ผลสำรวจไอบีเอ็มชี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินกำลังเผชิญหน้ากับการปรับตัวที่ท้าทาย

ข่าวทั่วไป Friday January 16, 2004 15:03 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ม.ค.--ไอบีเอ็ม
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน (Chief Financial officer) หรือ CFO เน้น การพัฒนาฝีมือให้ก้าวหน้า การปรับปรุงการบริหารข้อมูลเพื่อเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี และการลดต้นทุนเป็นจุดหมายของฝ่ายการเงิน
ผลการสำรวจทั่วโลกจัดทำโดยหน่วยงานที่ปรึกษาด้านธุรกิจของไอบีเอ็ม หรือ ไอบีเอ็ม บิสิเนส คอนซัลติ้ง เซอร์วิส ชี้ว่า บทบาทของ CFO ในช่วง 5 ปีนี้ ยังประสบปัญหาด้านพื้นฐานโดยเฉพาะเมื่อบทบาทหน้าที่ของ CFO ได้เปลี่ยนจากด้านการบัญชี ไปเน้นที่การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ
ผลสำรวจจากแบบสอบถาม CFO จำนวนกว่า 450 คน ชี้ให้เห็นว่า 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า การจัดการด้านผลประกอบการ และ การเพิ่มคุณค่าให้ผู้ถือหุ้น มีความสำคัญมากเป็นอันดับแรก ในขณะที่ CFO จำนวนน้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เล็งเห็นการจัดการด้านงบดุล เป็นงานที่สำคัญ และทั้งหมดเห็นตรงกันว่า ในสามปีข้างหน้า จะได้เห็นงานด้านการจัดการผลประกอบการเพิ่มมากขึ้นกว่าสองเท่า ส่วนธุรกรรมลดลงจาก 50 เหลือ 34 เปอร์เซ็นต์
ผลสำรวจได้สัมภาษณ์ CFO ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจำนวน 77 คน โดย CFO 11 คนอยู่ในแถบอาเซียนและประเทศอินเดีย CFO ในแถบนี้ เน้นการปรับตัวที่ท้าทายเช่นเดียวกับ CFO ทั่วโลก “แม้ว่าภูมิภาคอาเซียนและเอเซียใต้จะมีสภาพเศรษฐกิจที่หลากหลาย CFO จะต้องมีหน้าที่ในการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจมากขึ้น” ดร. วีระ วีรกุล ผู้บริหารฝ่ายงานบริการด้านการเงิน ภูมิภาคอาเซียน หน่วยงาน ไอบีเอ็ม บิสิเนส คอนซัลติ้ง เซอร์วิส กล่าว “ ปัจจุบันทิศทางของฝ่ายการเงินดำเนินไป พร้อม ๆ กัน 2 ส่วน กล่าวคือ ผู้มีอำนาจควบคุม และผู้ถือหุ้นภายนอกองค์กรต้องการให้ฝ่ายการเงินดูแล ทรัพย์สินให้มั่นคง ในขณะที่ พนักงานภายในองค์กรต้องการให้ฝ่ายการเงินมีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ในการสนับสนุนสิ่งที่จำเป็นทางธุรกิจ”
ดร. วีระ กล่าวเสริมว่า “สำหรับบทบาทในการรักษาและสร้างคุณค่าทางการเงินนั้น ฝ่ายการเงิน ถูกคาดหวังให้ทำหน้าที่สนับสนุนงานหลักในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนความจำเป็นหลักขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมที่ต้องรวดเร็วและแม่นยำ จัดทำงบประมาณและวิเคราะห์สถานการณ์อย่างฉับไว รวมถึง การสรุปผลรายงานได้แบบเรียลไทม์ และส่งข้อมูลที่ถูกต้องให้ผู้รับได้ในเวลาที่กำหนด”
ในขณะที่บทบาทของ CFO เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผลสำรวจชี้ให้เห็นความท้าทายของฝ่ายการเงิน เนื่องจาก CFO พยายามที่จะขยายบทบาทครอบคลุมทุกส่วนของธุรกิจ
มี CFO เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่า องค์กรทางการเงินประกอบไปด้วยมืออาชีพทางธุรกิจที่มีความสามารถสูง มากกว่า 1 ใน 3 ของ CFO เห็นว่า องค์กรมีบุคลากรไม่เพียงพอ หรือบุคลากรที่มีอยู่ขาดคุณภาพ รวมทั้งไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมในการว่าจ้าง พัฒนา และดูแลพนักงาน
ความท้าทายสำคัญที่ CFO กล่าวถึง คือ กระบวนการจัดการผลประกอบการทางธุรกิจมีการพัฒนาล่าช้ากว่าความซับซ้อนทางธุรกิจ CFO มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่า ข้อมูลเป็นทรัพย์สินหลักที่ต้องจัดการให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีผู้บริหารเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถเข้าใช้แหล่งข้อมูลขององค์กรเพื่อช่วยการตัดสินใจ
จากการสำรวจ CFO ส่วนใหญ่เห็นว่า การจัดการข้อมูลเป็นโอกาสสำคัญต่อการพัฒนาเป็นบรรษัทภิบาล ซึ่งนับเป็นประเด็นทางธุรกิจที่สำคัญ ในขณะเดียวกันการเป็นบรรษัทภิบาลจำเป็นต้องเอื้อประโยชน์ต่อองค์กรในแง่ของความสามารถในการแข่งขันด้วย และมีเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ของ CFO ที่รู้สึกว่าแผนงานบรรษัทภิบาลในปัจจุบันยังมีจุดอ่อนอยู่
นอกจากนั้น ผลการสำรวจพบว่า การลงทุนด้านเทคโนโลยียังห่างไกลจากจุดคุ้มทุนอยู่มากมีเพียง 19 เปอร์เซ็นต์ ของ CFO ที่รู้สึกว่าได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากระบบบริหารทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning) หรือ ERP โดย CFO ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะมีการใช้ระบบ ERP เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 200 เปอร์เซ็นต์ในอีก 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากความต้องการข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และน้อยกว่า 1 ใน 3 ของ CFO เห็นว่ากระบวนการต่าง ๆ มีความน่าเชื่อถือและมีความชัดเจน
จากผลสำรวจครั้งนี้ CFO เน้นว่า ระบบอัตโนมัติ การทำเอาท์ซอร์ส และกระบวนการให้บริการร่วมกัน (Shared service delivery processes) คือวิธีที่จะลดต้นทุนการจัดส่ง และช่วยให้ค่าใช้จ่ายทางด้านการเงินแปรผันมากขึ้น
รายงานของหน่วยงานที่ปรึกษาด้านธุรกิจของไอบีเอ็ม แสดงให้เห็นว่า บทบาทในอนาคตของ CFO คือผู้ประสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ กระบวนการ และข้อมูลเข้าด้วยกัน และทำหน้าที่บูรณาการองค์ ประกอบหลักของธุรกิจในรูปแบบ “ออนดีมานด์” ที่หลากหลายมากขึ้น รายงานผู้บริหารจากผลสำรวจCFO เน้นทิศทางหลักต่าง ๆ ดังนี้คือ
CFO ผลักดันโซลูชั่น ด้านการจัดการผลประกอบการทางธุรกิจ และมีความต้องการพัฒนาแผนงาน แบบบูรณาการ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจแบบออนดีมานด์
CFO ใช้โครงสร้างบรรษัทภิบาลที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนสถานะสู่กระบวนการการควบคุม และการจัดการความเสี่ยง จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากตลาด
CFO ยอมรับว่าความสามารถในการปรับเปลี่ยนต้นทุน มีความสำคัญต่อความสำเร็จ และความมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การทำเอาท์ซอร์ส และการให้บริการร่วมกัน (Shared services) เป็นกุญแจสำคัญของการก้าวสู่ความสำเร็จ ในการเปลี่ยนแปลงหน้าที่เพื่อลดต้นทุนด้านการเงิน
CFO ผลักดันให้เกิดการปรับกระบวนการ เพื่อยกระดับการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี และการยกระดับความสามารถของบุคลากรครอบคลุมทั่วทั้งธุรกิจ เนื่องจาก การผสมผสานเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปรับเปลี่ยนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ข้อมูลเกี่ยวกับผลการสำรวจ CFO ทั่วโลก
IBM Business Consulting Services ทำการสำรวจ CFO ทั่วโลก ซึ่งเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน ปี 2546 โดยทำการสัมภาษณ์ CFO ทั้งหมด จำนวน 450 คนจาก 35 ประเทศ รวมถึง CFO จำนวน 77 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีรายได้ขององค์กรเฉลี่ย 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยแจกแจงที่มาของรายได้ที่เกิดขึ้นของอุตสาหกรรมดังนี้ การบริการด้านการเงิน 23 % ด้านการสื่อสาร 14 % การกระจายสินค้าไปยังผู้ค้าปลีก (รวมทั้งธุรกิจค้าปลีก) 24% ด้านอุตสาหกรรม 28 % และจากหน่วยงานราชการ 11 %
ข้อมูลเกี่ยวกับ ไอบีเอ็ม
ไอบีเอ็มเป็นบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีประวัติอันยาวนานในการช่วยให้ธุรกิจ ประสบความสำเร็จจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ไอบีเอ็มได้สร้างสรรค์ พัฒนา และผลิตผลิตภัณฑ์ระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย อุปกรณ์สตอเรจ ที่ล้ำหน้าที่สุดในอุตสาหกรรมไอที ไอบีเอ็มโกลบอล เซอร์วิสเซส ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการให้บริการของไอบีเอ็ม เป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยบุคลากรมืออาชีพกว่า 150,000 คน จาก 160 ประเทศ มีรายได้ประมาณ 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (รายได้ปี พ.ศ. 2544) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.ibm.com
เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย: บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
คุณกฤษณา ศิลประเสริฐ โทรศัพท์: 0-2273-4639
อีเมล์: krisana@th.ibm.com--จบ--
-นห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ