กรุงเทพฯ--1 พ.ย.--คอร์ แอนด์ พีค
จากวิกฤตการณ์ภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในหลายจังหวัดขณะนี้ ส่งผลทำให้ผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมโดยเฉพาะผู้สูงอายุ อยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบันหญิงและชายสูงอายุ ส่วนใหญ่ ที่มีอายุ ตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป มีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น ซึ่งในช่วงของอุทกภัย ที่คาดว่าจะใช้ระยะเวลายาวนานหลายเดือน จะส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเกิดปัญหาทางร่างกาย ด้วยการขาดแคลเซียม อันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารน้อย และที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการหรือไม่ครบ 5 หมู่ เช่น อาหารกระป๋องหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งในช่วงน้ำท่วมผู้สูงอายุ จะเกิดอาการขาดแคลนแคลเซียม เนื่องจาก มีการกินอาการน้อย หรือกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือบางคนเมื่อน้ำท่วมบ้านหนัก ๆ ก็ไม่สามารถออกจากบ้าน พักอาศัย ได้แต่อยู่ในที่แคบ ๆ ไม่ได้โดนแดด หรือรับวิตามินดีจากแสงแดด หรือไม่มีการเดินเหินเหมือนปกติทั่วไป ผู้สูงอายุบางคนอาจเกิดอาการลื่นหกล้ม จากตะไคร่ หรือพื้นบ้านที่ลื่น ทำให้กระดูกหักตามส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดูกตามแขน ข้อมือ นิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อเท้า ขา ทั้งหมดเป็นปัญหากับผู้สูงอายุทั้งสิ้น ปัญหาของโรคกระดูกพรุน ก็จะเพิ่มขึ้นมาอีก
นพ.บุญวัฒน์ จะโนภาษ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ คลินิก ศูนย์แพทย์พัฒนา กล่าวว่า การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ อันเกิดจากพื้นไม่เรียบหรือแสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นมหันตภัยเงียบของโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยสูงอายุเหล่านี้ ไม่เคยรู้ตัวเองเลยว่าป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนมาก่อน แต่เมื่อเกิดการหักของกระดูก หรือกระดูกยุบตัว จากอุบัติเหตุ จึงได้รู้ความจริง แต่ขั้นตอนการรักษานั้นทำได้ยาก ถึงแม้จะมีหลายวิธี ที่จะทำการรักษา แต่ก็ไม่หายขาดเหมือนเก่า ซึ่งวิธีการรักษา ก็จะมีทั้งการรับยา การทานยาแคลเซียมเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูก การเข้าเฝือก การดามเหล็กหรือการฉีดซีเมนต์ เมื่อมีอาการกระดูกแตกหรือหักหรือยุบตัว
“ในช่วงภาวะน้ำท่วม ขณะนี้มีผู้สูงอายุ ได้รับอุบัติเหตุ เพิ่มสูงขึ้น บางคนถึงกับเกิดกระดูกสันหลังยุบตัว เพราะไปช่วยคนในครอบครัว ยกของหนัก เพื่อหนีน้ำ นำของขึ้นที่สูง บางคนเดินไปสะดุดล้ม หรือลื่นหกล้ม ซึ่งไม่กี่วันที่ผ่านมา มีคนไข้ที่กระดูกมือกระดูกเท้าหักและมีคนไข้ที่กระดูกหลังยุบ เนื่องจากไปช่วยลูกหลานของตัวเองยกของ ซึ่งภายในไม่กี่วันที่ผ่านมามีคนไข้ ผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนสูงขึ้น และส่วนใหญ่เป็นโรคกระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัวและไม่แสดงอาการ นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งที่น่าห่วงผู้สูงอายุในขณะนี้ก็คือควรระมัดระวัง เรื่องของการดูแลเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง เนื่องจาก บางทีเด็กเล็ก มักจะเล่นกับคุณยาย คุณย่ารุนแรง หรือ เราไปอุ้ม เขาผิดท่าผิดจังหวะบ้าง ทำให้เราบาดเจ็บผิดท่า เกิดอาการกระดูกสันหลัง ยุบตัว หรือข้อมือข้อเท้าหักได้ หรือบางครั้งคนสูงอายุชอบเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข แล้วเดินจูงไป จูงมาเกิดลื่นหรือหกล้ม ทำให้เกิดกระดูกหักได้”
สำหรับการป้องกัน และปรับพฤติกรรมของผู้สูงอายุในขณะนี้ควรจะต้องมีการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การยืดแขน ยืดขาให้สุด หลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้การทรงตัวดีขึ้น และจะต้องรับประทานอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่ ตามสูตร “ส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู” รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่นนม หรือปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว กะปิ กุ้งแห้ง หรือยาแคลเซียมที่แพทย์จ่ายให้ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนอยู่แล้ว แพทย์อาจจ่ายยาที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้ด้วย ซึ่งยาเหล่านี้ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องและอยู่ในการดูแลของแพทย์ หากผู้ป่วยไม่ได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ประสิทธิผลของยา ในการลดการหักของกระดูกไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ยังมียาอีกชนิดหนึ่งเป็นยาชนิดฉีด เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน ใช้ฉีดปีละ 1 ครั้งทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่มีปัญหารับประทานยาไม่สม่ำเสมอและผู้ป่วยที่ลำบากในการเดินทางมาตรวจกับแพทย์
สำหรับผู้หญิงที่มีสิทธิ์เป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย มีข้อบ่งชี้ว่า จะต้องหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี, ถูกตัดรังไข่ 2 ข้าง ก่อนอายุ 45 ปี , เกิดภาวะเอสโตรเจนต่ำ ก่อนหมดประจำเดือน ,มีภาวะเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขาดฮอร์โมน ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน ก่อน อายุ 60 ปี ดังนั้นการป้องกัน ดีกว่าการรักษา เพื่อที่จะไม่เกิดเหตุการณ์กระดูกหัก ต้องรู้จักป้องกัน เพื่อไม่เสียกำลังเงินและกำลังทรัพย์ ในขณะที่กำลังเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปรกติสุขในขณะนี้
สูตรสำเร็จ 3 ประการ สำหรับผู้สูงอายุ ก็คือ 1. ทุกข์... เมื่อกระดูกซึ่งเป็นโครงสร้างของร่างกาย ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม มีความโปร่งบางมากขึ้นและตัวเนื้อกระดูกก็ไม่แข็งแรงเท่าเดิม แม้สะดุดล้มเบาๆ ก็อาจเกิดกระดูกหักได้โดยง่าย โดยตำแหน่งที่มีโอกาสกระดูกหักได้บ่อย คือข้อมือ ไหล่ กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก อาจนำไปสู่ความพิการและการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น เราจึงควรเรียนรู้และรู้ทันภาวะกระดูกพรุนก่อนที่จะสายเกินไป
2. เหตุเกิดแห่งทุกข์ ... หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือชายที่มีอายุมากกว่า 60 ปี คนที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 45 กิโลกรัม ทำงานโดยไม่ได้รับแสงแดด หรือเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ หรือรับประทานทานยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์และยารักษาไทรอยด์ เหล่านี้ล้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนทั้งสิ้น และ 3.ความดับทุกข์ ... ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เพศหญิง อายุมากกว่า 60 ปี คนผิวขาวโรคทางพันธุกรรมบางโรค โรคไตวาย เหล่านี้เราไม่สามารถไปปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ แต่อย่างไรก็ตามก็มีปัจจัยหลายอย่าง ที่สามารถเข้าไปปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่
1.การทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น กะปิ กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว นมเป็นประจำ เป็นต้น
2.ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อร่างกายเบา ๆ เช่น การวิ่ง ยกน้ำหนัก รำกระบอง อย่างน้อย 20 นาทีต่อวันและการออกกำลังกายที่ช่วยการทรงตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการล้ม
3.การโดนแสงแดดอ่อน ๆ มากกว่า 15 นาทีต่อวัน ช่วยให้ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้
4.เมื่อสงสัยว่าตนเองหรือสมาชิกในบ้านมีภาวะกระดูกพรุน ควรป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม เช่นการจัดบ้านให้เรียบร้อย แสงสว่างพอเพียง ใช้พื้นที่ไม่ลื่น ระวังเรื่องน้ำที่หกบนพื้น มีราวจับช่วยการเดิน นอกจากนี้ต้องระมัดระวังการมีสัตว์เลี้ยงและเด็ก ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยเช่นกัน อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักในผู้สูงอายุ
ทางไปสู่การดับทุกข์... เมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง ควรปรึกษาแพทย์ แพทย์อาจพิจารณาการทำ X-ray หรือการวัดความหนาแน่นของกระดูก (BMD) โดยทั่วไปให้ทำในหญิงอายุมากกว่า 65 ปีและชายมากกว่า 70 ปี นอกจากมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งถ้าค่า BMD นี้น้อยกว่า -1 ถือว่ามีภาวะกระดูกบาง และถ้าต่ำกว่า -2.5 ถือว่าเป็นโรคกระดูกพรุน สมควรทำการรักษาโดยการใช้ยาลดการทำลายและเพิ่มการสร้างของกระดูก
ข้อมูลสังเขป คลินิก ศูนย์แพทย์พัฒนา
คลินิก ศูนย์แพทย์พัฒนา ซึ่งเป็นศูนย์รวมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยและบำบัดโรค ให้คำแนะนำรักษาดูแลผู้ป่วยทั่วไปและเฉพาะทางทุกสาขา ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยเป็นคลินิกที่เปิดให้บริการทางการแพทย์ให้กับประชาชาชนทั่วไป มีการบริหารจัดการโดยไม่หวังผลกำไร สามารถรับชมเว็บไซต์ ได้ที่ http://md-center.org/md/about
สอบถามละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คุณธนศักย์ อุทิศชลานนท์ ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร.02-439-4600 ต่อ 8202
อีเมล์ tanasaku@corepeak.com