ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ก.ย. ลดต่ำสุดในรอบ 26 เดือน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 21, 2011 13:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนกันยายน จำนวน 708 ราย ครอบคลุม 40 กลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 90.7 ปรับลดลงจากระดับ 102.5 ในเดือนสิงหาคม ค่าดัชนีที่ปรับลดลงเกิดจากองค์ประกอบของดัชนี ด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ คือ จากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม โดยได้สร้างความเสียหายแก่เขตเศรษฐกิจสำคัญ และนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ประกอบกับถนนหลายสายมีน้ำท่วมในระดับสูงจึงเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ขนส่งสินค้า ในขณะที่ ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ได้แก่ ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ความกังวลต่อผลกระทบจากนโยบายภาครัฐ และแนวทางการฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่เสียหายหลังภาวะน้ำท่วมคลี่คลาย ส่งผลให้ค่าดัชนีปรับตัวลดลง และอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 94.0 ปรับลดลงจาก 110.0 ในเดือนสิงหาคม เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่ายอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ จะมีการปรับลดลง ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนกันยายน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวลดลง จากเดือนสิงหาคม โดย อุตสาหกรรมขนาดย่อม มีดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 86.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 95.6 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมก๊าซ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และหัตถอุตสาหกรรม ค่าดัชนีที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 94.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 106.0 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับลด ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในอนาคตในระดับที่ไม่ดี อุตสาหกรรมขนาดกลาง มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 86.6 ปรับตัวลดลงจากระดับ 102.8 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมรองเท้า อุตสาหกรรมอลูมิเนียม อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 90.2 ลดลงจากระดับ 110.7 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และการที่ค่าดัชนี อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 98.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 108.4 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า และอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า100 แสดงว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.7 ปรับลดลงจากระดับ 112.5 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และค่าดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาค ประจำเดือนกันยายน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 89.6 ปรับตัวลดลง จากระดับ 100.9 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับลดลงของ ค่าดัชนี คือ ภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัด ที่สร้างความเสียหายต่อเขตเศรษฐกิจ และมีผลกระทบ ต่อภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาแรงงาน ปัญหาการขนส่ง และความกังวลต่อแนวทางการฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายภายหลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย ซึ่งค่าดัชนีที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยา ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 94.5 ปรับลดจากระดับ 107.7 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และค่าดัชนีที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ใม่ดี ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 88.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 104.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ปัจจัยที่ผลต่อความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ คือ เหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ ที่มีต่อเนื่องหลายระลอก ส่งผลให้ผลผลิตการเกษตร และอุตสาหกรรมได้รับเสียหาย ประกอบกับความกังวลในเรื่องแนวทางการฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบภายหลังภาวะน้ำท่วมคลี่คลาย ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมสมุนไพร และอุตสาหกรรมเซรามิก ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 92.7 ปรับลดลงจากระดับ 111.5 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับลด ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 90.5 ปรับลดลงจากระดับ 99.9 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ได้แก่ ภาวะน้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ของภาค ที่สร้างความเสียหายแก่พืชผลภาคเกษตร และการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก และค่าดัชนีที่ปรับลดลงในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 88.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 113.4 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และค่าดัชนี อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 101.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 106.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ต้นทุนประกอบการ ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ได้แก่ ต้นทุนการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น และความกังวลที่มีต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีอยู่ในระดับสูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ดี สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและอุตสาหกรรมการจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.6 ปรับลดลงจากระดับ 112.5 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 86.7 โดยปรับลดลงจากระดับ 102.7 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ จากความกังวลที่มีต่อภัยธรรมชาติในหลายภาคของประเทศ และความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการปรับลดลงของค่าดัชนีฯ ซึ่งค่าดัชนีที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น อุตสาหกรรมโรงเลื่อย และโรงอบไม้ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 91.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 107.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และค่าดัชนี อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามตลาดส่งออก (กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลงทั้งในกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 92.8 ปรับลดลงจากระดับ 103.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมก๊าซ อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 95.6 ปรับลดลงจากระดับ 110.8 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และค่าดัชนี อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี และกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 84.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 98.4 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ซึ่งการที่ค่าดัชนี อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดีจากความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลก และต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 88.9ปรับลดลงจากระดับ 106.5 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ และค่าดัชนี อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับด้านสภาวะแวดล?อมในการดําเนินกิจการ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจาก สภาวะเศรษฐกิจโลกมากที่สุด รองลงมา คือ ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนตามลำดับ โดยพบว่าปัจจัยที่มีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ที่มีต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบค่อยเป็นค่อยไป และออกมาตรการลดผลกระทบสำหรับผู้ประกอบการ SMEs จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ พร้อมเร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ สนับสนุนการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศ อีกทั้งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ