ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เรื่องการเยียวยา ฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม และแผนการป้องกันและรับมือพิบัติภัยธรรมชาติในอนาคต

ข่าวทั่วไป Wednesday November 16, 2011 11:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 พ.ย.--พม. มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาลใน ๖ มิติ เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้ มิติที่ ๑ การฟื้นฟูเชิงกายภาพ (บ้าน ทรัพย์สิน เครื่องมือประกอบการ ระบบโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ โรงเรียน โรงพยาบาล) ๑) การฟื้นฟูชุมชน : ต้องคำนึงถึงโครงสร้างเชิงกายภาพที่ต้องมีทางน้ำผ่านได้เพื่อป้องกันการ หลากของน้ำในอนาคต (หากชุมชนอยู่ในที่ลุ่มต่ำอาจต้องทำคัน คู คลอง เพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคตด้วย) ควรมีศูนย์ชุมชนที่เป็นศูนย์กลางที่พักพิง หรือทำครัวกลาง หรือเป็นเก็บแหล่งเสบียงอาหารไว้ในอนาคต ๒) การซ่อมบ้าน : ต้องคำนึงถึงจุดอ่อนต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้น้ำท่วมบ้าน เช่น หากเป็นที่ลุ่มต่ำ ต้องมีการถมดินเพื่อยกระดับพื้นในสูงขึ้น อาจต้องเปลี่ยนโครงสร้างบ้านให้มีใต้ถุนสูง และต้องวางระบบไฟฟ้าในบ้านใหม่ให้สามารถตัดไฟในชั้นล่างได้เพื่อป้องกันไฟดูด ๓) ควรมีการใช้ระบบพลังงานทางเลือกสำรอง : เช่นระบบพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ ๔) ควรมีการจัดตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำชุมชน : เช่น ช่างไฟ วิศวกร แพทย์ พยาบาล ฯลฯ ที่เป็นคนในชุมชนเพื่อเป็นอาสาสมัครดูแลกันเอง ๕) รัฐบาลหรือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควร ประสานงานกับกรมอาชีวะศึกษา เพื่อระดมนักศึกษาช่างเทคนิคต่างๆ ออกซ่อมแซมบ้านเรือนให้ประชาชน ๖) มีการตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์แบบครบวงจรในชุมชนเพื่อคลี่คลาย เยียวยาปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากอุทกภัยครั้งนี้ ๗) กองทุนต่างๆ ที่รัฐตั้งขึ้น (กองทุน SML กองทุนหมู่บ้าน) : ต้องเน้นการ บริหารจัดการโดยชุมชนและบูรณาการหลักการการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก ต้องไม่ให้เป็นการบริหารจัดการโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (เช่น นักการเมืองท้องถิ่น ผู้มีอิทธิพล หรือ คนบางกลุ่มเท่านั้น) มิติที่ ๒ การฟื้นฟูเชิงเศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน และการจ้างงาน รวมทั้ง มาตรการช่วยเหลือภาระ หนี้สินและการขาดรายได้-ตกงาน (การจัดตั้งศูนย์ลงทะเบียนผู้ประสบภัย One-stop Service Flood Victims Center) ๑) การฟื้นฟูอาชีพและสร้างรายได้ : รัฐต้องเร่งฟื้นฟูอาชีพให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่สูญเสียรายได้ ตกงาน ให้กลับมามีอาชีพ มีรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองได้โดยเร็ว ๒) ตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพ และสินเชื่อเพื่อการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ : ให้กับ ประชาชน ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า และแม่ค้าต่างๆ ๓) ผู้ประสบภัยที่มีหนี้สินและสูญเสียรายได้จากการได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม : คนเหล่านี้ ต้องได้รับการพักการชำระหนี้ทันทีไม่ต่ำกว่า ๖ เดือนขึ้นไป และควรได้รับการให้ความช่วยเหลือ ทางการเงินเพื่อซ่อมแซมบ้านหรือใช้จ่ายในช่วงที่ไม่สามารถทำงานอาชีพตามปกติได้ ๔) รัฐควรนำโครงการ “ต้นกล้าอาชีพ” กลับมาดำเนินการใหม่ แต่ควรปรับปรุงวิธีการทำงาน และกระบวนการที่เน้นการฝึกอาชีพที่นำไปสร้างรายได้ได้จริง โดยเน้นการเลือกอาชีพที่เป็นที่ต้องการ ตามสถานการณ์หลังน้ำลด และตามสภาวะเศรษฐกิจ ๕) รัฐต้องให้ความสำคัญกับการสร้างอาชีพ การจ้างงานกลุ่มเฉพาะที่อาจถูกหลงลืม : กลุ่มคน -๒- พิการทุกประเภท รวมถึงลุ่มผู้ด้อยโอกาสต่างๆ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้หญิงและเด็กหญิง (เยาวชน) แม่เลี้ยงเดี่ยว กลุ่มผู้สูงอายุ ที่เป็นกลุ่มเปราะบางและถูกหลงลืม มิติที่ ๓ ปัญหาสุขภาวะ — ชีวอนามัย การป้องกันและควบคุมโรคระบาด อันเนื่องมาจากภาวะ น้ำท่วม (โรคอหิวาต์ โรคทางเดินหายใจ ฯลฯ) และการเจ็บไข้ได้ป่วยอันเนื่องมาจากน้ำท่วม ๑) รัฐจะต้องรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการป้องกันเชื้อโรค สิ่งปฏิกูลหลังน้ำลด : ที่มากับน้ำและการจัดการเชื้อโรคต่างๆ ที่ค้างอยู่ตามบ้านและดินโคลนหลังน้ำลด ๒) รัฐต้องให้บริการสาธารณสุขขั้นมูลฐานกับประชาชนและชุมชนหลังน้ำลด : โดยประชาชนต้อง ได้รับข้อมูลและตระหนักถึงการตรวจรักษาและเฝ้าระวังโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเกิดจากการอยู่กับภาวะน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ๓) ต้องเสริมสร้างและอนามัยเจริญพันธุ์แก่ผู้หญิง เด็กหญิง ในชุมชนอย่างทั่วถึง มิติที่ ๔ ปัญหาสภาวะจิตใจและความมั่นคง (ปลอดความหวาดวิตกและความกลัว) ของประชาชนและชุมชน ๑) รัฐต้องสร้างกลไกเฝ้าระวังเรื่องความเครียดของผู้ประสบภัย : ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการ ฆ่าตัวตายสูงขึ้นหลังจากเผชิญภาวะน้ำท่วมบ้าน การสูญเสียบุคคลในครอบครัว ๒) รัฐต้องช่วยให้ชุมชนและประชาชนลดความเครียดและสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของ ผู้ประสบภัย : ซึ่งจะทำให้เกิดการฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่หลังน้ำลดได้ มิติที่ ๕ การวางแผนป้องกันรับมือพิบัติภัยธรรมชาติในระยะยาว ๑) ควรมีการจัดตั้งกลไกระดับชาติเพื่อจัดการปัญหาภัยพิบัติอย่างบูรณาการ ๒) ควรมีการจัดตั้งระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ๓) ควรมีการจัดตั้งศูนย์รับมือภัยพิบัติในระดับชุมชนเพื่อเป็นกลไกย่อยๆ ที่ปฏิบัติการในพื้นที่ ๔) รัฐควรนำแผนป้องกันภัยพิบัติมารณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ เพื่อเตรียมการ ตั้งรับก่อนที่ภัยจะมา เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้และตั้งรับได้ทันการณ์ มิติที่ ๖ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต ๑) ควรมีการอบรมอาสาสมัครชุมชน และควรคำนึงถึงการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ในชุมชนเป็นอันดับต้นๆ อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย คนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ๒) ควรแปรชุมชนจากการเป็นผู้รอรับการ “ช่วยเหลือ” เป็นผู้ “ชุมชนจัดการ ตนเอง” และ “ชุมชนอาสาป้องกันภัย” ๓) ชุมชนกควรตระหนักถึง “สิทธิชุมชน”ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมชุมชนได้เอง : ที่อาจสร้างระบบป้องกัน จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้เองและสามารถต่อรองกับภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนได้ด้วย เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของความักง่ายของการพัฒนาที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อุทกภัยน้ำ ไฟป่า ฝนแล้ง และลมหนาว) ๔) รัฐต้องสร้างกลไกการให้ “อำนาจการตัดสินใจของชุมขน” ในเรื่องการจัดการ ตนเองเพื่อต้านภัยพิบัติได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ