กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
ประเด็นข่าว
- อินเทลก้าวนำอุตสาหกรรมอีกครั้งกับนวัตกรรมด้านการประมวลผล ด้วยการเปิดตัวอัลตร้าบุ๊ก ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกพึงพอใจกับประสบการณ์ด้านการประมวลผลที่สมบูรณ์แบบที่สุด
- โปรเซสเซอร์ “แฮสเวลล์” (Haswell) ซึ่งกินไฟต่ำกว่าเดิมกว่า 20 เท่าเมื่ออยู่ในโหมดสแตนด์บาย กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนา โดยอินเทลเตรียมเปิดตัวในปี 2556
- อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 มีสถิติการจำหน่ายที่รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ อินเทล โดยจนถึงปัจจุบันอินเทลได้มีการจำหน่ายโปรเซสเซอร์ไปแล้วกว่า 75 ล้านตัว
- อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 22 นาโนเมตร จะให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และยังมีสมรรถนะที่ดีขึ้นทั้งในด้านประหยัดพลังงาน กราฟฟิกและมีเดีย สำหรับอัลตร้าบุ๊กและพีซีที่เตรียมออกสู่ตลาดในปี 2555
- อินเทลและแมคอาฟีได้ร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นเพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลสำหรับอัลตร้าบุ๊ก ซึ่งจะมีจำหน่ายในปี 2555 คุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ในตัวเครื่องจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกมั่นใจและใช้งานได้อย่างสบายใจ
มูลี่ อีเดน รองประธานและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มผลิตภัณฑ์พีซีของอินเทล เปิดเผยว่ารูปแบบการใช้งานอุปกรณ์ประมวลผลกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง หลังจากที่บริษัทเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์ อัลตร้าบุ๊ก? ซึ่งเป็นอุปกรณ์พกพากลุ่มใหม่ล่าสุด
เพื่ออธิบายถึงนิยามของอัลตร้าบุ๊ก อินเทลเริ่มต้นจากสิ่งที่ผู้คนต้องการมากที่สุดจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประมวลผล โดยคำนึงถึงมุมมองทั้งในแง่ของความรู้สึกและในแง่ของหลักการ อัลตร้าบุ๊กได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างสรรค์และบริโภคสื่อหรือข้อมูลต่างๆ จากอุปกรณ์ที่มีรูปทรงบางเบา ด้วยดีไซน์ที่หรูหรามีระดับ และปลอดภัยต่อการใช้งาน ซึ่งให้ประสบการณ์ที่ชวนหลงไหลและตอบสนองการใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม โดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องลดลง และจะมีจำหน่ายในราคาตลาด
อีเดน กล่าวว่า “นับตั้งแต่สมัยที่อินเทลได้แนะนำเทคโนโลยี เซนทริโน กว่าแปดปีที่แล้ว เรายังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีด้านการประมวลผลครั้งไหนที่สำคัญเท่ากับครั้งนี้ ในวันนี้ อุปกรณ์ที่เราใช้ อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 เป็นตัวประมวลผล กำลังจะทำให้ผู้คนได้พบกับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ด้านการประมวลผลชนิดที่พวกเขายังไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน และเราจะไม่หยุดเพียงเท่านั้น เพราะเรารู้ดีว่าผู้คนต่างมีความต้องการและแสวงหาสิ่งที่มากกว่าจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของพวกเขา อยู่ตลอดเวลาเพื่อการสร้างสรรค์ บริโภค และแบ่งปันข้อมูล และนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงท้าทายความสามารถกับตัวเราเองและกับธุรกิจของเราด้วยการเปิดตัวอัลตร้าบุ๊ก ให้เป็นอุปกรณ์ที่ตอบสนองทุกความต้องการ มีความสมบูรณ์แบบ และน่าใช้ที่สุด”
พีซีกำลังจะมีรูปแบบการใช้งานที่เปลี่ยนไป
อัลตร้าบุ๊กรุ่นแรก ซึ่งพร้อมออกสู่ตลาดในช่วงวันหยุดปลายปี 2554 นี้ โดยจะเป็นรุ่นที่เป็นอินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น และจะมีดีไซน์ของรูปทรงที่บางเบา พร้อมใช้เกือบจะทันทีหลังออกจากการพักเครื่องในระดับที่ลึกที่สุด ซึ่งเป็นผลจากคุณสมบัติของเทคโนโลยี Intel? Rapid Start
โปรเซสเซอร์ในตระกูล อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นปีนี้ สร้างประสบการณ์ใหม่ทั้งหมดในการรับชมภาพ ซึ่งเป็นผลจากสมรรถนะที่ดีขึ้นของกราฟิกที่อยู่ในโปรเซสเซอร์ โดยอีเดนกล่าวว่า จนถึงปัจจุบัน อินเทลได้มีการจำหน่าย อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ไปแล้วกว่า 75 ล้านตัว ซึ่งนับเป็นโปรเซสเซอร์ของอินเทลที่มีสถิติการจำหน่ายที่รวดเร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา นอกจากนี้ ยังตอกย้ำให้เห็นถึงความต้องการของตลาดทั่วโลกที่ยังมีอยู่สูงมากต่ออุปกรณ์ด้านการประมวลผล ประมาณได้จากยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งล้านเครื่องต่อวัน โดยมีตลาดในแถบประเทศที่กำลังขยายตัวเป็นผู้นำการเติบโตนี้
ทั้งนี้อีเดนยังเปิดโอกาสให้ ไมโครซอฟท์* ได้แสดงระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 8* ที่ทำงานและรองรับได้หลากหลายแอพพลิเคชั่นสำหรับอัลตร้าบุ๊ก โดยทั้งอินเทลและไมโครซอฟท์ได้พูดถึงการร่วมงานกันของทั้งสองบริษัท และชี้ให้เห็นถึงโอกาสในอนาคตที่วินโดวส์ 8* จะเข้ามามีบทบาทในอุปกรณ์หลายชนิด ทั้งแท็บเบล็ต อุปกรณ์ไฮบริด และอัลตร้าบุ๊ก
อีเดน ยังกล่าวเน้นถึง “ธันเดอร์โบลท์” (Thunderbolt) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ดูอัล โปรโตคอล I/O ใหม่และมีความเร็วสูง ได้รับการออกแบบให้มีคุณสมบัติพิเศษด้านประสิทธิภาพ ใช้งานได้อย่างสะดวกสบายและคล่องตัว ธันเดอร์โบลท์ มีสมรรถนะที่ช่วยให้อุปกรณ์บันทึกและจัดเก็บสื่อข้อมูลต่างๆ ทำงานด้วยความเร็วสูง และแสดงผลบนอุปกรณ์ทั้งหลายที่เชื่อมต่อกันโดยผ่านสายเคเบิ้ลขนาดเล็กเพียงเส้นเดียว อีเดนยังได้ถือโอกาสนี้โชว์อุปกรณ์ต้นแบบที่ใช้เทคโนโลยี ธันเดอร์โบลท์ และระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ 7* ด้วย
ขุมพลังสำหรับคลื่นลูกใหม่ของอัลตร้าบุ๊ก? ในปี 2555
อีเดนได้สาธิตให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมไอดีเอฟได้ชมถึงประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ในตระกูล อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 ที่มีชื่อรหัสว่า “ไอวี่ บริดจ์” (Ivy Bridge) ซึ่งมีสมรรถนะด้านประสิทธิภาพและการประหยัดไฟ เพื่อใช้กับอัลตร้าบุ๊ก? รุ่นถัดไป ซึ่งคาดว่าจะวางจำหน่ายในครึ่งปีแรกของปี 2555 นอกจากนี้อินเทลยังได้ออกแบบกราฟิกในตัวโปรเซสเซอร์ใหม่อีกครั้ง เพื่อเปิดประสบการณ์ในการรับชมวิดีโอและการเล่นเกมส์ที่ดียิ่งขึ้น อีเดนยังได้นำดีไซน์ตัวอย่างของอัลตร้าบุ๊ก? จำนวน 6 แบบ ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้ อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 โดยอีเดนคาดว่าจะมีอุปกรณ์ดังกล่าวออกสู่ตลาดโลกอีกหลายดีไซน์ในปี 2555 นี้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้อัลตร้าบุ๊กได้อย่างมั่นใจและสบายใจ อินเทลจึงเพิ่มคุณสมบัติพิเศษในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัย อาทิเช่น เทคโนโลยี Intel? Identity Protection และ Intel Anti-Theft เพื่อป้องการการโจรกรรมข้อมูลจากเครื่อง และเพื่อเป็นการต่อยอดคุณสมบัติของระบบความปลอดภัยที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อินเทลได้ร่วมมือกับแมคอาฟี* พัฒนาบริการ McAfee anti-theft สำหรับอัลตร้าบุ๊ก? ซึ่งสามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์รุ่นถัดไปของทั้งอัลตร้าบุ๊ก โน้ตบุ๊กและเดสก์ท้อป โดยในปี 2555 โซลูชั่นแมคอาฟีจะเป็นโซลูชั่นแรกที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆที่อยู่ในตัวชิปของอินเทล และจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาข้อมูลในตัวอุปกรณ์ให้กับผู้บริโภค เช่น การล็อคอุปกรณ์ การลบข้อมูล และ การค้นหาตำแหน่ง เป็นต้น
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการท้าท้ายอุตสาหกรรมด้านการประมวลผลให้หันมาทำงานร่วมกัน เพื่อนำเสนออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บางเบาและสมบูรณ์ที่สุด อีเดนจึงได้กล่าวถึงองค์ประกอบต่างๆ ของเทคโนโลยี เช่น แผงควบคุม คียบอร์ด เทคโนโลยีแบตเตอร์รี่ รวมถึงแชสซีที่จำเป็นต้องมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของอินเทลที่มีต่ออัลตร้าบุ๊ก และในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรม อินเทลยังได้สาธิตให้เห็นถึงเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงานของแล็ปท้อปรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถควบคุมการรีเฟรชหน้าจอในระหว่างที่เปิดหน้าจอของอัลตร้าบุ๊กค้างไว้ได้ เพื่อช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยบริษัท LG Display ซึ่งเป็นผู้นำในการผลิตจอแสดงผล จะเป็นบริษัทแรกๆ ที่จะนำจอแสดงผล ประหยัดพลังงาน เพื่อใช้กับจอแสดงผลที่สามารถรีเฟรชเองได้โดยอัติโนมัติ เข้าสู่ตลาดเพื่อรองรับอัลตร้าบุ๊ก โดยใช้ Shuriken Technology* ที่ได้รับการออกแบบมาให้บางขึ้น เล็กขึ้น และประหยัดไฟมากขึ้น
มุ่งตอบสนองวิสัยทัศน์ของอัลตร้าบุ๊ก
วิสัยทัศน์ของอัลตร้าบุ๊กนั้นเป็นแผนระยะยาว และเป็นความพยายามในระดับอุตสาหกรรมโดยแบ่งการพัฒนาออกเป็นสามระยะ อีเดนกล่าวว่า ระยะที่หนึ่งนั้นเป็นการเปิดตัวอัลตร้าบุ๊กรุ่นแรกซึ่งขณะนี้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และสามารถจำหน่ายได้ตั้งแต่ช่วงเทศกาลวันหยุดปลายปีนี้เป็นต้นไป ในขณะที่ระยะที่สองจะเริ่มขึ้นด้วยการเปิดตัวของ อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 ภายในครึ่งแรกของปี 2555 ส่วนในระยะสุดท้ายนั้น จะเป็นการเปิดตัวชิป “แฮสเวลล์” (Haswell) ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 22 นาโนเมตร เพื่อตอกย้ำการเปลี่ยนแปลงจากการใช้คอมพิวเตอร์แบบเดิมมาสู่อัลตร้าบุ๊ก โดยในงานไอดีไฟครั้งนี้ อีเดนก็ได้สาธิตการใช้งาน “แฮสเวลล์” ที่สามารถรองรับการทำงานของแอพพลิเคชั่นหลากหลายชนิดได้ในเวลาเดียวกัน อินเทลเชื่อมั่นว่าอุปกรณ์ที่จะนำขุมพลังงานจากชิปในตระกูลถัดไปมาใช้ จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยคุณสมบัติด้านประหยัดพลังงานจากตัวโปรเซสเซอร์ ที่จะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สามารถแสตนด์บายได้นานกว่า 10 วัน และทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจสูงสุดกับประสบการณ์ในการประมวลผลที่สมบูรณ์แบบที่สุด
ภาพประกอบ
มูลี่ อีเดน รองประธานและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มผลิตภัณฑ์พีซีของอินเทล กล่าวถึงนโยบายของบริษัทในการผลักนวัตกรรมด้านการประมวลผลครั้งใหม่ ด้วยการเปิดตัวอัลตร้าบุ๊ก? ที่จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกพึงพอใจกับประสบการณ์ด้านการประมวลผลที่สมบูรณ์แบบที่สุด
อีเดน โชว์โปรเซสเซอร์ที่จะใช้กับอัลตร้าบุ๊กในปี 2555 ต่อผู้ร่วมงาน อินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) ซึ่งเป็น คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่นที่ 3 ของอินเทล ที่มีชื่อรหัสว่า “ไอวี่ บริดจ์”
ผู้ร่วมงาน อินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) ได้ชมอัลตร้าบุ๊กอย่างใกล้ชิด สำหรับดีไซน์ที่บางเบา หรูหรามีระดับ และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกมั่นใจเต็มที่
เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผล รวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่www.intel.com/pressroom, www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand
Intel และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์ ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ
ติดต่อ:
สุภารัตน์ โพธิวิจิตร
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทรศัพท์: (66 2) 648-6022
e-Mail: suparat.photivichit@intel.com
อรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล
บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: ochuenwiratsakul@carlbyoir.com