กรุงเทพฯ--17 พ.ย.--โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนตุลาคม 2554 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 42,873 คัน ลดลง 40.5% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 19,852 คัน ลดลง 38.8% รถเพื่อการพาณิชย์ 23,021 คัน ลดลง 41.8% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 18,861 คัน ลดลง 44.3%
p ประเด็นสำคัญ
1.) ตลาดรถยนต์เดือนตุลาคม มีปริมาณการขาย 42,873 คัน ลดลง 40.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 13 ปี หลังจากวิกฤตการค่าเงินบาทเมื่อปี 2541 โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 19,852 คัน ลดลง 38.8% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 23,021 คัน ลดลง 41.8% โดยผลกระทบจากอุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้ทำให้โรงงานรถยนต์หลายแห่งที่แม้ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง จำต้องหยุดการผลิตตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วน
2.) ตลาดรถยนต์สะสม 10 เดือนแรก มีปริมาณการขาย 713,842 คัน เพิ่มขึ้น 13.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 17.5% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 10.6% เป็นผลมาจากในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี ที่กำลังซื้อของผู้บริโภคอยู่ในเกณฑ์ดี มีการเติบโตทั้งภาคการลงทุนและบริโภค และความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ
3.) ตลาดรถยนต์ในเดือน พฤศจิกายน ลดลง จากปัญหาอุทกภัยใหญ่ที่ทำให้โรงงานรถยนต์ในประเทศต้องหยุดการผลิตตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดีจากความพยายามของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ทำให้โรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศจะสามารถเริ่มผลิตได้อีกครั้งในเดือนนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนตุลาคม 2554
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 42,873 คัน ลดลง 40.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,601 คัน ลดลง 47.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 5,274 คัน ลดลง 46.6% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%
อันดับที่ 3 อีซูซุ 5,261 คัน ลดลง 63.1% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 19,852 คัน ลดลง 38.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,007 คัน ลดลง 50.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,902 คัน ลดลง 47.3% ส่วนแบ่งตลาด 24.7%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,516 คัน เพิ่มขึ้น 23.2% ส่วนแบ่งตลาด 12.7%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 18,861 คัน ลดลง 44.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,344 คัน ลดลง 46.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 4,727 คัน ลดลง 64.0% ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,439คัน เพิ่มขึ้น 28.3% ส่วนแบ่งตลาด 18.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,348 คัน
มิตซูบิชิ 1,110 คัน - โตโยต้า 801 คัน - อีซูซุ 357 คัน - ฟอร์ด 80 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 16,513 คัน ลดลง 45.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,543 คัน ลดลง 45.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 4,370 คัน ลดลง 64.3% ส่วนแบ่งตลาด 26.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,329 คัน เพิ่มขึ้น 36.8% ส่วนแบ่งตลาด 14.1%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 23,021 คัน ลดลง 41.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,594 คัน ลดลง 44.5% ส่วนแบ่งตลาด 37.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,261 คัน ลดลง 63.1% ส่วนแบ่งตลาด 22.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,439 คัน เพิ่มขึ้น 28.3% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%
p สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — ตุลาคม 2554
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 713,842 คัน เพิ่มขึ้น 13.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 271,218 คัน เพิ่มขึ้น 6.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 121,361 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 17.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 78,592 คัน ลดลง 14.5% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 321,872 คัน เพิ่มขึ้น 17.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 129,038 คัน เพิ่มขึ้น 16.1% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 73,139 คัน ลดลง 13.3% ส่วนแบ่งตลาด 22.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 38,900 คัน เพิ่มขึ้น 62.3% ส่วนแบ่งตลาด 12.1%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 336,122 คัน เพิ่มขึ้น 11.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 127,810 คัน ลดลง 0.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 110,856 คัน ลดลง 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 33.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 50,092 คัน เพิ่มขึ้น 113.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 34,406 คัน
มิตซูบิชิ 15,378 คัน — โตโยต้า 11,927 คัน - อีซูซุ 6,280 คัน - ฟอร์ด 821 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 301,716 คัน เพิ่มขึ้น 11.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 115,883 คัน เพิ่มขึ้น 3.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 104,576 คัน ลดลง 1.0% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 34,714 คัน เพิ่มขึ้น 135.6% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 391,970 คัน เพิ่มขึ้น 10.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 142,180 คัน ลดลง 1.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 121,361 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 50,093 คัน เพิ่มขึ้น 113.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.8%