เอไอเอสพร้อมป้องกันเครือข่ายจากอุทกภัยน้ำท่วม

ข่าวเทคโนโลยี Friday October 21, 2011 15:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--เอไอเอส นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวถึงแผนการดูแลเครือข่ายใน สภาวะอุทกภัยว่า “ในยามเกิดภัยพิบัติ ไม่ว่าจากภัยธรรมชาติ หรือ จากเหตุอื่นๆ สิ่งที่ตามมาคือ ความต้องการสื่อสาร เพื่อขอความช่วยเหลือ และแจ้งข่าวระหว่างกัน โครง ข่ายสื่อสารที่มีความเสถียร และพร้อมที่จะเป็นสื่อกลางเสมอ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังเช่นในเหตุอุทกภัยครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นบททดสอบสำคัญถึงความมุ่งมั่นของผู้ให้บริการที่จะพิสูจน์ ให้เห็นถึงความพร้อมดังกล่าว” “เครือข่ายและเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายได้กลายมาเป็นโครงข่ายสื่อสารหลักสำหรับ ประชาชน และหน่วยงานที่ส่งมอบความช่วยเหลือ เพราะสะดวก รวดเร็วต่อการใช้งาน เคลื่อนที่ได้ และสามารถเข้าถึงพื้นที่ภัยพิบัติได้อย่างไร้ข้อจำกัดที่สำคัญตอบสนองต่อการสื่อสารผ่าน Social Network ได้ดีที่สุด ดังจะเห็นถึงปริมาณการใช้งานทั้ง Voice และ Data ที่สูงขึ้นถึง 70% เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภัยพิบัติ” นายวิเชียรกล่าว ย้ำว่า “เอไอเอส แม้จะเป็นผู้ให้บริการเอกชน แต่ตระหนักถึง ความสำคัญของระบบสื่อสารในท่ามกลางสถานการณ์อุทกภัย จึง ได้ทุ่มเททุกสรรพกำลังอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นกำลังคนและ Solutions ต่างๆ เพื่อให้สามารถเป็นช่องทางส่งมอบความช่วยเหลือและบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันเครือข่ายและเตรียมการรองรับกรณีหากอุทกภัยส่งผลกระทบกับชุมสายและสถานีฐาน ซึ่งมีมาตรการหลัก ประกอบด้วย 1. เตรียมการป้องกันสถานีฐานและชุมสายที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม โดยการยกระดับความสูงของอุปกรณ์ ตู้คอนเทนเนอร์ การวางแนวกระสอบทรายและกำแพงกันน้ำ 2. เตรียมระบบไฟสำรอง น้ำมันและการส่งกำลังบำรุง เพื่อให้ชุมสายยังคงให้บริการ ได้ตามปกติ ในกรณีที่มีการตัดไฟจากการไฟฟ้า 3. เตรียมแผน Business Continuity Planning ในการปรับ traffic การสื่อสารไปยังชุมสายอื่นๆให้สามารถรองรับและใช้งานแทนได้ทันที กรณีหากชุมสายแห่งนั้นไม่สามารถป้องกันน้ำเข้าในพื้นที่ได้ 4. เตรียมสถานที่สำรองในกรณีเข้าปฏิบัติงานที่ศูนย์กลางการบริหารเครือข่าย ส่วนกลางไม่ได้ เพื่อให้วิศวกรสามารถดูแลเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไม่ติดขัด รวมถึงประสานกับ Supplier ผู้ผลิตอุปกรณ์ Stand by อุปกรณ์และ Spare Part เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที โดยแผนงานดังกล่าวเป็นแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน ซึ่งได้มีการซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอและนำมาปฏิบัติจริงแล้วในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงตั้งแต่เหตุอุทกภัยครั้งนี้ได้เริ่มส่งผลกระทบในพื้นที่ต่าง จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นที่ จังหวัดอุตรดิตถ์, ลพบุรี, อยุธยา เรื่อยมา ซึ่งผลกระทบหลักๆต่อเครือข่ายมือถือในกรณีน้ำท่วมจะเกิดจากสาเหตุ หลักเพียงประการเดียวคือ การตัดกระแสไฟจากการไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายแก่ประชาชน ส่วนความเสียหายของอุปกรณ์อันเกิดจากน้ำท่วม หรือ ปัญหาขัดข้องของเครือข่ายถือเป็นส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ตามแม้ % ของเครือข่ายที่มีปัญหาจะน้อยมาก แต่เอไอเอสก็ไม่เคยละเลยที่จะแก้ปัญหา ดังนั้นการเตรียมระบบไฟฟ้าสำรองและการบริหาร Traffic ของเครือข่ายข้างเคียงให้สามารถ ส่งกำลังเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยเติมเต็ม Coverage ส่วนที่หายไป รวมถึงการรักษา Coverage ในพื้นที่ยุทธศาสตร์จึงเป็นเรื่องหลักของการป้องกันเครือข่ายในสถานการณ์นี้ “ส่วนการนำ Solutions ไร้สายเข้าไปสนับสนุนในเหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. การเข้าไปในพื้นที่ศูนย์อพยพหลักๆ โดยตั้งจุดให้บริการโทรฟรี เติมเงินเคลื่อนที่ รวมถึงนำรถสถานีฐานเคลื่อนที่เข้าไปขยายความสามารถ ในการรองรับการใช้งาน 2. สนับสนุนการจัดตั้ง Call Center ให้แก่ภาครัฐเพื่อเป็นช่องทางรับเรื่อง ร้องทุกข์ 3. นำ Solutions Mobile Wall Board เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยให้อาสาสมัครใช้มือถือถ่ายวีดีโอคลิปจุดต่างๆและ เขียนข้อมูลประกอบ จากนั้นส่งผ่านเครือข่าย Data มายังศูนย์กลาง เพื่อประมวลข้อมูลและส่งต่อความช่วยเหลือ 4. สนับสนุน Data ให้แก่ Google เพื่อใช้เป็นช่อง ทางในการส่งข้อมูลจาก Application ของ Google ที่มีทั้งการแสดงข้อมูลจุดน้ำท่วม การขอความช่วยเหลือ 5. ติดตั้งเทคโนโลยี Wireless High Speed จาก Airnet ของเอไอเอส ให้แก่จุดสำคัญต่างๆที่เป็นศูนย์ ประสานงาน เช่น อยุธยาปาร์ค หรือที่อาคาร บบส. ทำให้เจ้าหน้าที่ประสานความช่วยเหลือผ่าน Wifi ทั้งบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตการโทรฟรีผ่าน VoIP 6. พัฒนาเมนู AIS Flood Relief บน โมบายไลฟ์ พอร์ทัล เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสา มารถเกาะติดสถานการณ์ข่าวสารความเคลื่อนไหวเรื่องน้ำท่วมอย่าง โดย ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยความเคลื่อนไหวของสถานการณ์น้ำที่อัพ เดทล่าสุด จากทุกแหล่งข่าว, สายด่วน&รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน, สถานที่จอดรถฟรี, ภาพวีดีโอคลิป,ข้อ มูลที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อม, ฯลฯ 7. นำ Solutions “mPABX” หรือ Mobile Public Automatic Switching Board ที่เป็นเสมือนตู้สาขาอัตโนมัติ ทำให้ เบอร์โทรศัพท์มือถือเพียง 1 เบอร์สามารถมีคู่ สายรองรับได้ตั้งแต่ 20 คู่สายขึ้นไปเข้ามาสนับสนุนหน่วยงานที่มีความต้องการใช้คู่สายโทรศัพท์จำนวนมากอย่างเร่งด่วน ดังเช่นกรณีการนำเข้าไปใช้กับรายการ โทรทัศน์ในเครือ JSL ที่จัดรายการสดและเปิดให้ประชาชน โทรเข้ามาบริจาค “นอกจากนี้การดูแลเครือข่ายและนำ Solutions เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เครือข่ายเพื่อให้สามารถเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและแก้ปัญหา ในสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้แล้ว เอไอเอสยังร่วมช่วยเหลือประชาชน ผ่านทางการบริจาคเงินมากกว่า 35 ล้านให้แก่ รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ, ส่งมอบถุงยังชีพ, กระสอบทราย, น้ำดื่ม, เรือ , จัดตั้งโรงครัวเอไอเอสที่มีพนักงานอาสาสมัครทำอาหารกล่องให้บริการ ประชาชน, สนับสนุนซิมการ์ดพร้อมค่าโทรและตัวเครื่องโทรศัพท์ให้แก่ หน่วยงานอาสาสมัครต่างๆ รวมไปถึงการดูแลลูกค้า อาทิ การเติมเงินอัตโนมัติและ เติมวันให้แก่ลูกค้าพรีเพดด้วยงบประมาณเบื้องต้นมากกว่า 30 ล้านบาท, การขยายระยะเวลาตัดสัญญาณให้แก่ลูกค้าโพสต์เพด , การช่วยเหลือระบบสื่อสารให้แก่ลูกค้าองค์กร และการสนับสนุนพาร์ทเนอร์อย่างช่องทางการจัดจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อให้ทุกๆส่วนสามารถก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน อย่างดีที่สุด” นายวิเชียร กล่าวในตอนท้าย ส่วนงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส : วราลี จิรชัยศรี โทร. 0 2299 5063 waraleej@ais.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ