กรุงเทพฯ--26 ธ.ค.--สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ
เทิดพระเกียรติเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกียรติคุณศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ
ทูลเกล้าฯ ถวายพระเกียรติคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในพระสมญานามเจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ผู้แทนพระองค์ ในวโรกาสทูลเกล้าฯ ถวายการเทิดพระเกียรติคุณในพระสมญานามเจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงเจริญพระชันษาครบ ๔ รอบ จัดขึ้นโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี
เทิดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สมาคมวิทย์ฯ น้อมเกล้าฯ ถวายพระเกียรติคุณ “เจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ “เนื่องในวโรกาสที่ พ.ศ. 2548 เป็นปีที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชันษาครบ 4 รอบ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนึกในพระกรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พระองค์ทรงมีพระปรีชายิ่งในด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยทรงค้นคว้าวิจัยในเรื่องที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนโดยตลอดมา องค์กรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงพร้อมใจกันขอพระราชทานพระอนุญาตน้อมเกล้าฯ ถวายพระเกียรติคุณ “เจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เพื่อเทิดพระเกียรติให้แผ่ไพศาลในหมู่นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีและประชาชน”
รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ “สืบเนื่องจากการที่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระองค์ท่านทรงทำวิจัยทางด้านพิษวิทยาและด้านการวิจัยสมุนไพรที่จะบำบัดโรคร้ายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็ง ซึ่งมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์จำนวนมากมาย ทรงเป็นพระมิ่งขวัญทางด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในครั้งแรกนั้น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เคยถวายพระเกียรติคุณเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์เกียรติคุณ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์พระองค์แรกที่พวกเราคนไทยภาคภูมิใจจึงได้ถวายพระเกียรติคุณเวลาผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระองค์ท่านทรงสนพระทัยทางด้านการวิจัยอย่างจริงจังเป็นการทำวิจัยแบบลงลึกและทรงเป็นนักวิจัยที่ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง และตอนนี้ทรงเป็นนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพราะว่าพระองค์ท่านทรงเน้นเรื่องการนำไปใช้ประโยชน์ด้วย ซึ่งเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าไม่ใช่เป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพียงอย่างเดียว ทรงคิดเรื่องการที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์จริง ๆ
พระองค์ท่านทรงส่งเสริมให้มีศูนย์การบำบัดและรักษาโรงมะเร็ง (ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ) ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ฯ ซึ่งศูนย์ฯ แห่งนี้ จะเป็นศูนย์ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ต่อไปถ้ามีกรณีศึกษาเรื่องโรคมะเร็งที่หนัก ผู้ป่วยก็สามารถจะมาบำบัดโรคมะเร็งที่ศูนย์แห่งนี้ได้ โดยการบำบัดและรักษาด้วยเครื่องเพทสแกน (PET scan) ซึ่งมีเพียงเครื่องเดียวในประเทศไทย ใช้สแกนให้เห็นความลึกเนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่คล้ายกับว่าประจำอยู่กับมนุษย์ เราอาจจะมีเซลล์ที่เป็นมะเร็งถ้ารู้เร็วก็รักษาง่ายขึ้นรู้ช้าก็รักษายาก ฉะนั้นถ้าสามารถสแกนเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งได้
ผลงานเด่นของพระองค์ ที่ได้ทำวิจัยอย่างต่อเนื่องและยาวนานคือ เรื่องพิษวิทยาทางสิ่งแวดล้อม เพราะว่าโรคมะเร็งกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่คู่กัน เกี่ยวกับมลพิษต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมทำให้คนเราค่อย ๆ สะสมพิษไว้ ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ทางด้านพิษวิทยาและการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ทางเป็นนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เน้นศึกษาทางด้านนี้เพื่อที่จะบำบัดรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ ปีนี้ เป็นปีที่ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชันษาครบ ๔ รอบ จึงเป็นโอกาสดีที่จะถวายพระเกียรติคุณ โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้น้อมเกล้าถวายพระเกียรติคุณเหรียญทองเพื่อเทิดพระเกียรติของพระองค์ท่าน ในพระสมญานามเจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังกล่าว
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--