บริษัทวิจัยชั้นนำชี้ซีเอเป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดีย ยกย่องยูนิเซ็นเตอร์ สุดยอดเทคโนโลยีอันดับหนึ่ง

ข่าวเทคโนโลยี Monday January 19, 2004 16:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ม.ค.--เพนเนอร์-แมดิสัน
บริษัท คอมพิวเตอร์ แอสโซซิเอทส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือซีเอประกาศว่าไอดีซีได้ยกย่องให้ซีเอ เป็นสุดยอดผู้นำตลาดซอฟต์แวร์บริหาร จัดการระบบ (System Management Software) ในภูมิภาคเอเชียใต้ และคาดการณ์ว่าตลาดซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบในเอเชียแปซิฟิค (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะมีมูลค่าสูงถึง 481 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2550
รายงานของไอดีซี* ระบุว่า ตัวเลขดังกล่าวคิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปีรวม (Compound Annual Growth Rate, CARG) 13 เปอร์เซ็นต์ของตลาดซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2550 ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาฮาร์ดแวร์ด้านเครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆ รวมถึงซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องส่งผลให้ความต้องการซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบเพิ่มสูงขึ้น
การศึกษาล่าสุดของไอดีซีเกี่ยวกับส่วนแบ่งการตลาดพบว่า บริษัทซอฟต์แวร์ระดับโลกต่างๆ อาทิ คอมพิวเตอร์ แอสโซซิเอทส์ ไอบีเอ็ม บีเอ็มซี ไมโครซอฟท์ และ เอชพี ยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดใน ภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง โดยมีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันมากกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ใน 8 ประเทศหลักๆ ในเอเชียแปซิฟิค ในประเทศสิงคโปร์ ภาครัฐบาลและกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่นำซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบไปใช้
มิส วิเวียน เทโร นักวิเคราะห์การตลาด ส่วนวิจัยซอฟต์แวร์ ของไอดีซี เอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า "ตลาดซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานที่เติบโตและพัฒนาเต็มที่ มีการนำฮาร์ดแวร์มาใช้งานมาก ค่าจ้าง แรงงานแพงขึ้นทำให้มีการลงทุนและใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสูง ตลาดซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานจึงเติบโต ต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว"
ความต้องการซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานของระบบเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยพิจารณาจากซอฟต์แวร์บริหารจัดการประสิทธิภาพ (Performance Management Software) และซอฟต์แวร์บริหาร จัดการปัญหา (Problem Management Software) ในขณะที่ซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยและการจัดเก็บข้อมูล ยังคงได้รับความสนใจอยู่อย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ให้ความสนใจในเรื่อง สภาพแวดล้อมของโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น ไอดีซี กล่าวว่าประเทศ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย ไต้หวัน และเกาหลี รวมกัน จะครองสัดส่วนตลาดซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของตลาดรวม ภายในปี พ.ศ. 2550 โดยที่ 22 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวม จะมาจากซอฟต์แวร์บริหารจัดการปัญหา ธุรกิจต่างๆ ยังคงหันไปใช้บริการเอาท์ซอสท์ด้านไอที เพื่อลดค่าใช้จ่าย จึงส่งผลให้ระบบที่ทำหน้าที่สำคัญ (Mission Critical System) ยังคงแพร่หลายทั่วทั้งองค์กรต่างๆ และบ่อยครั้งที่มีการใช้งานไปทั่วโลก
รายงานระบุว่า อินเตอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นพื้นฐานสำหรับการทำงานในสำนักงาน จะยังคงเป็น แอพพลิเคชั่นสำคัญ และในยุคที่ระบบไอทีมีความซับซ้อนเช่นนี้ การเติบโตจะเกิดขึ้นในตลาดที่รองรับสภาพแวดล้อมด้านเทคนิคที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก เนื่องจากองค์กรธุรกิจต่างๆ ยังคงนำโซลูชั่นที่มี ความแตกต่างหลากหลายมาใช้งาน และสภาพแวดล้อมด้านไอทีทวีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์จึงได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมมาตรฐานแบบเปิดและการให้บริการผ่านทางเว็บมากขึ้น
องค์กรธุรกิจต่างๆ จะรวมศูนย์การบริหารจัดการ รวมทั้งการเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของผู้ใช้งานในองค์กรเข้าสู่ส่วนกลางมากยิ่งขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานไอที ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยง่ายจากฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์บริหารจัดการ การคอนฟิกซ์และการปรับเปลี่ยน (Change and Configuration Management Software) เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ความตื่นตัวในแนวคิด กริด/ยูทิลิตี้ คอมพิวติ้ง จะผลักดันให้เกิดความต้องการ การบริหารจัดการประสิทธิภาพและเครื่องมือในการตรวจตราระบบ ซึ่งสามารถคอนฟิกซ์ให้นำเสนอกระบวนการทางธุรกิจ แทนที่จะเป็นเพียงระบบหรือเครื่องมือที่ทำให้มองเห็นเครือข่าย
นายปิติ ประโมทย์ธรรม กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ของซีเอ กล่าวว่า "รายงาน ของไอดีซี ระบุว่า ตลาดซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบในภูมิภาคเอเชียใต้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น อีกทั้ง การรับรู้ในเรื่องของการให้บริการด้านไอทีและซอฟต์แวร์บริหารจัดการประสิทธิภาพขององค์กรต่างๆ ยังมี ไม่มากนัก ผู้จำหน่ายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพยายามให้ความรู้แก่องค์กรธุรกิจต่างๆ รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ รายงานของไอดีซี ยังยืนยันว่า ซีเอยังคงมอบโซลูชั่นบริหารจัดการระบบที่ล้ำหน้า ด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยูนิเซ็นเตอร์ ที่สามารถแสดงให้เห็นว่า ความต้องการในด้านไอทีนั้นมีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง และยังสร้างคุณค่าให้กับองค์กรมากกว่าจะถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางของค่าใช้จ่าย"
ข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอสโซซิเอทส์
บริษัท คอมพิวเตอร์ แอสโซซิเอทส์ อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ เป็นหนึ่งในบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก นำเสนอซอฟต์แวร์และบริการที่ช่วยให้องค์กรบริหารจัดการสภาพแวดล้อมด้านไอที โดยมุ่งเน้นด้านเครือข่ายและการบริหารจัดการระบบ (Network and Systems Management), การบริหารจัดการด้านการจัดเก็บข้อมูลและการรักษาความปลอดภัย (Storage and Security Management), พอร์ทัลและระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Portal and Business Intelligence) รวมทั้งการบริหารจัดการวงจรการทำงาน (Application Life Cycle Management) ซีเอก่อตั้งในปี 1976 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 คอมพิวเตอร์ แอสโซซิเอทส์ พลาซ่า, ไอแลนด์เดีย, นิวยอร์ค 11749 และให้บริการแก่ องค์กรต่างๆ ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมที่ http://ca.com.
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณชิดชนก อุทัยกร, ผู้จัดการฝ่ายการตลาด,
บริษัท คอมพิวเตอร์ แอสโซซิเอทส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
โทรศัพท์ 0-2636- 2467 ต่อ 122 โทรสาร 0-2636-2470 อีเมล์ uthch01@ ca.com
คุณปริญดา นิลทจันทร์, บริษัท เพนเนอร์-แมดิสัน จำกัด
โทรศัพท์ 0-2711-6891 ต่อ 133 โทรสาร 0-2381-8793 อีเมล์ prinda_n@ penner-madison.com--จบ--
-รก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ