กรุงเทพฯ--7 พ.ย.--โฟร์ พี แอดส์ (96)
นายต่อพงษ์ ไชยสาส์นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เสริมทีมเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วมจัดคาราวานลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี และ กทม.นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สธ. เปิดเผยว่าจากการประเมินปัญหาสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเวชเดิมผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล ผู้พิการและเจ็บป่วยเรื้อรังผู้สูญเสียทั้งญาติพี่น้องและทรัพย์สินรวมทั้งผู้ที่ขอรับบริการด้านสุขภาพจิตตลอดจนผู้ช่วยเหลือเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิตใน 37 จังหวัด นับแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงวันที่ 3 พ.ย.2554 จำนวน 111,128ราย พบ เครียดสูง 5,652 ราย ซึมเศร้า 6,769 ราย เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย1,021 ราย ต้องติดตามดูแลพิเศษ 1,598 รายและจากการออกหน่วยบริการด้านสุขภาพจิต ณ ศูนย์พักพิง 17แห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดนนทบุรีจังหวัดปทุมธานี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครปฐม และจังหวัดนครสวรรค์ปัญหาสุขภาพจิตที่พบ ได้แก่ เครียด นอนไม่หลับ ท้อใจซึมเศร้าและคิดฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยจิตเวชขาดยาและผู้ติดสุรามีอาการทางจิตจากการอดสุราซึ่งกรมสุขภาพจิตร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ให้บริการด้านสุขภาพจิตให้คำปรึกษา ช่วยผ่อนคลายความเครียดตลอดจนสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ
รมช.สธ. กล่าวต่อว่าวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นได้ขยายลุกลามไปหลายจังหวัดของประเทศส่งผลกระทบต่อจิตใจประชาชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้นและคาดการณ์ว่าประชาชนอีกจำนวนมากจะต้องอยู่กับสถานการณ์น้ำท่วมขังอีกไม่น้อยกว่า2-3 เดือน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มอบหมายกรมสุขภาพจิตฟื้นฟูเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยโดยทำงานร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ซึ่งพบว่า ยังมีกลุ่มเสี่ยงอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้วันนี้จึงได้ระดมบุคลากรด้านสุขภาพจิตจัดทีมเสริมเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพิ่มขึ้นอีกกว่า100 ชีวิต ประกอบด้วย พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิกนักสังคมสงเคราะห์จิตเวช ลงเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย น้ำท่วมโดยเสริมทีมลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะลงไปปฏิบัติงานในศูนย์พักพิงจังหวัดละ 5 วันและจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกับทีมเดิมที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นทั้งการตรวจสุขภาพจิตเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงการปฐมพยาบาลด้านจิตใจผู้ประสบภัยทุกรายที่ได้รับการประเมินคัดกรองการให้คำปรึกษารายบุคคลและรายกลุ่มการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อผ่อนคลายความเครียด ให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจและการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้ประสบภัยในศูนย์พักพิงได้มีส่วนร่วมแปลงจากผู้ประสบภัยเป็นผู้ร่วมกอบกู้วิกฤตเพื่อลดปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว ที่สำคัญคือ ป้องกันการเกิด PTSD(Post-Traumatic Stress Disorder:โรคเครียดภายหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ)
ทั้งนี้จะเน้นการเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจเตรียมความพร้อมให้ผู้ประสบภัยกลับบ้านได้อย่างมีความมั่นคงทางจิตใจและขอย้ำว่า หากทุกข์ใจ เครียด นอนไม่หลับสามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 และ1667ระบบอัตโนมัติ ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง
ติดต่อ:
สายด่วนสุขภาพจิต 1323 และ1667ระบบอัตโนมัติ ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง