อินเตอร์เฟซฟลอร์ รับรางวัลรับรองมาตรฐาน ด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มอีก 3 รางวัล

ข่าวทั่วไป Wednesday September 28, 2011 15:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--มาร์เก็ตติ้ง อินทิเกรชั่น อินเตอร์เฟซฟลอร์ (ประเทศไทย)ผู้ผลิตพรมแผ่นด้วยจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสภาวะแวดล้อมโดยโรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นโรงงานที่ได้มาตรฐานสากลสำหรับอาคารที่ออกแบบเพื่ออนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (LEED Accredited) แห่งแรกของประเทศไทย ล่าสุดได้รับการรับรองด้านการดำเนินงานเพื่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มอีก 3 รางวัลในปีนี้ พร้อมย้ำจุดยืนการเป็นโรงงานสีเขียวต้นแบบ การรับรองมาตรฐานการผลิตและประกาศเกียรติคุณที่อินเตอร์เฟซฟลอร์ (ประเทศไทย)ได้รับเพิ่มเติมในปี 2554 นี้ คือฉลากลดคาร์บอนผลิตภัณฑ์พรมแผ่นปูพื้นทุกรุ่นจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สำหรับฐานพรม Glasbac และ GlasbacRE ที่มีส่วนประกอบของวัสดุรีไซเคิลกว่า 40% ซึ่งนอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อมแล้ว ยังทำให้พรมที่ผลิตออกมามีคุณภาพและความทนทานสูงอีกด้วย ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ทำให้โรงงานของอินเตอร์เฟซฟลอร์ได้รับการยกระดับมาตรฐานสากลเอ็นเอสเอฟ 140 (NSF-140) มาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์พรมที่มีความยั่งยืนจากสถาบัน NSF International Standard/ American National Standard for Sustainability ขึ้นเป็นระดับทอง(Gold) สำหรับพรมทั้งหมดของอินเตอร์เฟซฟลอร์ด้วย ในขณะเดียวกัน อินเตอร์เฟซฟลอร์ยังได้รับฉลากสีเขียว (Green Label) จากสภาสิ่งแวดล้อมสิงคโปร์ (Singapore Environment Council) ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการให้การรับรองที่เข้มงวด โดยพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต วัสดุที่ใช้ในการผลิตพรมและฐานพรม การติดตั้ง ปริมาณมลพิษไปจนถึงการรีไซเคิลเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุการใช้งานแล้ว ซึ่งพรมของอินเตอร์เฟซฟลอร์ทุกรุ่นได้ผ่านการรับรองทั้งหมด นายสงบ อูลุง รองประธานฝ่ายปฏิบัติการประจำประเทศไทย อินเตอร์เฟซฟลอร์ กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาขั้นสุดท้าย ในการรับรองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอาคาร โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (TBCSD) ซึ่งคาดว่าจะได้รับการรับรองก่อนสิ้นปีนี้ พร้อมๆ กับ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด(มหาชน)และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศทไทย(กฟผ.) “อินเตอร์เฟซฟลอร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของการทำธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมามีบริษัทและสถาบันต่างๆ เข้าชมเยี่ยมชมโรงงานอยู่เป็นประจำ ซึ่งนอกจากพรมแผ่นของเราเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังดีต่อสุขภาพผู้ใช้งาน มีความทนทานและคุณภาพสูง การออกแบบเน้นให้ติดตั้งได้โดยเหลือเศษน้อยที่สุด และสวยงาม ปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบตลอดอายุการใช้งาน หลายๆ ธุรกิจจึงหันมาใช้พรมแผ่นของเรา โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการได้รับการรับรองเป็นธุรกิจสีเขียวเช่นเดียวกับอินเตอร์เฟซฟลอร์” สำหรับโรงงานของอินเตอร์เฟซฟลอร์ (ประเทศไทย) ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี เป็นฐานการผลิตที่มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารงานโดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของบริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งเป้าหมายเป็นบริษัทอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลกที่อุทิศตนแก่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการกำหนดภารกิจ “มิชชั่น ซีโร่ (Mission Zero)” เพื่อขจัดของเสียให้เป็นศูนย์และลดผลกระทบอันเนื่องมาจากการผลิตที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้หมดไปภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) เกี่ยวกับอินเตอร์เฟซ อิงค์ อินเตอร์เฟซ อิงค์ (IFSIA) ก่อตั้งเมื่อปี 2516 ปัจจุบันเป็นผู้นำระดับโลกด้านการออกแบบ ผลิต และจำหน่ายพรมแผ่นด้วยจิตสำนึกของการรับผิดชอบต่อสภาวะแวดล้อม ภายใต้ตราสินค้า InterfaceFLOR? สำหรับพรมที่ใช้ในสำนักงาน สถานที่สาธารณะ และองค์กรต่างๆ และ FLOR? สำหรับพรมที่ใช้ในที่พักอาศัย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ออกแบบและผลิตพรมขนห่วงรายใหญ่ภายใต้ตราสินค้า Bentley Prince Street? อีกด้วย อินเตอร์เฟซ อิงค์มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองแอตแลนต้า สหรัฐอเมริกา มีโรงงานผลิตในสี่ทวีป จัดจำหน่ายไปยัง 110 ประเทศทั่วโลก โดยในประเทศไทยมีบริษัท อินเตอร์เฟซฟลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นโรงงานที่ได้รับมาตรฐานสากลสำหรับอาคารที่ออกแบบเพื่ออนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (LEED Accredited) แห่งแรกของประเทศไทย บริษัทบริหารงานโดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และตั้งเป้าหมายเป็นบริษัทอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลกที่อุทิศตนแก่การพัฒนาแบบยั่งยืน ด้วยการกำหนดภารกิจมิชชั่น ซีโร่ (Mission Zero) เพื่อมุ่งมั่นขจัดของเสียให้เป็นศูนย์และลดผลกระทบอันเนื่องมาจากการผลิตที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมให้หมดไปภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ