ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนเผยผลวิจัยว่าเทคโนโลยีสื่อสารไอทีมีโอกาสเติบโตสูงในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย

ข่าวเทคโนโลยี Saturday October 1, 2011 10:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ต.ค.--ฟ้าอเจนซี่ ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนเผยผลวิจัยว่าเทคโนโลยีสื่อสารไอทีมีโอกาสเติบโตสูงในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซี่ยน (ASEAN Free Trade Agreement) ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนคาดการณ์เทคโนโลยีสื่อสารไอทีมีโอกาสเติบโตสูงในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยเพื่อการเติบโตสูงในอนาคต ในการยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งระหว่างประเทศ (transhipment hub) รองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซี่ยน (ASEAN Free Trade Agreement) เนื่องจากโลจิสติกส์ไทยมีอนาคตดีจากกิจกรรมของอุตสาหกรรมมีอัตราการเติบโตสูงและประเทศไทยอยู่ในทำเลที่ตั้งที่ดี แต่ทว่าต้องใช้เทคโนโลยีสื่อสารไอทีในระดับสูงเข้าช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดยในปี 2553 ตลาดขนส่งและโลจิสติกส์ (transportation & logistics market) ในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 1.95 พันล้านบาท ซึ่งถ้าประเทศไทยใช้เทคโนโลยีสื่อสารและไอที จะช่วยเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอีกมาก มร. คาวาน มุตยา หุ้นส่วนบริษัทและผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านโลจิสติกส์ ภูมิภาคอาเซียน จาก บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก กล่าวในการบรรยาย “โอกาสและความท้าทายของประเทศไทยบนเวทีโลจิสติกส์อาเซียน” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เมื่อเร็วๆ นี้ว่า การเติบโตทางด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งสถานที่ตั้งของประเทศไทยที่ดีเยี่ยม อาทิ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่เยี่ยมยอดจะส่งเสริมตำแหน่งของประเทศไทยในตลาดการขนส่งทางอากาศแห่งภูมิภาคอาเซียน ซึ่งประเทศไทยต้องใช้เทคโนโลยีสื่อสารไอทีที่ล้ำหน้า เนื่องจากประเทศไทยยังมีการใช้เทคโนโลยีสื่อสารไอทีในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในระดับต่ำด้วยอัตราที่น้อยกว่า 30% โดยเฉพาะการบริหารคลังสินค้า การใส่บาร์โค้ด (bar coding) และระบบการจัดการขนส่ง การใช้เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ RFID / ระบบป้ายสินค้าอัจฉริยะ (smart labeling system) และ GPS / ระบบติดตามยานพาหนะ (vehicle tracking system) ในอาเซียน ยังคงถูกใช้ในระดับต่ำ ซึ่งมีผู้ใช้โลจิสติกส์ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้น้อยกว่า 30 เปอร์เซนต์” นอกจากนี้ บริษัทโลจิสติกส์จากนานาชาติอาจเลือกประเทศไทยเป็นศูนย์กลางดำเนินการของภูมิภาคของพวกเขาในการให้บริการลูกค้าทางด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากบริษัทรถยนต์ต่างชาติ อาทิ เจนเนอรัล มอเตอร์ส และโตโยต้า ได้เลือกประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตแห่งภูมิภาคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มร. มุตยา ได้บรรยายในหัวข้อ “โอกาสและความท้าทายของประเทศไทยบน เวทีโลจิสติกส์ อาเซียน” ซึ่งจัดภายในงาน Thailand International Logistics Fair 2011 (TILOG 2011) ว่า การจัดจ้างบริษัทภายนอกแบบดั้งเดิม (Classic Outsourcing) อาทิ การขนส่ง, freight forwarding และคลังสินค้า เป็นสิ่งที่ต้องการมากที่สุดหลังจากการจัดทำกิจกรรมโลจิสติกส์ในปี 2554 บริการเสริมต่างๆ อาทิ การบรรจุกล่องและป้ายสินค้า (packing & labeling), reverse logistics, fleet management และ order picking ได้ถูกจัดอยู่ 1 ใน 10 อันดับของการจัดจ้างบริษัทภายนอกสำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในอาเซี่ยน” มร. มุตยา กล่าวย้ำว่า ข้อตกลงเสรีทางการค้าอาเซี่ยน (ASEAN Free Trade Agreement) มีส่วนช่วยอย่างมากในการลดข้อกีดกันและทำให้การค้าในภูมิภาคอาเซี่ยนมีอิสระมากขึ้น การให้บริการอย่างมีอิสระอยู่ในกำหนดการของอาเซี่ยนที่จะต้องบรรลุภายในต้นปี 2558 การยกระดับข้อกีดกันทางการค้าท่ามกลางประเทศสมาชิกจะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเสนอบริการครบวงจรที่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัทต่างชาติจะถูกโน้มน้าวให้ลงทุนในภูมิภาคเนื่องจากความสะดวกในการทำธุรกิจ รวมทั้งประเทศอาเซี่ยนต่างมีทำเลอนู่ในศูนย์กลางและเข้าถึงได้ง่ายจากประเทศส่งออกทั้งหมด อาทิ อินเดีย ญี่ปุ่น บัลคลาเทศ ส่งผลให้ภูมิภาคเป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์และศูนย์กลางธุรกิจ ภูมิภาคอาเซี่ยนเป็นเสมือนศูนย์กลางอำนวยให้สินค้าถูกขนย้ายจากศูนย์กลางทางเศรษฐกิจหนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ดังนั้น บทบาทของการเป็นศูนย์กลางการขนส่งระหว่างประเทศ (transhipment hub) ถูกคาดว่าจะให้โอกาสทางธุรกิจที่ดีแก่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซี่ยน มร. มุตยา กล่าวเพิ่มเติมว่า “ระบบขนส่งครบวงจรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศในอาเซี่ยนในการพิสูจน์ความสามารถทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยในการสร้างให้อาเซี่ยนเป็นตลาดเดียวที่มีการขนส่งสินค้า บริการ ทุนและแรงงานได้อย่างเสรี ซึ่งจะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในท้ายที่สุด การให้บริการที่มีประสิทธิภาพของผู้ให้บริการทางด้าน 3PL (3PL providers) ขึ้นกับโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน การสื่อสาร ท่าเรือและสนามบิน ระดับโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียนตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) แตกต่างจากสิงคโปร์ ซึ่งตั้งตำแหน่งตนเองเป็นศูนย์กลางของ supply chain management เนื่องจากครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานระดับมาตรฐานโลก ระดับปัจจุบันของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ อยู่ในระดับปานกลางถึงก้าวหน้า ส่วนประเทศเขมร เวียดนาม ลาวและพม่าอยู่ในระดับกำลังพัฒนา (underdeveloped) จากผลการสำรวจผู้ใช้ทางด้านโลจิสติกส์พบว่าเหตุผลที่ทำให้พวกเขาต้องจ้างผู้ให้บริการมากกว่าหนึ่งรายหรือเปลี่ยนผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ เนื่องจากการให้บริการที่จำกัด ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และพื้นที่การให้บริการที่จำกัด ผู้ใช้ให้คุณค่าสำคัญที่ความสะดวก มูลค่าเพิ่มของบริการโดยปราศจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น “ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ควรขยายขอบเขตการให้บริการและให้ความสำคัญอย่างมากที่คุณภาพเพื่อดึงดูดลูกค้าให้มากเพิ่มขึ้น” ยิ่งไปกว่านั้น มร. มุตยา ได้แสดงความยินดีกับบริษัททั้ง 3 ที่ชนะรางวัล Export Logistics Model Award 2011 (ELMA 2011) เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีไอทีในกระบวนการโลจิสติกส์เป็นปัจจัยหลัก ได้แก่ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จํากัด ผู้ชนะรางวัลประเภทการจัดการโลจิสติกส์ของกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (ขนาดใหญ่), บริษัท ฮาซเคม โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด ผู้ชนะรางวัลประเภทการจัดการโลจิสติกส์ของกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (SME), บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด ผู้ชนะรางวัลประเภทการจัดการโลจิสติกส์ของกลุ่มผู้ให้บริการคลังสินค้า (SME) โดยเกณฑ์การตัดสินรางวัลจากปัจจัยธุรกิจทั้ง 7 ด้าน ดังนี้ วิสัยทัศน์ (vision), ภาวะผู้นำขององค์กร (leadership organization), การวางแผนทางด้านกลยุทธ์ทางด้านโลจิสติกส์ (strategic planning in logistics), การใช้เทคโนโลยีไอทีในกระบวนการโลจิสติกส์, การให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล, กระบวนการบริหารในโลจิสติกส์, และผลทางธุรกิจในโลจิสติกส์ เขากล่าวสรุปว่า “บริษัทที่ชนะรางวัล ELMA 2011 ได้แสดงภาวะผู้นำรวมทั้งมีการใช้เทคโนโลยีสื่อสารไอทีในกลุ่มธุรกิจของเขาได้อย่างโดดเด่นและมีประสิทธิภาพ ผมมั่นใจว่ารางวัล ELMA 2011 จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของบริษัทที่ชนะให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน” About Frost & Sullivan Frost & Sullivan, the Growth Partnership Company, enables clients to accelerate growth and achieve best-in-class positions in growth, innovation and leadership. The company's Growth Partnership Service provides the CEO and the CEO's Growth Team with disciplined research and best-practice models to drive the generation, evaluation, and implementation of powerful growth strategies. Frost & Sullivan leverages 50 years of experience in partnering with Global 1000 companies, emerging businesses and the investment community from more than 40 offices on six continents. To join our Growth Partnership, please visit http://www.frost.com Media contact Ms. Sasikarn Watthanachan Corporate Communications — Thailand Email: sasikarn.watt@frost.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ คุณวรพรรณ เอื้ออาภรณ์ (coco) บจก. ฟ้าอเจนซี่ โทร 0 2616 0991-2 Fax: 0 2616 0993 email: voraparn@febi.co.th, voraparn@yahoo.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ