ธ.ก.ส. เดินหน้ารับจำนำข้าว แนะทำนาปีละ 2 รอบ ลดความเสี่ยงน้ำท่วม

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 27, 2011 12:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ต.ค.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง ธ.ก.ส. เดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 เผยมีผลผลิตข้าวเปลือกที่รอดพ้นจากอุทกภัยเข้าร่วมโครงการแล้ว 6.2 หมื่นตัน พร้อมเสนอแนวทางบริหารจัดการน้ำโดยการทำนาปีละ 2 รอบ เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธ.ก.ส ได้ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ซึ่งเริ่มรับจำนำตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีการเปิดจุดรับจำนำแล้วจำนวน 218 แห่ง ในพื้นที่ 33 จังหวัดโดยข้อมูลผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2554 ขณะนี้มีเกษตรกรที่นำใบประทวนสินค้ามาจัดทำสัญญากู้เงินและเบิกรับเงินกู้แล้ว จำนวน 6,856 ราย ปริมาณข้าวเปลือกจำนวน 62,042.42 ตัน คิดเป็นจำนวนเงินกู้ 918,228,210 บาท โดยราคารับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % แบ่งเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 20,000 บาท ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 18,000 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานีและข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 100 %และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5 % ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือเจ้า 10 % ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15 % ตันละ 14,200 บาท และข้าวเปลือกเจ้า 25 % ตันละ 13,800 บาท ทั้งนี้ ในช่วงเดือนตุลาคมยังมีผลผลิตข้าวเปลือกออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนัก ทำให้ปริมาณข้าวที่เกษตรกรนำมาจำนำไม่มากเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ที่เกิดขึ้นและสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่การเกษตร บริเวณที่ราบลุ่มภาคเหนือและภาคกลาง โดยการสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกข้าว จากการทำนาปีละ 3 ครั้ง ลดลงเหลือปีละ 2 ครั้ง โดยงดการทำนาในช่วงฤดูน้ำหลาก แล้วให้พื้นที่นาดังกล่าวมารองรับน้ำ และพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบางแห่งอาจปรับเปลี่ยนจากนาข้าวเป็นการปลูกพืชพลังงานทดแทน เช่น การปลูกปาล์มน้ำมัน ด้วยวิธียกร่องพ้นระดับน้ำ ซึ่งจะสามารถใช้ร่องเก็บน้ำในฤดูน้ำหลากได้ โดยมีการกำหนดมาตรการจูงใจเพื่อให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนระยะเวลาปลูกข้าว เช่น รัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินอุดหนุนแทนเกษตรกรในรูปของค่าเช่าที่นาเพื่อรองรับน้ำ การชดเชยค่าปัจจัยการ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ