยืน, การบรรเทาและการตอบสนองต่อภัยธรรมชาติ
นาย โจนาธาน เรคฟอร์ด ซีอีโอองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล กล่าวในระหว่างการปิดการประชุมครั้งนี้ว่า “การลดปัญหาที่อยู่อาศัยต่ำกว่ามาตรฐานและภัยจากธรรมชาติ ต้องอาศัยการบรรเทา เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ และการปรับตัว เพื่อควบคุมสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”
เมื่อเกิดภัยทางธรรมชาติ สิ่งที่มักเกิดขึ้นก่อนคือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า อย่างไรก็ตามหากไม่คำนึงถึงการช่วยเหลือฟื้นฟูในระยะยาวและการซ่อมแซมตั้งแต่แรก ก็จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างการช่วยเร่งด่วนกับการฟื้นฟูในระยะยาว ซึ่งยากแก่การดำเนินการให้ต่อเนื่องกันได้
หนึ่งในคำแนะนำของการประชุมในครั้งนี้มุ้งเน้นไปที่ การขจัดความยากลำบากในการกู้ซื้อบ้านของครอบครัวที่มีความยากจน โดยพบว่ามีอุปสรรค์ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการขาดใบรับรองจากทางการหรือประวัติเอกสารทางด้านการเงิน ซึ่งปัญหานี้ต้องอาศัยองค์กรพัฒนาเอกชน, องค์กรประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ทำงานร่วมกันกับภาครัฐและสถาบันทางการเงินเพื่อให้เกิดการแก้ไขขึ้น
“เมื่อคุณยากจน คุณไม่สามารถที่จะคิดถึงอนาคตข้างหน้าได้เลย เพราะคุณจะต้องเผชิญอยู่แต่กับการโดนฟ้องขับไล่ แต่ถ้าเมื่อใดที่คุณมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน คุณก็สามารถนึกถึงสวัสดิการต่างๆ ซึ่งเป็นของชุมชนของคุณ และถ้าเมื่อคุณได้ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย คุณก็สามารถเริ่มทำสิ่งต่างๆได้มากมาย” กล่าวโดย นาง สนอง เรื่อยสูงเนิน ผู้นำชุมชนจากอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
การประชุมในครั้งนี้ยังมีการนำเสนอวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สามารถนำมาใช้สร้างที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น ต้นอ้อหรือไม่ไผ่ และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่สามารถมาเป็นประโยชน์แก่ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ เช่น ยางรถยนต์ที่ใช้แล้ว สำหรับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการก่อสร้างได้กล่าวในการประชุมครั้งนี้ว่าองค์กรมนุษยชนทั้งหลายไม่ควรทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆกับชุมชนยากจน แต่ควรจะทำงานร่วมกันกับประชาชนในท้องถิ่น เพื่อร่วมกันค้นหทางออกที่เหมาะสมที่สุด
นายริค แฮททะเวย์ (Mr. Rick Hathaway) รองประธานองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ประกาศสถานที่ที่จะใช้จัดการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกในปีค.ศ. 2013 โดยจะจัดขึ้นที่กรุงจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย
สำหรับ การประชุมและนิทรรศการบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นโดย องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล ร่วมกับสหพันธ์สภากาชาด (IFRC) มีผู้แทนเข้าร่วมการประชุมมากกว่า 700 ท่าน โดยมีองค์กรต่างๆที่เข้าร่วมมากกว่า 220 องค์กรจาก 35 ประเทศ โดยมาจากทั้งภาครัฐและเอกชน, องค์กรพัฒนาเอกชนระดับนานาชาติและท้องถิ่น, สมาคม, องค์กรประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ในหัวข้อการประชุมว่าด้วยเรื่อง “ที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนท่ามกลางสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และภัยธรรมชาติ”
หมายเหตุ:
สี่อท่านใดสนใจเข้าร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้ หรือ ประสงค์ที่จะขอสัมภาษณ์ท่านวิทยากร หรือ ผู้ให้การสนับสนุน สามารถติดต่อ คุณแฮรอน ได้ที่ hholloway@habitat.org หรือ หมายเลขโทรศัพท์ (65) 9068 1892
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์ บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด โทรศัพท์ 02-260-5820 ต่อ 115 โทรสาร 02-260-5847-8 อีเมล์ mae@tqpr.com
ข้อมูลเกี่ยวกับ องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล
องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล เป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่ยินดีร่วมทำงานกับทุกท่านที่เสียสละ แรงกาย กำลังทรัพย์ เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยแก่ผู้ยากไร้ที่อยู่อาศัย องค์การฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 ได้ดำเนินการสร้างบ้าน ฟื้นฟู ซ่อมแซมหรือปรับปรุงบ้านมากกว่า 400,000 หลังทั่วโลก ด้วยการช่วยเหลือสร้างบ้านแบบพอเพียงและเหมาะสมแก่คนกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก องค์การฯ มีประสบการณ์ในการสร้างปรับปรุงซ่อมแซมบ้านที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยช่วยเหลือครอบครัวเกือบ 25,000 ครัวเรือน เพื่อสร้างชีวิตใหม่ให้กับครอบครัวภายหลังที่ประสบกับภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิในคาบสมุทรอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2547
เหล่าผู้ให้การสนับสนุนการประชุมบ้านและนิทรรศการบ้านและที่อยู่อาศัยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 3
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ประเทศไทย ผู้สนับสนุนหลัก พร้อมด้วยผู้ร่วมสนับสนุนมูลนิธิซิตี้และกลุ่มอดิตยา เบอร์ล่า รวมถึงผู้สนับสนุนอื่นๆ เช่น เอสซีจี, โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ ปาร์ค, ทรู วิชั่นส์, สยามซิตี้ซีเมนต์, แอมเวย์ (ประเทศไทย), อนันดาเวลลอปเม้นท์, บลูสโคป ไลสาจท์ (ประเทศไทย), ไอเอ็นทีแอล โกลบอล เคอเรนซีส์, ไรมอน แลนด์ และโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ สายการบินไทย และดีเอชแอล