กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--โรงพยาบาลนนทเวช
คนส่วนใหญ่รู้กันอยู่แล้วว่า มะเร็งเต้านม เป็นเป็นมะเร็งที่พบบ่อยอันดับ 1 ของผู้หญิงไทยและเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของผู้หญิงทั่วโลก ในปัจจุบันมีความตื่นตัวในการตรวจสุขภาพมากขึ้น ทำให้เราพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆได้เร็ว เปอร์เซนต์การรักษาหายขาดจึงมีมากขึ้นตามไปด้วย
แต่หากสาวๆคนไหนที่เป็นมะเร็งเต้านมและจะต้องได้รับการผ่าตัด”เต้านม” ส่วนสำคัญที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้หญิงนั้นทิ้งไปแล้วละก็ อาจทำให้บางคนรู้สึกว่าเป็นการสูญเสีย มีปมด้อยและขาดความมั่นใจในตัวเอง ทั้งในด้านภาพลักษณ์และความสุขในชีวิตคู่
แต่ความกังวลเหล่านั้นจะหมดไปด้วยวิวัฒนาทางการแพทย์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมขึ้นใหม่ด้วยผิวหนังและไขมันบริเวณหน้าท้อง (TRAM Flap) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ศูนย์มะเร็งเต้านม (Breast Cancer Center) โรงพยาบาลนนทเวช นำมาใช้การรักษาเพื่อช่วยให้ผู้เป็นมะเร็งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ
นพ.ชนินทร์ อภิวาณิชย์ ศัลยแพทย์ประจำศูนย์มะเร็งเต้านม โรงพยาบาลนนทเวช อธิบายว่า การผ่าตัดเต้านมเพื่อรักษาผู้ป่วยมีหลายรูปแบบ คือ
- ผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีมะเร็งเหลือที่เต้านม
- ผ่าตัดแบบเก็บรักษาเต้านม คือ ตัดก้อนมะเร็งออกไปแต่
เก็บเต้านมไว้ แต่วิธีนี้ก็ต้องทำร่วมกับการฉายรังสีที่เต้านมด้วย ฉาย
ทุกวันติดต่อกันประมาณ 5 สัปดาห์ วิธีนี้จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีเต้านมพอสมควรหรือเต้านมหย่อนคล้อย
- การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับคนที่เป็นมะเร็งเต้านม คือวิธีนี้มีมาหลายปีแล้วแต่ไม่ค่อยมีคนรู้ และไม่เป็นที่นิยมเพราะผู้ป่วยคิดว่าระยะเวลาผ่าตัดอาจต้องใช้เวลามากขึ้นหรือเปล่า มีผลข้างเคียงไหม พักฟื้นนานขึ้นหรือไม่ จริงๆแล้วเวลาผ่าตัดจะนานขึ้นกว่าเดิมไม่กี่ชั่วโมง และเวลาพักฟื้นไม่กี่วัน
การผ่าตัดเสริมเต้านมใหม่ทำอย่างไร?
ก่อนอื่นต้องตัดเนื้อเต้านมออกทั้งหมดก่อน โดยเก็บรักษาผิวหนังที่คลุมเต้านมไว้ แล้วทำการผ่าตัดโดยใช้เนื้อเยื่อของตัวเองบริเวณหน้าท้องหรือบริเวณหลังด้านข้าง มาทำเป็นเต้านมใหม่ซึ่งสามารถผ่าตัดไปพร้อมๆกับการตัดเต้านมทิ้ง แต่จะขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็งด้วย ซึ่งการผ่าตัดเสริมเต้านมสำหรับบางคนนั้นก็อาจต้องให้มะเร็งหายก่อน ซึ่งอดีตศัลยแพทย์ที่รักษามะเร็งมักจะเห็นว่า ถ้าการผ่าตัดเสริมหน้าอกทันที ไม่ควรจะทำจนกว่าคนไข้จะได้รับการฉายแสงหรือเคมีบำบัดแล้ว
แต่ปัจจุบันนี้มีการยอมรับการผ่าตัดเสริมหน้าอกทันทีมากขึ้น แพทย์ก็จะใช้การผ่าตัดครั้งเดียวกับการตัดเต้านมทิ้ง จะได้ไม่ต้องผ่าตัดสองครั้ง ไม่ต้องเจ็บปวดซ้ำ 2 หนแล้วก็ลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย
นพ.ชนินทร์ ให้ความเห็นต่อว่า “แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นมะเร็งแล้วทำไมจะต้องนึกถึงความสวยงามอีก แต่สังคมหรือคนรอบข้างมักพูดจนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า จะเก็บเต้านมไว้ทำไม? จะมีเต้านมไว้เพื่ออะไร? ซึ่งไม่เหมือนต่างประเทศที่เค้ายอมรับประเด็นนี้ ซึ่งแพทย์จะอธิบายว่ามันก็เหมือนเป็นการผ่าตัดในตำแหน่งที่คุ้นเคย เช่น ผ่าตัดคลอด ผู้หญิงจะรู้อยู่แล้วว่าผ่าตัดตรงไหน หรือบางคนมีพุง เราจะแนะนำว่าการผ่าตัดมะเร็งจะเอาเต้านมออก แล้วเอาเนื้อหน้าท้องขึ้นไปทำเต้านมให้ดูสวยงาม คนไข้จะรู้สึกดีว่าได้ลดหน้าท้องไปด้วยในตัว ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง”
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การตรวจสุขภาพ และเป็นคนช่างสังเกตดูว่าเรามีสิ่งใดผิดปกติหรือไม่ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจมะเร็งต้านมอย่างน้อย ปีละครั้งเพื่อค้นหารอยโรคซ่อนเร้น เมื่อพบสิ่งผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที
ศูนย์มะเร็งเต้านม โรงพยาบาลนนทเวช มีความพร้อมด้านการรักษาแบบวงจร โดยเป็นศูนย์รวมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเต้านม ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย รวมถึงให้คำแนะนำในการตรวจค้นหาความเสี่ยงก่อนมีความผิดปกติ การรักษาและให้คำปรึกษาเรื่องเต้านม พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม กับโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและอัลตร้าซาวด์ในราคา 2,000 บาท ตั้งแต่วันนี้ — 30 พฤศจิกายน 2554 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร Call Center 0-2596-7888