การสัมมนาผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่องานสิทธิมนุษยชน

ข่าวทั่วไป Tuesday September 27, 2011 10:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.ย.-- ขอเชิญร่วมการสัมมนาผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่องานสิทธิมนุษยชนวันที่ 9 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ Forensic Science for Human Rights The 1st International Forensic Conference on Human Rights in Thailand 9-11 November 2011 Miracle Grand Convention Hotel ความเป็นมาของโครงการ 1. หลักการและเหตุผล สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิ ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิดมีความยั่งยืนกับบุคคลนั้น มีความเป็นสากล ไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน หรือแจกให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้ ซึ่งประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน และร่วมกันจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) ขึ้น โดยประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้น เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217A(III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 นอกจากนี้ยังมีการรับรองปฏิญญาเวียนนาและแผนปฏิบัติการ (Vienna Declaration and Programme of Action) นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติได้จัดทำคู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Handbook on National Human Rights Plans or Action) ประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ออกเสียงสนับสนุน และเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ได้บัญญัติเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในหลายมาตรา และยังจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ.2544 — 2548) และประกาศใช้กระทั่งการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 เสร็จสิ้น และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและให้มีการประกาศใช้แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2552 - 2556) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนไปสู่การปฏิบัติด้วยการแปลงแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปสู่แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง กรม แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แผนพัฒนาองค์กรชุมชน แผนพัฒนาองค์กรในระดับภูมิภาค ตลอดจนแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วจัดทำเป็นโครงการ/กิจกรรม เพื่อรองรับการดำเนินตามภารกิจแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติของกระทรวงยุติธรรม(มีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน) ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ได้มี มติให้การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของกระทรวงยุติธรรม ประจำปี พ.ศ.2554 คือโครงการจัดตั้งศูนย์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Center) เพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ โดยในปี พ.ศ.2554 จะดำเนินการในกิจกรรม คือการจัดทำฐานข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแก่เจ้าหน้าที่ในกระทรวงยุติธรรม อันนำมาสู่ความเกี่ยวข้องระหว่างสิทธิมนุษยชนกับการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ในหลายคดีซึ่งเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต้องใช้องค์ความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์ช่วยพิสูจน์ทราบ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติในเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในหลายมาตรา ยกตัวอย่างเช่น มาตรา 39 และมาตรา 40 ในเรื่องของสิทธิในกระบวนการยุติธรรม การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้งและพยานหลักฐานเพื่อผลพิสูจน์ทางคดี ปัจจุบัน สถาบันนิติวิทยาศาสตร์มีการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับกรณีสิทธิมนุษยชนหลายกรณี อาทิเช่น การพิสูจน์สารพันธุกรรมเพื่อหาความสัมพันธ์การเป็นบิดา มารดาและบุตร เพื่อรับรองสถานะทางทะเบียนแก่คนไทยผู้ยากไร้ ให้ได้รับสิทธิความเป็นคนไทย การตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆแก่ผู้ร้องทุกข์ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในหลากหลายกรณี การพิสูจน์บุคคลสูญหายและศพนิรนาม เพื่อให้ญาติผู้เสียชีวิตหรือผู้สูญหายสามารถตรวจสอบและพิสูจน์บุคคล เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชน ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนได้สามารถนำนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างเสมอภาคและต้องไม่เป็นผู้ละเมิดสิทธิของประชาชนในการปฏิบัติงานเอง จึงมีความจำเป็นในการดำเนินโครงการอบรมผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่องานสิทธิมนุษยชนขึ้น 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ 2. เสริมสร้างความร่วมมือทางด้านนิติวิทยาศาสตร์กับสิทธิมนุษยชน 3. เพื่อสนับสนุนภารกิจของกระทรวงยุติธรรมด้านสิทธิมนุษยชน 3. ระยะเวลาโครงการ วันที่ 9 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จำนวน 3 วัน 4. กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ผู้ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 300 ราย 5. วิทยากร วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศและต่างประเทศ 6. วิธีดำเนินการอบรม การบรรยาย และการเสวนา 7. สถานที่ดำเนินการ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพ 8. ผู้รับผิดชอบโครงการ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม 9. งบประมาณ งบประมาณจากเงินดอกเบี้ยกลาง กระทรวงยุติธรรม 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ประชาชนได้รับบริการทางนิติวิทยาศาสตร์ด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมตามสิทธิขั้นพื้นฐาน และสิทธิที่มนุษยชนพึ่งได้รับ 2. เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางด้านนิติวิทยาศาสตร์กับสิทธิมนุษยชนระดับประเทศ ภูมิภาค และทั่วโลก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ