โจทย์ที่ท้าทายในปฏิรูปการศึกษา: สอนอย่างไรให้เด็กนำไปใช้ได้จริง

ข่าวทั่วไป Tuesday September 20, 2011 15:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ก.ย.--tcels ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน แนะแนวทางปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนในงาน EDUCA 2011 จากการปฏิรูปการศึกษาที่ทั่วโลกและรวมถึงประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญ คือการเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมให้เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถสร้างและพัฒนาทักษะ ความสามารถ ตามศักยภาพของผู้เรียนเป็นอย่างบุคคล รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน อดีตหัวหน้าสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน หัวใจหลักสำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมให้เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถสร้างและพัฒนาทักษะ ความสามารถ ตามศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งการจัดการเรียนรู้นั้นต้องมีคุณค่าโดยเด็กต้องได้เนื้อหาความรู้ และสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ได้กับการปฏิบัติงานหรือในชีวิตจริง รวมทั้งทักษะสำคัญ คือ การการแก้ปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่น ? การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นความท้าทายต่อครูเป็นอย่างยิ่ง ครูจำเป็นต้องปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ซึ่งตนเองได้มีประสบการณ์ตรงในการจัดกิจกรรมพัฒนาครู โดยเฉพาะภายในงาน EDUCA หรือ งานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในครั้งที่ผ่านมา เราพบว่าครูมีความต้องการในด้าน รูปแบบ วิธี และเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างมาก แต่เดิมครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้โดย บอก บรรยาย เนื้อหาให้แก่เด็ก แต่ปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือเด็กนำเอาความรู้ไปใช้ไม่ได้ ดังนั้นรูปแบบ วิธี และเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่จะช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาทักษะ ความสามารถ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ครูต้องการมาก เช่น กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสอบ โครงงาน การแก้ปัญหา กรณีศึกษา และบทบาทสมมุติ เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีครูบางท่านสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ได้โดยไม่รู้ว่ามีงานวิจัย หรือทฤษฎีมาสนับสนุน ดังนั้นการปฏิบัตินี้ก็ไม่ยั่งยืน ? สำหรับการปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ตนเองก็มีหลักอย่างง่ายที่จะช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างประสบความเร็จ โดยครูต้องยึดหลักสามประการคือ "KNOW BE ACT" กล่าวคือ 1) KNOW : ครูต้องลุ่มลึกในเนื้อหา วิชาที่จะสอน 2) BE : ครูต้องมีคุณธรรม รักและเข้าใจเด็ก ครูต้องสามารถวิเคราะห์ และรู้ได้ว่าเด็กคนใดเป็นเด็ก เก่ง กลาง อ่อน เพื่อที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างสนองตามความแตกต่างของเด็กอย่างแท้จริง และ 3) ACT : ครูต้องรู้ศาสตร์ในการสอน สามารถที่จะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้ โดยสอดคล้องกับเนื้อหา และความแตกต่างของเด็กนักเรียนเหล่านั้น อย่างไรก็ตามในปีนี้ ตนเองและทีมงานได้เตรียมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการภายในงาน EDUCA 2011 หรืองานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 4 ณ ศูนย์ประชุมและนิทรรศการ ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคมนี้ โดยวันที่ 14 ภาคเช้า จะจัดประชุมฯ หัวข้อ "รายวิชาและกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อบริการสังคม (CAS) สอดคล้องกับสาระของโรงเรียนมาตรฐานสากล" ซึ่งในการประชุมฯ หัวข้อนี้จะให่้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้เป็นรายบุคคล โดยสร้างเป็นรายวิชา ทั้งสอดแทรกในรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม ตลอดจนหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานสากล (World Class Standard School) คือนอกเหนือจกทักษะด้านภาษาแล้ว จะสอนอย่างไรให้เด็กเกิดการพัฒนาทักษะการคิด การแก้ปัญหา กระบวนการในการเรียนรู้ ตลอดจนการบริการสังคม มีจิตเป็นสาธารณะ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน นอกจากนี้ในภาคบ่าย จะจัดประชุมฯ หัวข้อ "กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ" โดยจะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง กับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ต่างกันอย่างไร รวมถึงหลักง่ายๆ ในการวิเคราะห์เด็ก และการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเน้นเด็กเป็นสำคัญ และจะเลือกเทคนิค รูปแบบ และวิธีใดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสนองต่อความแตกต่างเป็นรายบุคคล สำหรับครูที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมประชุมฯ ได้แล้ววันนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสมัครผ่านทางเว็บไซต์ www.EducaThai.com โทร. 02-748-7007 ต่อ 134 และนอกจากนี้ยังมีการประชุมปฏิบัติการอีกหลายหัวข้อที่น่าสนใจ คลอบคลุมในทุกมิติในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ