ทีเอ็มบี จับมือธนาคาร ING Vysya แห่งอินเดีย ตอบรับกระแสการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตอินเดียมาไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 14, 2011 17:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ต.ค.--ธนาคารทหารไทย ทีเอ็มบี จับมือธนาคาร ING Vysya แห่งอินเดียตอบรับกระแสการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตอินเดียมาไทยปล่อยสินเชื่อสนับสนุน “เอสเอ็มอาร์”บริษัทในเครือผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของอินเดียและกระจกมองหลังรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก ทีเอ็มบี ตอบรับการเติบโตของฐานการผลิตธุรกิจอินเดีย ที่เคลื่อนย้ายมาไทย โดยเฉพาะธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นที่สุด ล่าสุด จับมือธนาคาร ING Vysya แห่งอินเดีย เพื่อสนับสนุนเงินทุนระยะยาว และเงินทุนหมุนเวียน แก่ บริษัท เอสเอ็มอาร์ ออโตโมทีฟ ซีสเต็ม ประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Samvardhana Motherson Group ผู้ผลิตสายไฟรถยนต์ กระจกมองหลัง และชิ้นส่วนพลาสติกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของอินเดีย และถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตกระจกมองหลังรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก บริษัท เอสเอ็มอาร์ ออโตโมทีฟ ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงงานที่นิคมเหมราชอีสเทิร์น ซีบอร์ด จังหวัดระยอง และจะเปิดการผลิตเต็มรูปแบบในเดือนมีนาคม 2555 นายวิกรานต์ ปวโรจน์กิจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ — ลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ของ ทีเอ็มบี กล่าวว่า เพื่อตอบรับกับความต้องการทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมอินเดีย โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ ทีเอ็มบีซึ่งมีเครือข่ายความร่วมมือระดับโลกกับกลุ่มไอเอ็นจี จึงได้จับมือกับธนาคาร ING Vysya ซึ่งมีรากฐานการทำธุรกิจมายาวนาน กว่า 80 ปี มีสาขากว่า 500 สาขา และเป็นธนาคารระดับสากลแห่งแรกของอินเดีย ในการตอบสนองความต้องการด้านการเงินของลูกค้าอินเดียที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งธนาคารเชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่าง TMB กับ ING Vysya ในครั้งนี้ เป็นนิมิตหมายที่ดีของความร่วมมือกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิดในการส่งเสริมให้ลูกค้าอินเดียที่เริ่มขยายฐานธุรกิจมายังประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมายเหตุ: ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเติบโตของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ จากข้อมูลของสถานทูตอินเดียในประเทศไทย ผู้ผลิตอินเดีย มีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เข้ามาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอินเดียเป็นประเทศที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย ซึ่งสำหรับอินเดียนั้น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของอินเดียเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เป็นมูลค่ากว่า 15,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนการผลิตเครื่องยนต์และชิ้นส่วนที่ร้อยละ 31 รองลงมาเป็นชิ้นส่วนระบบส่งถ่ายกำลังและระบบพวงมาลัยร้อยละ19 และชิ้นส่วนระบบกันสะเทือนและระบบเบรกร้อยละ 12 ขณะที่มูลค่าการค้าระหว่างไทย-อินเดียในปี 2553 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 6,640 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนมาที่สุด คือ ยานยนต์ เนื่องจากประเทศไทยมีฐานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่แข็งแกร่ง ถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศและมีศักยภาพโดดเด่นในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากความได้เปรียบในเรื่องที่ตั้งเชิงภูมิศาสตร์ ผู้ผลิตยานยนต์ระดับโลกจึงมาตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในไทย ในขณะเดียวกัน ภาครัฐก็มีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ โดยกำหนดให้ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลัก 1 ใน 5 อันดับแรกของประเทศ นอกจากนี้ ทิศทางการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการผลิตรถยนต์ทั้งในและต่างประเทศก็มส่งผลโดยตรงในการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยเติบโต ทำให้แนวโน้มการลงทุนในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นอีกมากเพื่อรองรับกับการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นมากในประเทศ แนวคิด Make THE Difference แนวคิด Make THE Difference ของ TMB คือความมุ่งมั่นค้นหาความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองทางการเงินของลูกค้า และท้าทายมาตรฐานเดิมๆ ของวงการธนาคาร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง และเปลี่ยนโลกทางการเงินให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้น โดย TMB มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าประเภทต่างๆ ตามนโยบาย ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ผ่านเครือข่ายสาขารวมทั้งสิ้น 460 สาขา สำนักงานแลกเปลี่ยนเงิน 91 แห่ง เครื่องเอทีเอ็มจำนวน 2,321 เครื่อง รวมทั้งให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ (Mr. Vaughn Richtor (ขวาสุด) Chief Executive Officer, ING Asia นายวิกรานต์ ปวโรจน์กิจ (ที่ 2 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีเอ็มบี และ Mr.Bharat Garg (ที่ 2 จากขวา) Chief Financial Officer - Asia Pacific ร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนเงินทุนระยะยาวและเงินทุนหมุนเวียนระหว่าง TMB และ บจก.เอสเอ็มอาร์ ออโตโมทีฟ ซิสเต็ม (ประเทศไทย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ