โครงการ “เป็ดน้อย เตือนภัย” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ข่าวทั่วไป Monday November 14, 2011 09:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--ปตท. ความเป็นมา โครงการ “เป็ดน้อย เตือนภัย” เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง โดยอาจารย์ดุสิต สุขสวัสดิ์ การไฟฟ้านครหลวง โดยคุณจรินทร์ หาลาภี และกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ซึ่งกลุ่ม ปตท. ได้สนับสนุนงบประมาณ 300,000 บาท และได้ร่วมกันพัฒนา “เป็ดน้อย เตือนภัย” โดยเปิดรับสมัครอาสาสมัครช่วยดำเนินการผลิตผ่านทาง Facebook ชื่อ “Floodduck” PTT GROUP SEAL ทีมปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กลุ่ม ปตท. ได้นำ “เป็ดน้อย เตือนภัย” ไปทดลองใช้ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้ารั่วระหว่างลงพื้นที่ปฏิบัติการ เห็นว่ามีประโยชน์ในการช่วยชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก กลุ่ม ปตท. จึงเห็นควรให้สนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพและขยายผลการผลิตเชิง Mass เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ที่ประสบภัย รวมถึง ทีมงานกู้ภัยต่างๆ การดำเนินการ กลุ่ม ปตท. ได้ประสานงานเพื่อสนับสนุนโครงการ “เป็ดน้อย เตือนภัย” ในกระบวนการผลิตเชิง Mass โดยใช้ฐานการผลิตของวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี (IRPCT) ดำเนินการผลิต “เป็ดน้อย เตือนภัย” เพิ่มเติม ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กลุ่ม ปตท. สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและการไฟฟ้านครหลวง โดยมีเป้าหมายผลิตจำนวน 2,000 ตัว แผนการแจกจ่าย หน่วยงานหลักที่สามารถให้บริการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยได้เป็นจำนวนมาก ข้อมูลทั่วไป (ข้อมูลจาก facebook/floodduck) “เป็ดน้อย เตือนภัย” สามารถนำไปลอยน้ำเพื่อตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่วก่อนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งเป็ดน้อยเตือนภัยจะส่งเสียงและมีไฟแดงขึ้นในตัว เมื่อพบกระแสไฟฟ้ารั่วและสามารถรับกระแสไฟฟ้าได้ในรัศมี 1 ตารางเมตร และความลึก 50 เซนติเมตร คู่มือการใช้งาน คำเตือน: เป็ดน้อยเตือนภัยเป็นอุปกรณ์ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้ารั่วเพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดจาก กระแสไฟฟ้ารั่วเท่านั้น ผู้ใช้งาน: ควรใช้โดยหรือภายใต้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ในเรื่องไฟฟ้าเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย: ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณที่สงสัยว่าจะมีไฟฟ้ารั่วไหล 1. อุปกรณ์เป็ดน้อยเตือนภัย: ประกอบด้วยกระปุกเป็ดน้อยเตือนภัยพร้อม สายไฟแตะหลอดไฟ สายไฟแตะหลอดไฟ สายไฟแตะหลอดไฟ สายไฟฟ้าพ่วง ปุ่มเปิด/ปิด 2. เปิดใช้งานอุปกรณ์: กดปุ่มสีฟ้า จะสังเกตเห็นไฟสีเขียวกระพริบ (*) 3. ทำการทดสอบความพร้อมในการใช้งาน: หันหน้าเป็ดเข้าหาตัว นำสายไฟฟ้าที่ต่อพ่วงแตะที่ขาของหลอดไฟสีเขียวขนาดจิ๋ว (ตามภาพ) จะต้องมีไฟสีแดงสว่างในตัวเป็ดพร้อมเสียงร้อง 4. หากสงสัยว่าบริเวณน้ำท่วมขังอาจมีไฟฟ้ารั่วไหล: ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณดังกล่าวติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อมาทำการตัดไฟฟ้า หากจำเป็นต้องเข้าใกล้บริเวณดังกล่าวและระดับน้ำไม่เกิน 50 เซนติเมตร ให้ใช้ท่อพีวีซีหรือไม้ที่มีความยาวพอสมควรแขวนกระปุกเป็ดน้อย (ที่ห่วงหลังเป็ด) ให้ลอยนำหน้า หากพบกระแสไฟฟ้ารั่วไฟสีแดงที่ตัวเป็ดน้อยจะสว่างขึ้นพร้อมเสียงร้องหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ออกห่างจากบริเวณนั้นทันทีและติดต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า 5. เมื่อใช้งานเสร็จ: กดปุ่มสีฟ้าหน้าตัวเป็ดเพื่อปิดการทำงาน สังเกตหลอดไฟสีเขียวจะไม่กระพริบ หากพบว่ามีน้ำรั่วเข้าในกระปุกต้องเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์และผึ่งให้แห้ง แล้วจึงเก็บรักษาไว้ในที่แห้งเสมอ *ข้อพึงสังเกต: หากพบว่าเป็ดน้อยเมื่อทำการกดปุ่มด้านบนแล้วไฟสีเขียวไม่ทำงาน ให้สันนิษฐานว่าแบตเตอรี่มีปัญหา เช่น รังใส่แบตเตอรี่หลวม ให้ทำการกดแบตเตอรี่ให้แน่นแล้วทำการทดสอบอีกครั้งหรือ เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ทดแทนแบตเตอรี่เดิม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ