กรุงเทพฯ--7 พ.ย.--คอร์ แอนด์ พีค
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชัน หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT / ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) เปิดเผยผลสำรวจที่แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันกำลังตอบสนองความต้องการทางธุรกิจทั่วไป ขณะที่การขยายตัวของข้อมูลได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดและระบบไอทียังไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่ต้องการมุมมองเชิงลึกมากกว่าเดิมและการจัดการข้อมูลที่ดีขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของข้อมูล โดยกว่า 50% ขององค์กรขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เข้าร่วมในการสำรวจครั้งนี้ไม่ได้มีการวางแผนหรือคาดการณ์ไว้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของ “ข้อมูลขนาดมหึมา” (Big Data) ผลการสำรวจระบุอย่างชัดเจนว่าองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องนำโซลูชั่นและเทคโนโลยีคลาวด์ขั้นสูงมาใช้เพื่อจัดการกับการขยายตัวของข้อมูล เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่สามารถใช้งานได้ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ในเชิงกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและมุมมองใหม่ๆ ทางธุรกิจ ผลสำรวจครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ในรายงานของบริษัท ไอดีซี ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในชื่อ “The Changing Face of Storage: A Rethink of Strategy that Goes Beyond the Data” โดยบริษัท ไอดีซี ได้ทำการสำรวจผู้บริหารด้านไอทีจำนวน 150 รายจากองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2554 การที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้มอบหมายให้มีการสำรวจในครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับกลยุทธ์และปัญหาต่างๆ ในด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล
“ผลสำรวจในระดับภูมิภาคครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตและความเข้าใจในการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่อย่างหลากหลาย โดยความเกี่ยวเนื่องกันของข้อมูลและการจัดการกับการขยายตัวของข้อมูลนั้น ติดอันดับปัญหาทั่วไปห้าอันดับแรก ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจำเป็นที่จะต้องมีเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับข้อมูลขนาดมหึมา” ไซมอน พิฟฟ์ รองประธานร่วมฝ่ายวิจัยโครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ไอดีซี กล่าว
“บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เชื่อว่าข้อมูลและสารสนเทศจะต้องได้รับการจัดเก็บ ควบคุม และจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้มุมมองและนวัตกรรมที่จะนำไปสู่มูลค่าเชิงกลยุทธ์และการแข่งขัน” เควิน เอกเกิลสตัน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชียแปซิฟิก กล่าว และว่า “การนำเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้งาน เช่น บริการคลาวด์ ไม่เพียงแต่ทำให้องค์กรขนาดใหญ่สามารถจัดการกับการขยายตัวของข้อมูลได้เท่านั้น แต่ยังช่วยในด้านการรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศที่มีค่าอย่างยิ่งได้ โดย กลยุทธ์สามระดับชั้น ได้แก่ ระบบคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหา และระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบไดนามิกและช่วยให้เนื้อหามีความคล่องตัวอย่างมากซึ่งนั่นจะนำไปสู่การสร้างมุมมองที่รวดเร็วและครอบคลุมยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่จัดเก็บไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย”
ความกังวลในปัจจุบันสามอันดับแรกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
จากการสำรวจตลาดเอเชียแปซิฟิกทั้งหมดพบว่า ผู้บริหารด้านไอทีส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของข้อมูล โดย 56% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ อย่างไรก็ตาม 39% ระบุว่ามีระดับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพิ่มขึ้น และ 36% ระบุว่าการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือนเป็นปัญหาสำคัญ แม้ว่าข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างจะกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก แต่ดูเหมือนว่าองค์กรหลายแห่งยังคงใช้ประโยชน์ข้อมูลดังกล่าวในระดับที่ต่ำมาก
ผู้ตอบแบบสำรวจ 67% เชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันของตนมีศักยภาพเพียงพอสำหรับการใช้งานในอีก 12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตามผู้ตอบแบบสำรวจในจำนวนที่มากถึง 72% กลับไม่มี กลยุทธ์ที่จะจัดการกับการขยายตัวของข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ซึ่งได้แก่ มัลติมีเดียขนาดใหญ่ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หรือ “ข้อมูลขนาดมหึมา” ในระดับหลายกิกะไบต์ชนิดอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นในฐานะที่เป็นทรัพยากรด้านการแข่งขันสำหรับทำเหมืองข้อมูลและการใช้งานอื่นๆ ทางด้านธุรกิจ
นอกจากนี้ 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุด้วยว่าองค์กรธุรกิจต้องการการวิเคราะห์เชิงลึกที่เกินกว่าขีดความสามารถของระบบเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่พวกเขามีนั้นมีความเกี่ยวโยงกัน สามารถปรับใช้ได้อย่างทันท่วงที และเป็นประโยชน์ จะเห็นได้ว่าการขยายตัวของข้อมูลกำลังแซงหน้าความสามารถด้านการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
“ข้อมูลจำเป็นต้องได้รับการแบ่งปัน เปรียบเทียบ วิเคราะห์ และสร้างให้เห็นภาพรวมที่ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังจะต้องสามารถเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อใช้สร้างมุมมอง ดูแนวโน้ม และใช้คาดการณ์สิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในเชิงรุก” เอกเกิลสตัน กล่าว และว่า “ระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศมีศักยภาพอย่างมากเนื่องจากสามารถวิเคราะห์เนื้อหาได้อย่างอิสระโดยไม่ยึดติดกับแอพพลิเคชั่นหรือสื่อข้อมูลใดๆ อีกทั้งยังช่วยให้การวิเคราะห์ “ข้อมูลขนาดมหึมา” สอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนั่นจะนำไปสู่มุมมองเชิงลึกที่มีความเกี่ยวข้องกันยิ่งกว่าเดิม ผลักดันให้เกิดนวัตกรรม การวิจัยขั้นสูง ช่วยให้การทำงานร่วมกันดียิ่งขึ้น และสร้างสังคมที่ยั่งยืนได้ในท้ายที่สุด”
จำเป็นต้องปรับใช้เทคโนโลยีล่าสุด
องค์กรหลายแห่งที่ทำแบบสำรวจระบุว่า พวกเขาได้ใช้เทคโนโลยีล่าสุดเพื่อปรับสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีอยู่ให้มีความเหมาะสมสูงสุด (48%) หรือได้เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตน (52%) ตามแนวทางที่ต้องการเพื่อจัดการกับข้อกังวลสูงสุดที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดที่แท้จริงของการตอบสนองต่อเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลนั้นได้ชี้ให้เห็นว่า นี่คือสิ่งที่องค์กรขนาดใหญ่กำลังต้องการดำเนินการแต่ยังไม่ได้มีการดำเนินการ
ระบบเสมือนจริงเป็นเทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้งานในระดับสูงสุด (ประมาณ 60% ของผู้ตอบแบบสำรวจ) ตามมาด้วยการกู้คืนระบบจากความเสียหาย (44% ) และการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย (37%) โดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าได้มีการนำระบบเสมือนจริงมาใช้งานแล้วกว่า 50% สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การบีบอัดข้อมูล การจัดลำดับชั้นข้อมูล และการจัดสรรพื้นที่ของระบบจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ (Thin Provisioning) ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
จากการสำรวจยังพบด้วยว่า 12% ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังใช้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ และยังมีอีก 23% ที่ระบุว่ากำลังอยู่ในระหว่างการเลือกบริการดังกล่าวเข้ามาใช้งาน ทั้งนี้ คาดว่าการนำระบบคลาวด์เข้ามาใช้งานนั้นยังอยู่ในระดับเริ่มต้นและอาจมีการขยายตัวมากขึ้นในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า
สำหรับความกังวลสูงสุดเกี่ยวกับการนำระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์เข้ามาใช้คือเรื่องของความปลอดภัย (48%) ตามมาด้วยการสูญเสียความสามารถในการควบคุม ระดับราคา และการลาจัดการข้อมูลได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตามผู้ตอบแบบสำรวจ 34% กลับไม่มีปัญหาหรือไม่มีความกังวลเกี่ยวกับบริการคลาวด์ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่องค์กรหลายแห่งมีแผนพิจารณานำระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์มาใช้งานในอนาคตและอาจเร็วกว่านั้นหากองค์กรในภูมิภาคแห่งนี้ตระหนักถึงข้อดีที่มีอยู่เป็นจำนวนมากของระบบคลาวด์
แหล่งข้อมูลบนเว็บ
- ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์แบบผสานรวมของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สำหรับบริการ โซลูชั่น และแพลตฟอร์มระบบคลาวด์
- รับฟังสิ่งที่ มิกิ แซนดอร์ฟี พูดถึงเกี่ยวกับข้อมูลในเรื่องนี้
- ติดตามความเคลื่อนไหวของเราทาง Twitter
- ติดต่อกับเราทาง LinkedIn
- เป็นเพื่อนกับเราทาง Facebook