กรุงเทพฯ--27 ต.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
วิเคราะห์เจาะลึกคำพิพากษาฎีกาในคดีแรงงานที่ฝ่ายนายจ้าง และ ผู้บริหารควรทำความเข้าใจ
Update and Understanding theLabor Judgment of Supreme Court
อบรมวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2554
ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4
KEEN Conference
ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค
(ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์
Rational and Significance
คำพิพากษาศาลฎีกาคดีแรงงาน หมายถึง คำพิพากษาของศาลสูงสุดของประเทศ ที่ได้ตัดสินเป็นบรรทัดฐานในปัญหาที่มีการพิพาทกัน ของคู่ความด้านแรงงาน 2 ฝ่าย ที่มีความคิดเห็นหรือมุมมอง หรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน หลังจากศาลฎีกา ได้ตรวจข้ออุทธรณ์ รวมทั้ง คำวินัจฉัยของศาลแรงงานแล้ว ศาลฎีกาก็จะทำคำวินิจฉัยเป็นคำพิพากษาสุดท้ายอีกครั้ง ซึ่งคำพิพากษาของศาลฎีกานั้น จะใช้เป็นบรรทัดฐานเทียบเคียงกับเหตุการณ์เรื่องราวที่คล้ายคลึงกันได้ในคดีที่เกิดในภายหลังได้
นั่นคือ เมื่อมีเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่เกิดเป็นข้อพิพาทเหมือนกัน กับคดีที่ศาลฎีกาเคยวางบรรทัดฐานไว้ ศาลแรงงานกลาง และ ศาลแรงงานภาค ก็จะใช้แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกา เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีความต่อไป เพียงแต่คู่ความฝ่ายที่เห็นว่า แนวคำพิพากษาฎีกาคดีเลขใด สามารถนำมาสนับสนุนกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายตนได้มากกว่า ก็จะต้องเป็นผู้กล่าวอ้าง ยกขึ้นมาให้ศาลแรงงานพิจารณา ทั้งนี้ ศาลแรงงานจะไม่ยกคำพิพากษาศาลฎีกาที่คู่ความไม่กล่าวอ้าง มาวินิจฉัยให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีแรงงาน
ดังนั้น การมาเรียนรู้และทำความเข้าใจในคำพิพากษาศาลฎีกาคดีแรงงานใหม่ล่าสุด มากกว่า 30 กิจการ ใน 52 ประเด็น จะได้ใช้เพื่อการเรียนลัดที่เกิดประโยชน์สูงในระยะเวลาอันสั้นภายในวันเดียว นับว่าเป็นการคุ้มค่าอย่างมากในการเข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ โดยไม่ต้องเป็นนักกฎหมาย ไม่เคยเรียนกฎหมายมาก่อน ก็สามารถเข้ามาร่วมการเรียนรู้ และ ทำความเข้าใจได้ โดยวิทยากรจะใช้ภาษาง่ายๆ แทนการใช้ภาษากฎหมายที่เข้าใจยากมาให้คำอธิบาย
จึงนับเป็นโอกาสอันดี ที่ท่านผู้เป็น เจ้าของสถานประกอบการ ผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล ผู้บริหารด้านแรงงานสัมพันธ์ ผู้บริหารด้านวินัย รวมทั้งผู้บังคับบัญชาในระดับต่างๆ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ในการดูแล และ บริหารงานบุคคล ควรจะต้องมาเรียนรู้กรณีศึกษาจากคำพิพากษาฎีกาต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอดในวงการแรงงานมามากกว่า 37 ปี ในการเข้าร่วมสัมมนาในหลักสูตรดังกล่าว
Training Schedule
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-16.30 น
1. ลูกจ้างงานบ้าน ที่นายจ้างเพียงให้ลูกจ้าง มาช่วยกวาดเส้นผมในร้านทำผม จะมีผลให้กลายเป็นลูกจ้างแรงงานไปเลยหรือไม่
2. หากเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างงานบ้านดังกล่าว ทำไมนายจ้างต้องจ่ายทั้งค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ยด้วย
3. ศาลฎีกาได้วางบรรทัดฐาน ความหมายของ ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม นั้น มีขอบเขตเพียงไร
4. อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ฟ้องคดี แต่ศาลฎีกาท่านพิพากษายกฟ้องของอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา แบบนี้ก็มี
5. ความเห็น และ ข้อแนะนำของนักกฎหมายที่ไม่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจริง ทำให้ฝ่ายนายจ้างแพ้คดีเป็นจำนวนมากมาแล้ว จึงเป็นเรื่องที่ต้องระวัง
6. ทำไมเบี้ยปรับ 3 เท่า ของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศ ศาลฯเห็นว่าเหมาะสม
7. ทำไมข้อสัญญาที่กำหนดให้ต้องกลับมาทำงานกับนายจ้าง เป็นเวลา 3 ปี จึงเป็นข้อสัญญา หรือ ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม
8. หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ศาลฎีกากำหนดให้ลูกจ้างต้องกลับมาทำงานกับนายจ้าง เป็นเวลานานเท่าไร จึงจะถือว่าเป็นธรรม
9. ค่าใช้จ่ายอะไร ที่ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้นำมาคิดรวม เป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมในต่างประเทศ
10. วิธีการคิดเบี้ยปรับ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกานั้น มีวิธีคิดอย่างไร
11. แม้ลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างจริง นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยชอบ ทำไมศาลฯสั่งให้จ่ายทั้งค่าชดเชย และ ค่าเสียหาย
12. การรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงาน ทำไมศาลฯไม่มีสิทธิสั่งลงโทษจำคุก
13. การกระทำของลูกจ้าง ที่เข้าไปเกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจของบริษัทลูกค้า ทำไม จึงเป็นความผิดกรณีร้ายแรง
14. การเรียกเอาผลประโยชน์จากบุคคลภายนอก หากมิได้กระทำเพื่อตนเอง จะเป็นความผิดกรณีร้ายแรงหรือไม่
15. การที่ลูกจ้าง ไม่ได้แจ้งให้นายจ้างทราบถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ที่ไปทำงานกับกิจการคู่แข่งในทางธุรกิจ ทำไมจึงมิใช่การจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
16. ในกรณีที่ลูกจ้างเอาของมีคม ขีดรถพนักงาน ในที่จอดรถของนายจ้าง เป็นความผิดกรณีร้ายแรงหรือไม่ เพราะอะไร
17. กรณีใดที่ศาลฎีกาไม่มีสิทธิเข้าไปตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการลงโทษของนายจ้าง
18. คำสั่งลงโทษที่ลูกจ้างเห็นว่าไม่ยุติธรรม ลูกจ้างไม่อุทธรณ์ตามระเบียบ แต่จะนำเรื่องไปฟ้องศาลแรงงานเลยได้หรือไม่
19. คำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ถือเป็นที่สุดนั้น ลูกจ้างไม่ยอมให้เป็นที่สุด จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานได้หรือไม่ เพียงไร
20. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม พิพากษาให้จ่ายมากกว่า 60 เท่าของค่าจ้างสุดท้าย แบบนี้ก็มีแล้ว จงอย่าประมาท
21. การนำคดีที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งนายจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาฟ้องต้องรอบคอบ มิฉะนั้น จะฟ้องอีกไม่ได้
22. การจ่ายค่าว่าความเมื่อคดีถึงที่สุด มีความหมายถึงการทำงานในขั้นตอนใดแน่
23. ค่าว่าความ เขาคิดกันอัตราเท่าไรมาเรียนรู้ได้
24. การจ่ายค่าชดเชยพิเศษ กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้งที่อื่น มีเจตนารมณ์ และ เงื่อนไขอย่างไร
25. ระเบียบกำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เกษียณอายุ ทั้งๆที่นายจ้างยังให้ทำงานอยู่ ทำไมต้องจ่ายค่าชดเชย
26. กรณีให้ทำงานต่อโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในทันที เป็นสิ่งที่กระทำได้ จะต้องเขียนอย่างไรให้รัดกุม
27. ลูกจ้างไม่มาศาลแรงงาน ทำไม ศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่ง ให้จำหน่ายคดีของลูกจ้าง ออกเสียจากสารบบความไม่ได้
28. สัญญาประนีประนอมยอมความ หากมีการผิดนัด ทำไม เรียกดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ฐานผิดนัดมิได้
29. นายจ้างจ่ายเงินเกิน ทำไม เมื่อถอนออก ลูกจ้างมีสิทธิไปแจ้งความดำเนินคดีอาญากับนายจ้างได้
30. ครูโรงเรียนเอกชนถูกเลิกจ้าง ไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ ก็สามารถใช้สิทธิไปฟ้องศาลแรงงานได้ทันที
31. กรณีใดบ้างที่ศาลฎีกายอมให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลแรงงาน
32. วิธีการของสหภาพแรงงานที่เคยใช้ได้ผล ในการป้องกันไม่ให้กรรมการสหภาพแรงงานถูกลงโทษทางวินัย ด้วยวิธีการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้าง ใช้ไม่ได้อีกต่อไป ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
33. กรรมการสหภาพแรงงานมาประชุมครบองค์ประชุม ต่างกับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8378/2550 ทำไม ศาลฎีกาท่าน ตัดสินให้ฝ่ายนายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลแรงงานก่อนได้
34. แม้ลูกจ้างไม่ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาล ทำไม ศาลฎีกาให้ลูกจ้างมีสิทธิ์นำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลที่ตนมิได้จ่าย มาเบิกเงินค่า รักษาพยาบาลกับสำนักงานประกันสังคมได้
35. ลูกจ้างผู้ประกันตน ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคมเกินหนึ่งปี ทำไมศาลฯสั่งให้ สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ประกันตน
36. กรรมการลูกจ้างมีความคิดเห็นแตกต่างจากนายจ้าง ทำไมศาลฯอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้าง กรรมการลูกจ้างได
37. ผู้บริหารที่ไม่ต้องลงเวลามาทำงาน หากนายจ้างสั่งให้ลงเวลามาทำงาน หากฝ่าฝืน ทำไมจึงเลิกจ้างได้โดยชอบ
38. ลูกจ้างดื่มสุราในขณะปฏิบัติงาน และ ในสถานที่ทำงาน ตามข้อบังคับฯระบุว่า เป็นความผิดกรณีร้ายแรง
39. ทำไมศาลฎีกาท่านว่า ไม่ใช่ความผิดกรณีร้ายแรง ทำไม กรณีร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงนั้น ต้องเป็นดุลยพินิจของศาลฎีกาเท่านั้น
40. กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้าง ต้องไปขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ ภายใน 30 วัน นับแต่วันว่างงาน หากไม่ไปขึ้นทะเบียน ทำไมไม่เสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน
41. ทนายความที่ไม่มีความรู้เรื่องคดีแรงงานเพียงพอ ทำให้ฝ่ายนายจ้างแพ้คดี และไม่สามรถฟ้องได้อีกก็เกิดขึ้นอีกแล้ว
42. การดำเนินการในศาลแรงงาน ไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ใช่กรณีที่ต้องวางเงินต่อศาลแรงงานก่อนฟ้อง
43. กรณีตกลงปรับสภาพการจ้างของลูกจ้างรายวันเป็นลูกจ้างรายเดือน ทำไมไม่ต้องนำค่าจ้างรายวัน คูณด้วย 30 เหมือนก่อน
44. หากปกติทำงานเฉลี่ยเดือนละ 22 วัน เมื่อปรับเป็นลูกจ้างรายเดือน ทำไมได้ค่าจ้างเดือนละ = 22 คูณค่าจ้างรายวันเท่านั้น
45. ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ หากไม่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่เลือก จะเบิกค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายจริงไม่ได้
46. การที่ลูกจ้าง ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินจากบุคคลภายนอก ถือว่า เป็นความคิดกรณีร้ายแรงแล้ว
47. สัญญาจ้างแรงงาน ที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนสิ้นสุดลง แม้นายจ้างไม่มีเจตนาจะว่าจ้างต่อ แต่ลืมแจ้งเลิกจ้างโดยลูกจ้างมาทำงานต่ออีก 1 วัน ทำไมถือว่า นายจ้างตกลงจ้างต่อเป็นลูกจ้างประจำ ตั้งแต่วันเริ่มจ้างครั้งแรกเสมอ
48. ค่าชดเชยที่จ่ายกรณีเลิกจ้าง หากไม่เกิน 10 เท่า และ ไม่เกิน 300,000 บาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ แม้นายจ้างหักนำส่งกรมสรรพากรไปแล้ว นายจ้างก็ต้องจ่ายเพิ่มให้ลูกจ้าง พร้อมดอกเบี้ย 15%
49. ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุ หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง ไม่ได้รับยกเว้น ต้องเสียภาษีตามปกติ เพราะเหตุใด
50. ศาลฎีกา เปลี่ยนบรรทัดฐานใหม่ กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทุกฉบับมีผลรวมไปถึง ลูกจ้างที่เข้ามา ทำงานภายหลังข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับด้วย
51. ทำไม ข้อยกเว้น ที่นายจ้างออกประกาศ เพื่อทำให้ลูกจ้างที่เข้ามาทำงานในภายหลังมีข้อตกลงร่วมฯ ไม่ได้สิทธิตาม
52. ข้อตกลงฯ ตกเป็นโมฆะแล้ว ข้อตกลงที่ฝ่ายนายจ้าง จะไม่ให้สิทธิลูกจ้างที่เข้ามาทำงานในภายหลัง ได้สิทธิตามฎีกานี้นั้น กรณีใดทำได้ ต้องเขียนข้อตกลงอย่างไร
53. ถาม — ตอบ ปัญหาข้อข้องใจ
Instructor
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน
- อาจารย์สอนปริญญาโทในวิชากฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน
- ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 45,000 คดี
- ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและกฎหมายแรงงานให้แก่กิจการภาคเอกชน
Registration Fee
ท่านละ 3,200 บาท + ภาษี 7 % = 3,424 บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238
บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
How to Apply
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231
Payment Method
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด)
Notice of Cancellation
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน
Remark
การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437