โซโฟสรายงาน 10 อันดับไวรัสอินเทอร์เน็ต และไวรัสหลอกในเดือน ธันวาคม 2546

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday January 7, 2004 16:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ม.ค.--โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย)
โซโฟสรายงาน 10 อันดับไวรัสอินเทอร์เน็ต และไวรัสหลอกในเดือน ธันวาคม 2546
เวิร์ม Sober ติดอันดับหนึ่งในชาร์ต อีกครั้ง กับไวรัสสายพันธุ์ใหม่
โซโฟส (Sophos) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ และสแปม ภายในองค์กรระดับโลก ได้ขึ้นบัญชีดำไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอก 10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ตที่ได้ก่อปัญหาให้แก่ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก ประจำเดือนธันวาคม 2546 ไว้ดังนี้
1. W32/Sober-C (Sober variant) 23.3%
2. W32/Mimail-K (Mimail variant) 21.3%
3. W32/Dumaru-A (Dumaru virus) 13.8%
4. W32/Mimail-J (Mimail variant) 2.7%
5. W32/Mimail-C (Mimail variant) 2.2%
6. W32/Gibe-F (Gibe variant) 1.9%
7 W32/Mimail-I (Mimail variant) 1.9%
8. W32/Klez-H (Klez variant) 1.8%
9. W32/Torvil-A (Torvil worm) 1.6%
10. W32/Mimail-F (Mimail variant) 1.6%
อื่นๆ 27.9%
คาโรล เทริโอ ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย บริษัท โซโฟส กล่าวว่า “หนอน Sober-C ซึ่งได้แพร่ทางอีเมล และกระจายเชื้อไวรัสสู่เน็ตเวิร์คต่างๆ นั้น ถึงแม้จะถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เดือนธันวาคมที่ผ่านมาก็ตาม แต่ก็ยังสามารถครองตำแหน่งเวิร์มที่ถูกพบมากที่สุดประจำเดือนธันวาคมไว้ได้ และถึงแม้ Sober-C ได้ครองอันดับหนึ่งในชาร์ต แต่ Mimail สายพันธุ์ต่างๆ ก็สร้างความปั่นป่วนไม่แพ้กัน เป็นไวรัสสายพันธุ์ที่ถูกตรวจพบบ่อยมากเป็นจำนวน 29.7% ซึ่งนับเป็นจำนวนถึงหนึ่งในสามของรายงานที่ได้รับทั้งหมด”
โซโฟส แอนตี้-ไวรัส ได้ตรวจพบไวรัสใหม่รวมถึง 730 ตัวในเดือนธันวาคมนี้ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 86,811 ตัว ที่ซอฟต์แวร์ของโซโฟสสามารถทำการปกป้องได้
เทริโอ กล่าวเสริม “หากจะว่าไปแล้ว ผู้เขียนไวรัสไม่ปล่อยช่วงเวลาเทศกาลผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์เลย เห็นได้จากตัวเลขของการรายงาน ของห้องวิจัยในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงจำนวนไวรัสใหม่มีมากกว่า 700 ตัว”
รายงานสิบดันดับไวรัสหลอกที่โซโฟสพบในเดือนธันวาคม
1. Hotmail hoax 21.7%
2. Meninas da Playboy 15.2%
3. A virtual card for you 5.9%
4. Bonsai kitten 5.3%
5. Press 9 5.2%
6. Budweiser frogs screensaver 4.9%
7. JDBGMGR 4.0%
8. Elf Bowling 3.4%
9. Bill Gates fortune 3.2%
10.Frog in a blender/Fish in a bowl 3.0%
อื่นๆ 28.2%
เทริโอ กล่าวว่า “ไวรัสหลอกประจำเทศกาล "Elf Bowling” กลับเข้าสู่ ชาร์ตอีกครั้งเดือนธันวาคม ทันเวลาพอดีกับเทศกาลคริสต์มาส ไวรัสหลอกดังกล่าวอ้างเป็นเกมโบว์ลิ่งที่ใช้ตัวเอล์ฟเป็นพินโบว์ลิ่ง โดยไวรัสดังกล่าวจะเริ่มแผลงฤทธิ์ในวันคริสต์มาส”
โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซต์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอกล่าสุด รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/virusinfo/infofeed/
ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่:
www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten
ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่
: www.sophos.com/safecomputing/
หมายเหตุ: โปรแกรมป้องกันไวรัส ฟรีสำหรับ นักข่าว สามารถหาดูรายละเอียดได้ที่ http://www.sophos.com/pressprotection
ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos:
โซโฟส เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัส และแอนตี้สแปมระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ โปรแกรมต่างๆ ของโซโฟส ได้ทำการปกป้องธุรกิจและองค์กรมากมายให้พ้นจากไวรัส และสแปม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กๆ จนถึงระดับรัฐบาล และองค์กรที่มีเครือข่ายระดับโลก โซโฟส ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมถึงความสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และปกป้ององค์กรของลูกค้าให้พ้นจากการคุกคามของไวรัสคอมพิวเตอร์ได้อย่างดีเยี่ยม โดยผลิตภัณฑ์แอนตี้-ไวรัส ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านเทคนิคแก่ลูกค้า ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com
สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ หรือ คุณสุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์ / คุณบุณฑรา วรมงคลชัย
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
Sophos Anti-Virus Asia Pte Ltd, Singapore โทร.0-2260-5820 โทรสาร.0-2260-5847 ถึง 8
Tel: +65 429 0060 Email: tqprthai@ksc9.th.com
Email: charles.cousins@sophos.com
Web Site: www.sophos.com--จบ--
-รก-

แท็ก บัญชี  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ