กรุงเทพฯ--22 พ.ย.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
ประเด็นปัญหา และวิธิปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิในการลาประเภทต่างๆ ของพนักงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(ปัญหาในทางปฏิบัติของ HR กับสิทธิการลาของพนักงาน)
Case study and Method of Leave according to the Labor law
อบรมวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554
ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4
KEEN Conference
ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค
(ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์
Rational and Significance
ในเบื้องต้นฝ่ายบริหารของทุกกิจการต้องเข้าใจให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานไทยในเรื่องการลาก่อนว่า มีกฎหมายแรงงานไทย 2 ฉบับ ที่ได้ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะขอลาหยุดงาน ไม่มาทำงานให้แก่นายจ้างได้ นั่นคือ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และ กฎหมายว่าด้วยการแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งได้กำหนดเกี่ยวกับการใช้สิทธิการลาของลูกจ้างไว้หลายประเภท เรามีความจำเป็นต้องทราบว่า การลาแต่ละประเภทมีเงื่อนไขอย่างไร เมื่อนายจ้างอนุญาตให้ลาหยุดงานได้แล้วนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้หรือไม่
วันลาที่นายจ้างมีสิทธิให้ลา โดยไม่จ่ายค่าจ้างได้นั้นมีกี่ประเภท การลาประเภทใดที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างทุกประเภท การลาประเภทใดที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างบางกลุ่ม โดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างบางกลุ่ม เป็นสิ่งที่กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทำไมการลาหยุดงานของลูกจ้าง เพื่อขอไปเตรียมการเป็นปรปักษ์ต่อนายจ้างที่แจ้งขัด เหตุใด ฝ่ายนายจ้างต้องให้ลา และ ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างระหว่างการลาหยุดงานของลูกจ้างดังกล่าวด้วย และ การลาหยุดทำงานให้นายจ้างในบางประเภทการลา
ทำไมกฎหมายแรงงาน ให้ถีอเป็นวันทำงานให้นายจ้าง โดยกฎหมายไม่ให้ถือเป็นวันลา ทั้งๆที่ลูกจ้างขอลาไปทำกิจที่มิใช่กิจใดๆของนายจ้าง หรือ มิได้ทำงานให้แก่นายจ้าง แต่กฎหมายแรงงานไทยกลับให้นับเป็นวันทำงานให้แก่นายจ้างในวันหยุดงานดังกล่าว ฯลฯ เป็นต้น
ปัญหาในเรื่องหมวดวันลา บ่อยครั้งก็ไปมีปัญหาขัดแย้งกับหมวดวันหยุด เพราะความเข้าใจผิดของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายนโยบายและกำกับ ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด และ ฝ่ายบริหาร หรือ ฝ่ายจัดการของกิจการต่างๆ ที่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในตัวบทกฎหมายแรงงาน โดยการนำเรื่องวันหยุดในกฎหมายแรงงานไทย ไปใส่ในหมวดวันลา เมื่อถูกลูกจ้างฟ้องร้องเรียกเงินค่าทำงานในวันหยุด ที่มิได้ขอลาหยุดเอง ปรากฏว่าทั้ง ศาลแรงงาน และ ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน ก็มีคำพิพากษาให้ฝ่ายนายจ้างแพ้คดี และ ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างตลอดมา เช่น ในเรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามกฎหมายนั้น อยู่ในหมวดวันหยุด มิใช่หมวดวันลา หากลูกจ้างไม่ลาตามระเบียบ หรือ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน สิทธิในวันหยุดพักผ่อนที่มิได้ขอลาหยุดเองนั้น ทั้ง ศาลแรงงาน และ ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน ตัดสินว่ายังมีอยู่ครบเสมอ ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน มาตรา 64 มีเนื้อหาที่สำคัญว่า หากไม่ปรากฏหลักฐานว่า นายจ้างได้จัดให้ลูกจ้างได้หยุดพักผ่อน จนครบตามสิทธิในกฎหมาย และ ครบตามสิทธิในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว และ ถ้านายจ้างมิได้กำหนดให้สะสมสิทธิไปใช้ในปีต่อๆไปได้ ฝ่ายนายจ้างจะต้องจ่ายเป็นเงินค่าทำงานในวันหยุด เท่ากับจำนวนวันที่มีสิทธิหยุดพักผ่อน แต่ยังมิได้หยุดดังกล่าวเสมอและไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการใช้สิทธิลาป่วย ลากิจ ฯลฯ หรือ การลาประเภทอื่นใดก็ตามล้วนเป็นเรื่องที่ผู้บังคับบัญชาและ ผู้บริหารของกิจการต่างๆ จะต้องพิจารณาด้วยความเอาใจใส่และกลั่นกรองให้ดี หากทุกครั้งที่พนักงานยื่นใบลา ก็พิจารณาให้การอนุญาต การหยุดงานของลูกจ้างจะกลายเป็นการหยุดงานที่ชอบด้วยกฎหมาย จะลาป่วยปีละ 100 — 200 วัน เมื่อฝ่ายนายจ้างให้การอนุญาตทุกครั้งที่ขอลาแล้ว แม้ลูกจ้างจะหยุดงานจำนวนมาก ปีละ 100 — 200 วัน แต่ได้รับการอนุญาตให้หยุดงานได้ จึงไม่เป็นความผิด
สิ่งที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับจะต้องระวัง ก็คือ ปัญหาการขาดกำลังคนทำงานและการสูญเสียค่าใช้จ่ายและต้นทุนในค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในอัตราที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็นก็จะเกิดขึ้น ในทางกลับกันถ้าผู้บังคับบัญชาปฏิเสธไม่อนุญาตการขอใช้สิทธิการลาของพนักงาน โดยไม่สามารถให้เหตุและผลที่กฎหมายกำหนด หรือ ยอมรับได้แล้ว ปัญหาในการทำงาน และ การฟ้องร้องก็ย่อมจะมีตามมา เพื่อเป็นการช่วยทำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตามตัวบทกฎหมายแรงงานไทย และได้รับข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ลาของผู้บังคับบัญชา ในการบริหารคน และเพื่อบรรลุเป้าหมายการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ ถูกกฎหมายแรงงานไทย ทุกคนที่มีลูกน้อง และทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารทรัพยากรบุคคลในทุกกิจการควรเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้
Training Schedule
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-16.30 น
1. วันลาที่กฎหมายแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างลาโดยได้รับค่าจ้างมีวันใดบ้าง
2. วันลาตามข้อ 1 ให้ลาได้กี่วัน และ ได้รับค่าจ้างกี่วัน
3. วันลาที่กฎหมายแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างลา โดยมิได้กำหนดให้ต้องจ่ายค่าจ้าง มีวัน ใดบ้าง
4. เงื่อนไข และ หลักเกณฑ์การให้ลา หรือ มิให้ลา นายจ้างกำหนดได้ในขอบเขตเพียงไร และ ควรใช้ข้อความกำหนดในการลาป่วย การลาเพื่อทำหมัน การลาเพื่อรับราชการ ทหาร การลาเพื่อคลอดบุตร การลากิจ การลาเพื่อฝึกอบรมหรือเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ ไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างไร นายจ้างจึงจะได้ประโยชน์สูง
5. การลาประเภทใดที่กฎหมายแรงงาน มิให้นับเป็นวันลา แต่ให้นับวันที่ลูกจ้างมิได้ ทำงานให้นายจ้าง เป็นวันที่ทำงานให้นายจ้าง และ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ด้วย
6. การใช้สิทธิลาประเภทต่าง ๆ เช่น การลาป่วย การลาเพื่อทำหมัน การลาเพื่อรับ ราชการทหาร การลาเพื่อคลอดบุตร การลากิจ การลาเพื่อฝึกอบรมหรือเพื่อพัฒนา ความรู้ความสามารถ การลาไปศึกษา/อบรมหรือดูงานในต่างประเทศ การลาเพื่อ ติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ การลาให้นมบุตร/หรือการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร การลา เพื่ออุปสมบท การลาเพื่อสมรส การลาเฝ้าภรรยาคลอดบุตร การลาเนื่องจากบิดา มารดา หรือบุคคลในครอบครัวป่วยเจ็บ การลาเพื่อพิธีสวดอภิธรรมศพ หรือ การลา เพื่อจัดการงานศพของบุคคลในครอบครัว และการลาเพื่อฌาปนกิจศพ หรือร่วมพิธีฝัง ศพ มีขอบเขตแค่ไหน เพียงไร
7. ทำไมวันหยุดพักผ่อน จึงมิใช่วันลาพักผ่อน ทำไมระเบียบของนายจ้างที่กำหนดให้ ลูกจ้างลา หากไม่ลาหยุดเองถือว่าลูกจ้างสละสิทธิ์ ระเบียบดังกล่าวมีผลเป็นโมฆะ
8. ทำไมการลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์ นายจ้างไม่อนุมัติ และ ถึอเป็นการละทิ้งหน้าที่ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (ยกคำพิพากษาฎีกาประกอบคำอธิบาย)
9. ลูกจ้างที่มิได้หยุดพักผ่อน โดยนายจ้างไม่ต้องการจ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าว มีทาง กระทำให้ถูกกฎหมายแรงงานได้อย่างไร และ ควรทำอย่างไร
10. ถาม — ตอบ สารพันปัญหาการลาทุกประเภท
Instructor
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน
- อาจารย์สอนปริญญาโทในวิชากฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน
- ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 45,000 คดี
- ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและกฎหมายแรงงานให้แก่กิจการภาคเอกชน
Registration Fee
ท่านละ 3,200 บาท + ภาษี 7 % = 3,424 บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238
บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
How to Apply
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231
Payment Method
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด)
Notice of Cancellation
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน
Remark
การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437