สมิติเวช เตือน 5 โรคอันตรายของผู้หญิง

ข่าวทั่วไป Thursday October 20, 2011 14:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ต.ค.--โรงพยาบาลสมิติเวช (ข้อมูลจากนิตยสาร AIGLE เดือนตุลาคม) คำพูดที่ว่า “เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก” นั้นมันไม่ผิดเลยจริงๆ มีเรื่องราวมากมายให้ต้องคิดให้ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลความเป็นอยู่ของครอบครัวแล้ว บางคนยังมีเรื่องการงานที่ต้องทำอีกด้วย ยิ่งถ้าเป็นหญิงเก่งด้วยแล้ว ต้องเหนื่อยเป็นพิเศษกว่าเดิม แต่ไม่ว่าจะเก่งกาจอย่างไรถ้าไม่ดูแลตัวเองให้ดีๆ ก็อาจลำบากมากกว่าเดิมได้ เพราะฉะนั้นควรดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดี Dr.Carebear หมอหมีใจดีตัวแทนสมิติเวชบนโลกแห่งออนไลน์ภายใต้ Facebook/drcarebear มีข้อแนะนำมาฝากคุณผู้หญิงว่า “ตามสถิติทั่วโลกแล้ว โรคอันตรายที่ผู้หญิงควรระวังนั้นมี 5 โรคด้วยกัน คือ โรคหัวใจ มะเร็งเต้านม กระดูกพรุน โรคซึมเศร้า และโรคภูมิคุ้มกัน Autoimmune ลองมาดูกันว่าแต่ละโรคมีความเสี่ยงจากอะไรและสามารถป้องกันได้อย่างไร” โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายของทั้งผู้ชายและผู้หญิงเป็นอันดับต้นๆ ในผู้หญิง โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายสูงถึง 29% ที่สำคัญคือ เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรและอาจทำให้ทุพพลภาพได้ หรือทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงได้ ส่วนใหญ่แล้วโรคหัวใจจะพบในผู้ชายได้มากกว่า แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ได้รับการตรวจรักษา หรือได้รับการตรวจวินิจฉัยช้ากว่าที่ควร อาการของโรคหัวใจในผู้หญิง อาจจะไม่ใช่แค่อาการเจ็บหน้าอก แต่บางคนมาด้วย อาการปวดที่บริเวณขากรรไกร ปวดที่บริเวณหัวไหล่ หรือมีคลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อย ซึ่งทำให้ไม่คิดว่าเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจได้แก่ ? อายุที่มากขึ้น ? เพศชาย (มักจะเกิดโรคหัวใจในช่วงอายุที่น้อยกว่า) ? พันธุกรรม ? สูบบุหรี่ ? คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ? ความดันโลหิตสูง ? ไม่ค่อยออกกำลังกาย ? นํ้าหนักเกินมาตรฐาน ? เป็นโรคเบาหวาน จากปัจจัยเสี่ยงที่พบ อาจแบ่งออกเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ และปัจจัยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นจึงควรแก้ไขในส่วนที่จัดการได้ เช่น การออกกำลังกาย การควบคุมนํ้าหนัก งดสูบบุหรี่ ควบคุมระดับไขมันในเลือด ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดสมองได้ มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง และถ้าพิจารณาจากสาเหตุการตายจากมะเร็งในผู้หญิง มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับสองรองจากมะเร็งปอด บางครั้งความวิตกกังวลว่าจะพบมะเร็งเต้านม ทำให้ผู้หญิงหลายๆ คนไม่กล้าไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ หรือเมื่อพบว่าเป็นแล้วทำให้มีการตัดสินใจในการเลือกวิธีการรักษาที่อาจจะเกินกว่าข้อบ่งชี้ตามมาตรฐาน หรืออาจจะไม่จำเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมได้แก่ ? อายุที่มากขึ้น ? พันธุกรรม เกือบ 5% ถึง 10% ของมะเร็งเต้านมสัมพันธ์กับความผิดปกติของยีน ที่รู้จักกันดีคือ ยีนที่มีชื่อ ว่า BRCA1 และ BRCA2 genes ? ประวัติในครอบครัวมีผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม ? เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน ? เคยมีประวัติการตัดเชื้อเต้านมผิดปกติ ?1เคยมีประวัติการได้รับการฉายแสงที่บริเวณหน้าอก ? เริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยกว่า 12 ปี หรือคนที่เข้าสู่วัยหมดประเดือนหลังจากอายุ 55 ปี ? หญิงที่ไม่เคยมีบุตร ? เคยได้รับยาบางอย่างเช่น diethylstilbestrol (DES) ? ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ? อ้วน ถึงแม้ว่าในครอบครัวของคุณไม่เคย มีประวัติเรื่องของมะเร็งเต้านมก็ไม่ได้ หมายความว่าคุณไม่ได้เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้น คุณควรพยายามควบคุมนํ้าหนัก ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และพบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและตรวจร่างกาย เพื่อที่จะเลือกการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมกับคุณ โรคกระดูกพรุน อาการหลังค่อม หลังงอ ปวดหลัง หรือการที่กระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติ เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในผู้หญิงสูงวัย ซึ่งภาวะนี้สามารถป้องกันได้ตั้งแต่ยังสาว เนื่องจากร่างกายจะสร้างมวลกระดูกสะสมไว้ จนกระทั่งอายุประมาณ 30 ปี และเมื่อกระดูกไม่สามารถสร้างเพิ่มขึ้นได้ การรักษามวลกระดูกที่มีอยู่ เป็นเรื่องที่จะต้องทำต่อเนื่องโดย การรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ คือประมาณ 1,000 - 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากการรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอแล้ว การออกกำลังกาย ชนิดที่ทำให้ร่างกายได้รับนํ้าหนัก เช่นการวิ่ง การเดินเร็ว ไม่มีคำว่าสายไปในการที่จะดูแลกระดูกให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการแตกหัก ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ? เพศหญิง ? อายุที่มากขึ้น ? โครงร่าง โครงกระดูกที่ค่อนข้างเล็ก ? คนเอเชียและคนขาวมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกพรุน มากกว่า ? ประวัติโรคกระดูกพรุนในครอบครัว ? การที่มีประจำเดือนไม่สมํ่าเสมอ หรือมีระดับฮอร์โมนเพศตํ่ากว่าปกติ ? การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ? การขาดสารอาหาร ? การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือยากันชัก ? การสูบบุหรี่ ? การรับประทานแอลกอฮอล์มากเกินขนาดเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงควรเริ่มทำการตรวจความหนาแน่นกระดูก โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคที่พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเกือบเท่าตัว ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นว่า ผู้หญิงต้องการสายสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ในชีวิตผู้หญิงต้องการที่พึ่งพิงทางใจ ซึ่งถ้าไม่มีที่พึ่งพิงหรือคนที่คอยเป็นกำลังใจให้ ก็จะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้บางครั้งการเปลี่ยนแปลง ของฮอร์โมน อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นต่อการเกิดภาวะนี้ โดยเฉพาะหลังคลอด หรือเมื่อเข้าช่วงวัยหมดประจำเดือน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้แก่ ? เคยมีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน ? มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า ? มีประวัติของปัญหาโรคหัวใจ ? เจ็บป่วยเรื้อรัง ? มีปัญหาในชีวิตแต่งงาน ? เคยใช้สารเสพติด ? มีการใช้ยาบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดการซึมเศร้าเช่น ยากันชัก ยาลดความดัน ? มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในชีวิต เช่น การออกจากงาน การเสียคนที่รัก ? โรคบางโรคจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่น ไทรอยด์ หรือการขาดวิตามิน ? การที่เพิ่งผ่านการเจ็บป่วยหนักร้ายแรงหรือการผ่าตัดใหญ่ ? มีประวัติการถูกทารุณในวัยเด็ก ? เป็นโรคความวิตกกังวล ? มีความผิดปกติในการรับประทานอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้า ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หากิจกรรมต่างๆ ทำ เช่น การทำงาน การเข้าสังคม การทำงานอาสา เลี้ยงสัตว์ พยายามหาเหตุผลในการที่จะลุกขึ้นทำสิ่งต่างๆ ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Autoimmune Diseases) เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย มีโรคในกลุ่มนี้มากกว่า 80 ชนิด เช่น โรค SLE โรคไทรอยด์บางชนิด เป็นต้น และที่สำคัญคือ 75% ของผู้ที่เป็นโรคกลุ่มนี้คือผู้หญิง ซึ่งโรคกลุ่มนี้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่เป็นแย่ลง สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคในกลุ่มนี้ ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยในเรื่องของ พันธุกรรม ฮอร์โมน และสิ่งแวดล้อมอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องได้ และเนื่องจากไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนที่บอกได้ ทำให้โรคในกลุ่มนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้ยาก สิ่งที่ทำได้คือหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย ควรรีบพบแพทย์ เช่น การมีผื่นผิดปกติ อาการปวดบวมของข้อ นํ้าหนักตัวที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการบวม ปัสสาวะผิดปกติไป ผมร่วง ซึ่งอาการทั้งหมดนี้ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ของร่างกายตัวเอง อย่าเพิกเฉยต่ออาการผิดปกติเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม จะได้ให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรก อ่านความรู้เพื่อเป็นแนวทางป้องกันดูแลชีวิตและสุขภาพได้ในนิตยสารรายเดือน ไอเกิล (AIGLE) หรือ www.aiglemag.com และพบบทความสุขภาพออนไลน์อีกมากมายที่ www.facebook.com/DrCareBear ไอเกิล เป็นนิตยสารรายเดือนเพื่อไลฟ์สไตล์และสุขภาพดีที่สามารถ interact กับผู้อ่านได้อย่างสนุกสนาน ท้าทาย เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายคนทำงานรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในสุขภาพ ต้องการสร้างความสมดุลของร่างกาย ความคิด อารมณ์ สังคม และจิตใจ เพื่อความอยู่ดีมีสุข หาอ่านได้ที่ สมิติเวช, Au Bon Pain, Greyhound, Absolute Yoga, True Fitness, California WOW, หมู่บ้านเครือแสนสิริ, ธ.ธนชาต, ธ.ทหารไทย และโรงแรมในเครือ Amari

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ