กรุงเทพฯ--8 ก.ค.--Thaiticketmaster
เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 4 รอบ และปีการแลกเปลี่ยน อาเซียน-ญี่ปุ่น 2003
โอเปราเด็กเรื่อง โกชนักเชลโล โดย คณะละครโอเปรา คอนยะคุสะ
โอเปร่าอันน่าอัศจรรย์จากปลายปากกาของนักประพันธ์นวนิยายแฟนตาซีผู้เป็นที่รักบทประพันธ์ดั้งเดิม โดย เคนจิ มิยาซาวะเรียบเรียง โดย ฮิคารุ ฮายาชิกำกับการแสดง โดย ทาดาชิ คาโตเสนอ โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯอุปถัมภ์ โดย Agency of Cultural Affairs of Japan, มูลนิธิญี่ปุ่น,The Nomura Cultural Foundation และ Nissho Iwai Foundationสนับสนุน โดย สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทยได้รับความร่วมมือจาก Japan Airlines
จำหน่ายบัตรที่: ศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (โทร 0-2260-8560-4)- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (โทร 0-2247-0028 ต่อ 4103)- ร้านหนังสือคิโนะ คุนิยะ สาขาอิเซตัน (โทร 0-2255-9834-6)- ยู เอฟ เอ็ม ฟูจิ ซุปเปอร์มาเก็ต สาขา 1 (โทร 0-2258-0697-9)- ยู เอฟ เอ็ม ฟูจิ ซุปเปอร์มาเก็ต สาขา 2 (โทร 0-2662-1250-5)- และที่ Thai Ticket Master ทั้ง 5 สาขา (โทร 0-2204-9999)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ โทร. 0-2260-8560-4
Official Site: http://www.jfbkk.or.th
โอเปราเด็กเรื่อง โกชนักเชลโล โดย คณะละครโอเปรา คอนยะคุสะ คณะละครโอเปรา คอนยะคุสะ กลับมากรุงเทพฯ อีกครั้งพร้อมการแสดง“โอเปราเด็กเรื่อง โกชนักเชลโล”อันเป็นเรื่องที่สร้างชื่อเสียงให้คณะของพวกเขามากที่สุด โดยจะแสดง ณหอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในวันเสาร์ที่26 และ อาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม 2546 เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 4 รอบ และเป็นการร่วมฉลอง ปีแลกเปลี่ยนอาเซียน-ญี่ปุ่น อีกด้วย
การแสดงเรื่องราวแนววิทยาศาสตร์โรแมนติก เรื่อง “เตโตหุ่นยนต์ทำขนมปัง” ของพวกเขาเมื่อเดือนเมษายน 2544 ณสถานที่เดียวกันนี้ ได้รับความชื่นชอบและเสียงหัวเราะจากผู้ชมที่เข้ามาชมอย่างมากมาย ทั้งจากเรื่องราวน่ารักและดนตรีประกอบอันมีชีวิตชีวา รวมถึงบทบรรยายภาษาไทย และมุขตลก(ภาษาไทยเช่นกัน) ที่นักแสดงปล่อยมาเป็นระยะๆ ผู้ชมต่างสนุกสนานไปกับโอเปรารูปแบบใหม่ซึ่งแต่เดิมมาจากยุโรปหากได้ถูกประยุกต์เป็นรูปแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น
“โอเปราเด็กเรื่อง โกชนักเชลโล” สร้างจากวรรณกรรมเยาวชนของ เคนจิ มิยาซาวะ นักประพันธ์ร่วมสมัยของญี่ปุ่น เนื้อหาหลักของเรื่องเกี่ยวกับการเติบโตทางบุคลิกภาพของนักดนตรีหนุ่มจากประสบการที่ได้รับจากความสัมพันธ์ฉันมิตรกับสัตว์น้อยใหญ่ต่างๆ ขณะเดียวกับที่เขาพัฒนาทักษะทางการดนตรีของตนเรื่องราวที่เข้าถึงได้ง่ายนี้ สามารถจับใจทั้งเด็ก และผู้ใหญ่อย่างเท่าเทียมกัน บทดัดแปลงของคอนยะคุสะนั้นโดดเด่นในเรื่องเพลง ซึ่งหลายท่อนถอดโดยตรงจากบทประพันธ์ดั้งเดิม มาสร้างสรรค์เป็นละครได้อย่างยอดเยี่ยม คอนยะคุสะแสดงโอเปราเรื่องนี้มากว่า 750 รอบ ในญี่ปุ่น นับตั้งแต่การแสดงรอบแรกที่โตเกียวเมื่อปี 2529 ซึ่งมีผู้เข้าชมกว่า 470,000 คน
นักแสดง 6 คน มิได้แสดงกันคนละบทบาทเท่านั้น ซึ่งก็คือ โกชวาทยากร แมวสามสี นกกาเหว่า ลูกทะนูกิ และแม่หนูนา แต่ยัง,สวมบทบาทคนเล่าเรื่อง และนักร้องประสานเสียงอีกด้วย ยิ่งกว่านั้นท่านอาจจะไม่ได้พบการแสดงโอเปราที่ไหนอีกแล้วที่ใช้เปียโนเพียงหลังเดียวบรรเลงดนตรีประกอบ ซึ่งสะดวกยิ่งนักสำหรับโรงละครขนาดเล็ก
โอเปราชุดนี้ดูเหมือนจะก้าวเกินนิยามของโอเปราแบบตะวันตกในบางประเด็น อาจเป็นเพราะบทเพลงที่ร้องเป็นภาษาญี่ปุ่นภาษาซึ่งไม่สามารถร้องเป็นโอเปราอย่างเต็มรูปแบบได้ ดังเช่นที่คณะอื่นๆ ในญี่ปุ่นซึ่งล้วนแสดงด้วยภาษาต่างประเทศ บทเพลงของโกชและลูกทะนูกิในองก์ที่สี่นั้นประพันธ์โดยใช้ท่วงทำนองพื้นบ้านของโอกินาวะ อันเป็นดินแดนทางใต้สุดของหมู่เกาะญี่ปุ่นที่มีวัฒนธรรมและจารีตเป็นของตนเอง กระนั้น การที่การแสดงชุดนี้ได้รับคำชื่นชมทั้งในเรื่องดนตรีและการแสดงจากเทศกาลละครที่เมืองอาวิญอง ในฝรั่งเศสเมื่อปี 2542 และพิสูจน์ตนเองในหมู่ผู้ชมชาวยุโรปแล้วว่าเป็นโอเปราแนวใหม่ จาก“โอเปราเด็กเรื่อง โกชนักเชลโล” เรื่องนี้เอง ท่านจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของการแสดงแบบตะวันตกที่มีเอกลักษณ์แบบญี่ปุ่น--จบ--
-สส-