วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส ภูมิใจเสนอภาพยนตร์ เรื่อง RUNAWAY JURY

ข่าวทั่วไป Friday January 16, 2004 10:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ม.ค.--วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส
RUN AWAY JURY
จากฝีมือของยอดนักเล่าเรื่อง จอห์น กริสแชม ("The Firm," "The Pelican Brief") ด้วยเรื่องราวใน RUNAWAY JURY ภาพยนตร์ตื่นเต้นลุ้นระทึกของ "ที่ปรึกษา" คณะลูกขุนทรงเกียรติผู้ไม่ยินดียินร้าย (ยีน แฮ็กแมน) ซึ่งจะไม่ยอมให้สิ่งใดมาหยุดยั้งการให้คำชี้ขาดในคดีที่โด่งดัง ซึ่งมีหลายชีวิตและเงินหลายล้านเหรียญเป็นเดิมพัน ผู้ตัดสินต้องต่อสู้อย่างดุเดือดเลือดพล่านกับสมาชิกในคณะลูกขุน (จอห์น คูแซค), หญิงสาวลึกลับ (เรเชล ไวส์) และทนายความผู้ซื่อสัตย์ (ดัสติน ฮอฟแมน) และภาพยนตร์เรื่องนี้นับเป็นการจับคู่กันเป็นครั้งแรกของดาราที่เป็นตำนานอย่าง ยีน แฮ็กแมน และดัสติน ฮอฟแมนเมื่อม่ายสาวจากนิวออร์ลีนส์ยื่นฟ้องสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ต่อศาลแพ่ง เพื่อให้รับผิดชอบต่อการถูกฆาตกรรมของสามีเธอ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของคดีหลายร้อยล้านเหรียญนั้น การฟ้องร้องดูเหมือนจะได้รับชัยชนะไปตั้งแต่ก่อนจะเริ่มเสียด้วยซ้ำไป - เมื่อดูจากการคัดตัวลูกขุนและยักย้ายถ่ายเท จนท้ายที่สุด ความพยายามที่จะ "ขโมย" ตัวลูกขุน
ตัวแทนของม่ายสาว ได้แก่ เวนแดล รอห์ (ฮอฟแมน) ทนายความชาวใต้ผู้สุภาพเรียบร้อย เปี่ยมจริยธรรม ที่เทใจให้กับคดีความของเขา และดูเหมือนว่าคู่ต่อสู้ของเขาก็คือทนายความของสถาบันการเงิน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่คอยปกป้องกลับเป็นเพียงหน่วยรบแนวหน้าของ แรนกิน ฟิตช์ (แฮ็กแมน) ลูกขุนผู้ปราดเปรื่องและไร้เมตตา
ณ กองบัญชาการไฮเทค ซึ่งตั้งอยู่ในโกดังสินค้าเก่าในเฟรนช์ ควอเตอร์ (French Quarter) เป็นที่ซึ่งฟิตช์และลูกทีมของเขาใช้ควบคุมและประเมิณผู้ที่จะเข้ามาร่วมคณะลูกขุน เขาจะเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับชีวิตคนเหล่านั้น และเป็นผู้จัดการขั้นตอนการคัดเลือกลูกขุนอย่างมีหลักการ ผลลัพธ์อันน่าพอใจก็คือคณะลูกขุนที่เหมาะสมที่สุดกับการลงคะแนนเข้าข้างลูกความของเขา
ฟิตช์และรอห์ต่างก็ตระหนักในเวลาไม่นานนัก ว่าไม่ได้มีเพียงพวกเขาที่จะมุ่งหมายจะได้ชัยชนะจากลูกขุน แต่ทว่านิค อีสเตอร์ (คูแซค)หนึ่งในคณะลูกขุนก็ดูเหมือนจะมีแผนการณ์ส่วนตัวในการที่จะมีอิทธิพลเหนือคณะลูกขุน และหญิงสาวลึกลับที่รู้จักเพียงในชื่อมาร์ลี (ไวส์) ที่ได้ติดต่อทั้งรอห์และฟิตช์เพื่อเสนอขายลูกขุนให้แก่ทั้งคู่ - และคำชี้ขาดนั้นก็ไม่ใช่ของที่มีราคาถูกๆ
ในขณะที่คดีกำลังได้รับการถกเถียงกันอยู่ในศาล เกมแมวไล่หนูที่แสนจะอันตรายก็ดำเนินไป ณ เฟรนช์ควอเตอร์ในนิวออร์ลีนส์ จรรยาบรรณของรอห์ต้องถูกทดสอบ และฟิตช์ก็สร้างสมดุลย์ด้วยการล้ำเส้นในการคัดเลือก โดยการขโมยคณะลูกขุน - อย่างไม่ใส่ใจว่าใครจะต้องเจ็บปวดจากการกระทำเช่นนั้น
ความใฝ่ฝันของผู้อำนวยการสร้าง (และผู้ก่อตั้ง Regency Enterprises) อาร์นอน มิลแคน ที่มีต่อ RUNAWAY JURY นั้นย้อนกลับไปตั้งแต่เมื่อเขาได้อ่านนิยายขายดีติดอันดับของจอห์น กริสแชม ในปี 1996 จากการที่เขาเคยสร้างหนังที่ประสบความสำเร็จสองเรื่อง ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยายของกริสแชม - "A Time to Kill" และ "The Client" - มิลแคนคิดว่า เรื่องราวที่ดึงดูดใจของ RUNAWAY JURY และพล็อตที่ทำให้ประหลาดใจ น่าจะกลายเป็นภาพยนตร์ที่ดีได้เมื่อแกรี่ เฟลเดอร์ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการสร้างหนังระทึกขวัญเรื่องฮิตของ Regency อย่าง "Don't Say a Word" ตกลงใจที่จะกำกับเรื่อง RUNAWAY JURY มิลแคนก็พร้อมที่จะเดินหน้าต่อกับการสร้างเป็นภาพยนตร์
เฟลเดอร์ชื่นชมที่ RUNAWAY JURY ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะแยกเป็นประเภทได้ "มันไม่ได้เป็นหนังดราม่าขึ้นศาล และก็ไม่ได้เป็นหนังระทึกขวัญโดยเฉพาะ" ผู้กำกับการแสดงอธิบาย "สำหรับผม สิ่งล่อลวงก็คือการเป็นหนังการปล้นในศาล; เกี่ยวกับการขโมยคณะลูกขุน
"ในหนังของเรามีหลายคนที่พยายามจะขโมยคณะลูกขุน ไม่ใช่เอาชนะ แต่ขโมยไป นั่นคือเป้าหมายของนิคและมาร์ลี ซึ่งแสดงโดยจอห์น คูแซค และเรเชล ไวส์ รวมไปถึงที่ปรึกษาลุกขุนที่ทรงอำนาจอย่างแรนกิน ฟิตช์ รับบทโดย ยีน แฮ็กแมน และสุดท้าย มันอาจเป็นเป้าหมายของเวนแดล รอห์ ทนายความผู้สุภาพ เห็นอกเห็นใจ ซึ่งรับบทโดยดัสติน ฮอฟแมน หนังการขโมยตัวในศาลนับเป็นสิ่งที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนเลย"
เฟลเดอร์และมิลแคนเป็นปลื้มกับทิศทางของเรื่อง "สำหรับเราแล้ว" เฟลเดอร์กล่าว "RUNAWAY JURY เดินเรื่องกระบวนการพิจารณาไต่สวนอันเป็นลักษณะจำเพาะของกระบวนการ ในส่วนที่น้อยกว่าแนวความคิดของการวางแผนหลอกลวง และการควบคุมคณะลูกขุน "เนื้อหาของงานจากกริสแชมเป็นเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ มันไม่ใช่เรื่องแบบเดวิด vs. โกไลแอธ; ไม่ใช่เรื่องการตกเป็นเบี้ยล่างโดยทั่วไป มันเป็นเรื่องของความคลุมเครือด้านจริยธรรมมากกว่า"
ตัวละครแรนกิน ฟิตซ์ เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่เป็นจุดขายของทีมผู้สร้าง "เขาเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับตัวเองที่ฉลาด ฉนั้นจึงเป็นคนน่าเกรงขาม" เฟลเดอร์บอก "ฟิตช์เป็นตัวละครที่ยิ่งใหญ่ เพราะเขามีจุดยืนของตนเองในด้านศีลธรรม ซึ่งบังเอิญว่าไม่ได้เป็นเหมือนของคนอื่นๆ ทั่วไป"
ความคลุมเครือของจริยธรรมในสคริปท์ก็นับเป็นแรงดึงดูดดอีกอย่าง บรรดาตัวละครของ RUNAWAY JURY นั้นไม่ได้ถูกระบายด้วยสีดำกับขาว อย่างเห็นได้ชัดในความเป็นคนดีและคนชั่ว แต่ค่อนข้างจะเป็นเฉดสีเทา "RUNAWAY JURY ท้าทายคนดูเพราะหนังไม่ได้บอกชัดเจนว่าใคร 'ดี' และใคร 'ร้าย'" เฟลเดอร์กล่าว "ฟิตช์ดูเป็นผู้ร้ายอย่างชัดแจ้ง แต่นิคและมาร์ลีก็มีส่วนในการจัดการกับลูกขุนด้วย'
สำหรับบทนิค อีสเตอร์ ลูกขุนคนหนึ่งนั้น เฟลเดอร์เห็นว่าจอห์น คูแซค เหมาะสมที่สุด "ผมมีรายชื่อนักแสดงเพียงไม่กี่คนในใจ สำหรับตัวละครที่ช่างจัดการ มีเสน่ห์ และน่าขันตัวนี้" เฟลเดอร์กล่าว และตัวเลือกคนแรกของเขาก็คือคูแซค ซึ่งเขาได้ชื่นชมผลงานมาโดยตลอด "จอห์นมีความสมดุลย์ระหว่างเสน่ห์และอารมณ์ขัน แต่ก็ยังมีความหมิ่นเหม่และด้านมืด"
การหักมุมและลดเลี้ยวของเรื่อง RUNAWAY JURY บวกกับความซับซ้อนของตัวนิค อีสเตอร์ เป็นแรงดึงดูดหลักของภาพยนตร์สำหรับคูแซค "จุดสนใจของการโน้มน้าวลูกขุนด้วยสินบนนั้นทำให้มันเป็นดราม่าที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน" คูแซคกล่าว "มันเป็นเหมือนหนังที่ต่างกันสองเรื่อง; ให้ภาพและรสชาดของความเป็นดราม่าขึ้นศาล แต่ก็ยังมีอย่างอื่นที่ดำเนินไปพร้อมกัน สำหรับผม หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องของความโลภ อุปสรรคต่อความยุติธรรม และการที่ระบบได้ถูกโกงกิน มันเป็นหนังเกี่ยวกับธรรมชาติของคนและการจัดการยักย้าย"
ความสนใจที่คูแซคมีต่อ RUNAWAY JURY ยิ่งได้รับการกระตุ้น เมื่อยีน แฮ็กแมนและดัสตินฮอฟแมนเข้าร่วมทีมนักแสดง "ผมอยากร่วมงานกับยีนและดัสตินมาตลอด" คูแซคเล่า "พวกเขาเป็นสองพระเอกในใจของผมตั้งแต่เล็กจนโต การได้ดูหนังที่พวกเขาแสดง ทำให้ผมคิดว่าผมอยากลองทำในสิ่งที่พวกเขาทำ การร่วมงานกับพวกเขาจึงน่าตื่นเต้นมาก"
หลังจากแฝงตัวเข้าร่วมในคณะลูกขุนแล้ว นิค อีสเตอร์ ตัวละครของคูแซคก็ค่อยๆ ผุดความเป็นกองหลังของคณะลูกขุนออกมา อย่างที่คูแซคอธิบายว่า "เขาเป็นเหมือนหลอดที่ใช้คนเครื่องดื่ม ระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกคณะลูกขุน นิคพยายามจะ 'อ่าน' ลุกขุนคนอื่นๆ และประเมิณว่าความเวทนาของพวกเขาอยู่ตรงไหน เขาต้องเกณฑ์ลูกขุนให้เข้ากับเขาโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ว่ากำลังถูกเกณฑ์ เขาต้องเป็นตุลาการเจ้าเล่ห์ของธรรมชาติมนุษย์ บางขณะเราอาจคิดว่าเขาเป็นนักต้มตุ๋นคนอื่น แต่พอดูอีกทีอาจกลายเป็นอะไรที่แตกต่างที่กำลังดำเนินไป"
ส่วนการแสดงเป็นศัตรูที่น่าเกรงขามของนิค อย่างที่ปรึกษาคณะลูกขุน แรนกิน ฟิตช์ นั้น เฟลเดอร์มองไม่เห็นเป็นใครอื่นนอกจาก ยีน แฮ็กแมน "ยีนสามารถแสดงบทตัวร้าย โดยทำให้คนดูเข้าใจมุมมองของเขา" เฟลเดอร์กล่าว "ยีนและผมอยากให้คนดูมองฟิตช์เป็นคนที่ไม่ได้ร้ายเพียงเพราะว่านั่นคือสิ่งที่เขาเป็น แต่มองว่าเป็นคนที่ถูกกระตุ้นให้ทำอย่างที่เขาทำ ฟิตช์ไม่เชื่อถือในระบบคณะลูกขุน เขาไม่คิดว่าลูกขุนแต่ละคนควรได้รับสิทธินั้น อภิสิทธิ์และอำนาจที่จะตัดสินเรื่องราวที่เป็นมาก่อน"
เฟลเดอร์และแฮ็กแมนได้จัดทำแผนงานสื่อสารที่รวบรัดขึ้นมา "ผมบอกยีนว่าผมมองภาพฟิตช์เคลื่อนไหวเหมือนฉลามร้าย เขาปราดเปรียว เพรียวลม และแม่นยำ" เฟลเดอร์เล่า "เขาเข้าใจ และนั่นคือเหตุผลที่ว่าในฉากเริ่มต้นของเขา ตอนที่เขาเดินเข้ามาในห้องบัญชาการของเขากับอาแมนด้า ผู้ช่วยสาวของเขา และได้ยินว่าลูกจ้างคนหนึ่งของเขามาสายเพราะพลาดการเปลี่ยนเครื่องบิน ฟิตช์พูดว่า 'ดี งั้นหาคนมาแทนเขา' โดยทันทีประโยคนั้นทำให้ตัวละครของเขากลายเป็นคนที่ไม่ยอมทนกับความไม่เป็นมืออาชีพ หรือคนที่ไม่ฉลาด"
(ยังมีต่อ)
-รก-

แท็ก ภาพยนตร์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ