กรุงเทพฯ--26 ต.ค.--พม.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งศูนย์พักพิงสำหรับผู้ประสบอุทกภัย เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร เพิ่มเติมอีก ๘๖ แห่ง ในทุกเขตพื้นที่ ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดุสิต ธัญบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บึ่งกุ่ม ประเวศ พญาไท พระโขนง พระนคร พลับพลาไชย มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง สาทร สามเสน สายไหม หนองแขม หนองจอก และเขตห้วยขวาง โดยพม.ให้การสนับสนุนที่นอนและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัยในศูนย์พักพิงทุกแห่ง
ทั้งนี้ ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง ๘๖ แห่ง มีดังนี้
๑.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา(ท้องฟ้าจำลอง) ผู้พักพิงได้จำนวน ๔๐๐ คน
๒.ศูนย์วิทยาลัยเทคโนโลยี มีนบุรีโปลีเทคนิค ผู้พักพิงได้จำนวน ๒๐๐ คน
๓.วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ผู้พักพิงได้จำนวน ๑๐๐๐ คน
๔.โรงเรียนหอวัง ผู้พักพิงได้จำนวน ๑๕๐๐ คน
๕.โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง ผู้พักพิงได้จำนวน ๓๐๐ คน
๖.โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง ผู้พักพิงได้จำนวน ๑๐๐๐ คน
๗.โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ผู้พักพิงได้จำนวน ๓๐๐ คน
๘.โรงเรียนพระหฤทัย ดอนเมือง ผู้พักพิงได้จำนวน ๑๐๐คน
๙.วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ผู้พักพิงได้จำนวน ๔๐๐ คน
๑๐.โรงเรียนราชวินิตประถม ผู้พักพิงได้จำนวน ๑๐๐ คน
๑๑.โรงเรียนทีปังกรวิทยพัฒน์ (วัดโบสถ์) ผู้พักพิงได้จำนวน ๘๐ คน
๑๒.โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย ผู้พักพิงได้จำนวน ๑๒๐๐ คน
๑๓.วิทยาลัยเทคนิคดุสิต ผู้พักพิงได้จำนวน ๑๐๐ คน
๑๔.ศูนย์นันทนาการ เซนต์คาเบรียล ผู้พักพิงได้จำนวน ๕๐๐ คน
๑๕.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา(รังสิต) ผู้พักพิงได้จำนวน ๑๐๐๐ คน
๑๖.โรงเรียนวัดอมรินทราราม ผู้พักพิงได้จำนวน ๑๐๐ คน
๑๗.โรงเรียนปริยัติธรรม ผู้พักพิงได้จำนวน ๑๕๐ คน
๑๘.โรงเรียนโฆสิตสโมสร ผู้พักพิงได้จำนวน ๒๐๐ คน
๑๙.โรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส ผู้พักพิงได้ ๓๐๐ คน
๒๐.โรงเรียนการจรัลสนิมวงศ์บริหารธุรกิจ ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๒๑.โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๒๒.วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ผู้พักพิงได้ ๕๐๐ คน
๒๓.วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ผู้พักพิงได้ ๑๐๐ คน
๒๔.วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ผู้พักพิงได้ ๕๐๐ คน
๒๕.โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้พักพิงได้ ๑,๕๐๐ คน
๒๖.โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ๓ ผู้พักพิงได้ ๙๐๐ คน
๒๗.วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ผู้พักพิงได้ ๓๐๐ คน
๒๘.วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ ผู้พักพิงได้ ๓๐๐ คน
๒๙.โรงเรียนปราโมชวิทยา รามอินทรา ผู้พักพิงได้ ๕๐๐ คน
๓๐.มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้พักพิงได้ ๓๐๐ คน
๓๑.โรงเรียนสารวิทยา ผู้พักพิงได้ ๑,๐๐๐ คน
๓๒.โรงเรียนราชวินิตบางเขน ผู้พักพิงได้ ๑,๒๐๐ คน
๓๓.โรงเรียนราชวินิตประถมบางแค ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๓๔.โรงเรียนปัญญาวรคุณ ผู้พักพิงได้ ๔๐๐ คน
๓๕.ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านลูกเสือ และยุวกาชาดฯ ผู้พักพิงได้ ๕๐๐ คน
๓๖.วิทยาลัยเทคโนโลยี กรุงธน ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๓๗.โรงเรียนราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย๒ ผู้พักพิงได้ ๙๐๐ คน
๓๘.โรงเรียนประภามนตรี ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๓๙.โรงเรียนลาซาล ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๔๐.วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม ผู้พักพิงได้ ๕๐๐ คน
๔๑.วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยาการสยามฯ ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๔๒.วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง ผู้พักพิงได้ ๑๐๐ คน
๔๓.โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ ผู้พักพิงได้ ๘๐๐ คน
๔๔.โรงเรียนชินวร ผู้พักพิงได้ ๑๐๐ คน
๔๕.โรงเรียนโสมาภาพัฒนา ผู้พักพิงได้ ๓๐๐ คน
๔๖.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ผู้พักพิงได้ ๑,๕๐๐ คน
๔๗.โรงเรียนเตรียมอุมศึกษาน้อมเกล้า ๑,๕๐๐ คน
๔๘.โรงเรียนพญาไท ผู้พักพิงได้ ๑๐๐ คน
๔๙.โรงเรียนสิริรัตนาธร ผู้พักพิงได้ ๑,๒๐๐ คน
๕๐.โรงเรียนพระโขนงวิทยาลัย ผู้พักพิงได้ ๑,๐๐๐ คน
๕๑.โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต ผู้พักพิงได้ ๑,๐๐๐ คน
๕๒.โรงเรียนสายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ ผู้พักพิงได้ ๑,๐๐๐ คน
๕๓.โรงเรียนปทุมคงคา ผู้พักพิงได้ ๑,๐๐๐ คน
๕๔.โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง ผู้พักพิงได้ ๗๐๐ คน
๕๕.วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ ผู้พักพิงได้ ๓๐๐ คน
๕๖.โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง ผู้พักพิงได้ ๑๐๐ คน
๕๗.โรงเรียนวัดพลับพลาไชย ผู้พักพิงได้ ๕๐ คน
๕๘.วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๕๙.วิทยยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๖๐.เศรษฐบุตรบำเพ็ญ ผู้พักพิงได้ ผู้พักพิงได้ ๑,๐๐๐ คน
๖๑.ประถมนนทรีวิทยา ผู้พักพิงได้ ๖๐๐ คน
๖๒.วัดช่องลม ผู้พักพิงได้ ๖๐๐ คน
๖๓.วัดด่าน ผู้พักพิงได้ ๑๕๐ คน
๖๔.วัดสุทธิวราราม ผู้พักพิงได้ ๑,๕๐๐ คน
๖๕.เจ้าพระยาวิทยาคม ผู้พักพิงได้ ๗๐๐ คน
๖๖.ยานนาเวศ ผู้พักพิงได้ ๙๐๐ คน
๖๗.สตรีศรีสุริโยทัย ผู้พักพิงได้ ๘๐๐ คน
๖๘.สันติราษฎร์วิทยาลัย ผู้พักพิงได้ ๑,๐๐๐ คน
๖๙.มักกะสันพิทยา ผู้พักพิงได้ ๕๐๐ คน
๗๐.วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๗๑.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ผู้พักพิงได้ ๒,๐๐๐ คน
๗๒.พรตพิทยพยัต ผู้พักพิงได้ ๑,๒๐๐ คน
๗๓.วิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย ผู้พักพิงได้ ๑๐๐ คน
๗๔.วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ ผู้พักพิงได้ ๑๐๐ คน
๗๕.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๗๘.ไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติ ผู้พักพิงได้ ๑๐๐ คน
๗๙.วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ผู้พักพิงได้ ๑,๐๐๐ คน
๘๐.ฤทธิยวรรณลัย ผู้พักพิงได้ ๑,๕๐๐ คน
๘๑.ฤทธิยวรรณลัย (๒) ผู้พักพิงได้ ๘๐๐คน
๘๒.ศูนย์วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ผู้พักพิงได้ ๕๐๐ คน
๘๓.มัธยมวัดหนองจอก ผู้พักพิงได้ ๑,๒๐๐ คน
๘๔.วิทยาลัยการอาชีพการจนาภิเษกหนองจอก ผู้พักพิงได้ ๑,๐๐๐ คน
๘๕.ศูนย์โรงเรียนศาสนบริหารธุรกิจ ผู้พักพิงได้ ๒๐๐ คน
๘๖.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ผู้พักพิงได้ ๑,๐๐๐ คน
สำหรับกระทรวงพม.ได้เปิดศูนย์พักพิงเพิ่มเติมโดยการเคหะแห่งชาติในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน ๖ แห่งได้แก่ ๑.การเคหะชุมชนหนองจอก รองรับได้จำนวน ๑,๒๐๐ คน ๒.การเคหะชุมชนร่มเกล้า จำนวน ๑,๕๐๐ คน ๓. การเคหะชุมชนพรพระร่วงประสิทธิ์ จำนวน ๘๖๕ คน ๔.เอื้ออาทรวัดสาขลาจ.สมุทรปราการ จำนวน ๓,๐๐๐ คน ๕.เอื้ออาทรเศรษฐกิจ ๑ จ.สมุทรสาคร จำนวน ๑,๒๐๐ คน ๖.เอื้ออาทรเศรษฐกิจ ๒ จำนวน ๓,๐๐๐ คน โดยประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถสอบถามได้ที่ พม.(ศปภ.ดอนเมือง) โทร. ๐๒ ๕๐๔ ๓๐๕๐.