ระวัง! ไวรัสหลอก (Hoaxes) ออกอาละวาดช่วงเทศกาลส่งการ์อวยพรอิเล็กทรอนิกส์

ข่าวทั่วไป Tuesday December 17, 2002 11:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
งานของบุรุษไปรษณีย์ทุกวันนี้นับวันจะง่ายขึ้น เพราะอีเมล์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีแสตมป์ และส่งตู้ไปรษณีย์ เพื่อนหรือคนรักที่อยู่ห่างไกลกันไม่ต้องรอบุรุษไปรษณีย์อีกต่อไปเพราะอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมเขตแดนถึงกันและแน่นอนเมื่อเพื่อนของคุณได้รับการ์ดอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ เข้าจะต้องยินดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ก่อนที่คุณจะส่งการ์ดอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ควรจะสแกนไวรัสให้แน่ใจว่าคุณไม่เป็นตัวแพร่เชื้อไวรัสไปให้คนอื่นๆ รวมถึงเพื่อนของเพื่อนคุณที่อยู่ใน address book
Hoaxes คืออะไร มีกี่ประเภทอย่างไรก็ดี แม้ว่าในทุกๆ ปีจะมีการค้นพบไวรัสคอมพิวเตอร์หลายพันสายพันธุ์ แต่ทว่าบางตัวก็ไม่ใช่ไวรัส ตรงนี้เกิดจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ซุกซนปล่อยข่าวลือว่าเป็นไวรัส หรือในบางกรณีผู้ใช้ซุกซนเหล่านี้ก็ส่งข้อความเตือนออกไปเพื่อจงใจกวนประสาทคนอื่นๆ ซึ่งข้อความเหล่านี้นี่เองที่เรียกว่า "Hoaxes"
Hoaxes มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท บางประเภทก็อาจจะเกี่ยวข้องกับไวรัสม้าโทรจัน ซึ่งไวรัสประเภทนี้จะล่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตดาวน์โหลดไวรัสด้วยการแกล้งอำพรางตัวเป็นไฟล์อื่น เช่น หลอกกว่าเป็นไฟล์ป้องกันไวรัสเวอร์ชั่นล่าสุดหรือเป็นอัพเดตไฟล์จากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสชั้นนำ และทันทีที่ผู้ใช้เรียกไฟล์นั้นขึ้นมาไวรัสก็จะทำงานทันที แต่อย่างไรก็ดี Hoaxes ที่แท้จริงนั้นหมายถึงไวรัสที่ไม่มีอยู่จริงๆ บางคนอาจจะปล่อยข่าวลือว่ามันเป็นไวรัส ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะปล่อยข่าวลือกันทางอีเมล์ คนที่ได้รับอีเมล์นั้นก็จะส่งต่อไปให้เพื่อนๆ และคนสนิทอีกทีว่าตอนนี้กำลังมีไวรัสระบาดเพื่อให้เพื่อนๆ ป้องกันไวรัส
โดยส่วนใหญ่ Hoaxes เหล่านี้จะไม่มีอันตรายใด ยกเว้นแต่ว่าคนที่ส่งอีเมล์เตือนไวรัสมาให้นั้นจะเป็นคนที่เราไว้วางใจ และก็หวังดีอยากจะช่วยแต่สุดท้ายกลายเป็นว่าหลงกล Hoaxes เข้าให้แล้ว คือ ในบางกรณีนั้น Hoaxes สามารถก่อให้เกิดอันตรายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่อ่อนหัดได้ ตัวอย่างเช่น Hoaxes ที่ชื่อว่า "SULFNBK.EXE" หรือ "Jdbgmgr.exe" ซึ่งจะบอกให้ผู้ใช้ค้นหาไฟล์เหล่านี้และลบทิ้งเพราะเป็นไฟล์ไวรัส แต่ความจริงแล้วไฟล์เหล่านี้กลับเป็นไฟล์คอมโพเน้นท์ในวินโดวส์ อย่าเพิ่งกระจายข่าวลือทั้งที่ยังไม่ได้เช็คให้แน่ใจว่าจริงหรือไม่เทรนด์ ไมโคร เตือนผู้ใช้อีเมล์ว่าถ้าไม่แน่ใจว่าเป็น Hoaxes หรือว่าเป็นไวรัสจริงๆ กันแน่ ก็ให้สังเกตดูจากหลายๆ อย่างเช่น รายชื่อที่อยู่ในฟอร์เวิร์ดเมล์ หัวข้อเรื่องที่ใช้อักษรตัวใหญ่หมด และมีเครื่องหมาย ! (เช่น WARNING!!! VIRUS ALERT!!!) รวมถึงอีเมล์เหล่านี้จะอ้างตัวว่าส่งมาจากบริษัททางด้านไอที หรือระบบรักษาความปลอดภัยที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ทั้งนี้ บริษัทอย่างไมโครซอฟท์และไอบีเอ็ม โดยปกติแล้วจะไม่ส่งอีเมล์เตือนไวรัสในลักษณะนี้ ทำนองเดียวกัน บริษัทแอนตี้ไวรัสก็จะไม่ส่งอัพเดพไฟล์ในลักษณะไฟล์แนบไปกับอีเมล์เป็นอันขาด ให้ผู้ใช้สังเกตว่าถ้ามีคำสะกดผิด ไวยากรณ์ผิด ก็เป็นสัญญาณให้รู้แล้วว่าไม่ได้เป็นอีเมล์จากผู้ค้าชั้นนำแน่นอน
ถ้าหากคุณไม่แน่ใจว่าอีเมล์นั้นเป็นข้อความเตือนไวรัสจริงๆ หรือไม่ คุณสามารถเข้ามาตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ต่างๆ ดังนี้: CIAC Internet Hoaxes: http://hoaxbusters.ciac.org/HBMalCode.shtml
Computer Virus Myths: http://kumite.com/myths ท Trend Micro Hoax Encyclopedia: http://www.trendmicro.com/vinfo/hoaxes/hoax.asp
จำไว้ว่า ถ้าคุณไม่รู้ว่าอีเมล์นั้นส่งมาจากที่ไหนให้คุณลบอีเมล์นั้นทิ้ง หรือถ้าคุณได้ยินเสียงทัก "Hi" หรือ "How are you?" ที่ดูเหมือนจะสนิทสนมดี แต่ทว่าคุณไม่ควรเสี่ยงเปิดไฟล์เหล่านั้นเพราะไม่คุ้มกับการที่เครื่องพีซีต้องติดไวรัสเลย หรือถ้าอีเมล์นั้นมาจากเพื่อนของคุณ แต่คุณไม่แน่ใจว่าอีเมล์นั้นจะมีไวรัสหรือเปล่าก็อย่าส่งต่ออีเมล์นั้นไปให้คนอื่น
ถ้าคิดว่าคุณอาจจะติดไวรัส สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์เทรนด์ ไมโคร www.trendmicro.com
ขอขอบคุณที่กรุณาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น
ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด
โทร. 0-2439-4600 ต่อ 8300
อีเมล์ srisuput@corepeak.com-- จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ