ผู้ประกอบการจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศชี้ ไทยควรมีคลังสินค้าจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศเลียบลานจอดเครื่องบิน

ข่าวทั่วไป Monday December 1, 2003 13:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ธ.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
สมาคมไทยผู้ประกอบการจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศระหว่างประเทศ (TAIAEO)ชี้ชัดประเทศไทยต้องการ คลังสินค้าเลียบลานจอดเครื่องบินสำหรับการจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ
สมาคมไทยผู้ประกอบการจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทผู้ประกอบการจัดส่งพัสดุ ด่วนทางอากาศชั้นนำของโลก 4 บริษัท ได้แก่ ดีเอชแอล เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ทีเอ็นที และยูพีเอส ระบุว่าประเทศไทยต้องการระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพทัดเทียม หรือดีกว่าสนามบินชั้นนำของประเทศ เพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นฮับหลักของภูมิภาค
นายเฮอร์เบิต วงษ์ภูษณชัย ประธานสมาคมฯ กล่าวว่า "ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นศูนย์กลาง การจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ไทยมีบทบาท สำคัญทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก"
"ธุรกิจจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศในไทยมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเติบโตมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ เช่น ดีเอชแอล เฟดเด็กซ์ เอ็กซ์เพรส ทีเอ็นที และยูพีเอส ต่างเชื่อมั่นและ สนใจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในประเทศไทย" นายเฮอร์เบิต กล่าวเสริม
ธุรกิจจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศในไทยมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของ ธุรกิจนี้ทั่วโลก นายเฮอร์เบิตเชื่อว่าบรรดาผู้ประกอบการจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศจะเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริม การประกอบการธุรกิจสำคัญอื่นๆ ในประเทศให้พัฒนาต่อไป
นายเฮอร์เบิต แสดงความคิดเห็นว่า "ธุรกิจจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศนับเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในอนาคต เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการป้อนและกระจายสินค้าให้กับ อุตสาหกรรมต่างๆ อีกทั้งยังช่วยสร้างงานในภูมิภาคอีกด้วย การมีฮับเพื่อการจัดส่งสินค้าด่วนโดยเฉพาะ จะมีผลดีต่อการค้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก"
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมต่างๆ ในไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนมีความทันสมัย มีการผลิต ประกอบ และจัดส่ง สินค้าไฮเทคเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้าด่วนแบบครบวงจรเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการจัดส่งสินค้าด่วนทางอากาศนับเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ของบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ขณะนี้ สมาคมไทยผู้ประกอบการจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศระหว่างประเทศกำลังรอผลสรุปจาก บริษัท ท่าอากาศยาน ไทย ว่าคลังสินค้าเลียบลานจอดเครื่องบินสำหรับการจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศจะถูกบรรจุอยู่ในแผนโครงสร้าง พื้นฐานของสนามบินสุวรรณภูมิหรือไม่
บริการจัดส่งพัสดุด่วนนับเป็นบริการสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และเพิ่มผลผลิตของ อุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย เพราะช่วยร่นระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้า ปรับปรุงการบริการลูกค้าให้ดีขึ้น อีกทั้งทำให้การบริหารจัดการข้อมูลอุปสงค์และอุปทานเกิดความรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งเอื้อต่อการคาดการณ์ และวางแผนทางธุรกิจ
ในปี พ.ศ. 2542 อุตสาหกรรมจัดส่งพัสดุด่วนทางอากาศสร้างธุรกรรมกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ และจ้างงานกว่า 350,000 อัตรา ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.5 ของจีดีพีรวมของกลุ่มประเทศอาเซียน
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับกลุ่มอาเซียนเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยกว่าร้อยละ 14 ต่อปี และมูลค่าการจัดส่งสินค้าทางอากาศต่อกิโลกรัมก็เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ในประเทศไทย ผู้ประกอบการทั้ง 4 ราย มีการจ้างงานรวมกันกว่า 2,500 อัตรา ใช้ยานพาหนะช่วยในการขนส่ง สินค้ารวมกันกว่า 450 คัน มีศูนย์กระจายสินค้ารวมกว่า 70 แห่ง และมีปริมาณการขนส่งสินค้ารวมกันกว่า 8 ล้านชิปเม้นท์ต่อปี
"ทางสมาคมฯ กำลังวิตกเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้ว่าข้อมูลต่างๆ จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าธุรกิจจัดส่งพัสดุด่วน ทางอากาศมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศในหลายๆ อุตสาหกรรม และเป็นปัจจัยพื้นฐานของ สนามบินต่างๆ ในประเทศแถบภูมิภาคนี้ก็ตาม คลังสินค้าเลียบลานจอดเครื่องบินสำหรับการจัดส่งพัสดุด่วนทาง อากาศก็ยังไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ"
ปัจจุบัน ธุรกิจขนส่งสินค้าด่วนทางอากาศสร้างรายได้รวมกันทั่วโลกกว่า 68.8 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ จ้างงาน 790,000 อัตรา ใช้เครื่องบิน 1,534 ลำ และขนส่งสินค้า 5.1 พันล้านเที่ยวต่อปี
"นับเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยที่จะแสดงบทบาทสำคัญในฐานะหนึ่งในผู้นำด้านการขนส่งสินค้าในภูมิภาค เอเชีย เราจึงไม่ควรพลาดโอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในท่าอากาศยานและปล่อยให้เราล้าหลัง กว่าประเทศอื่นในภูมิภาค" นายเฮอร์เบิต กล่าวเสริม
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ปัณวรรธน์ คล่องนักรบ หรือ ชูจิตร ภิรมย์อรรถ
บริษัท สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
โทร. 0 2653 2717-9
แฟกซ์ 0 2653 2725
อีเมล pan@spark.co.th--จบ--
-รก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ