กรุงเทพฯ--22 พ.ย.--มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยพลังงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด ได้มีพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในการผลิตก๊าซชีวภาพอัด Compressed Bio-methane Gas (CBG) ภายใต้ โครงการ “พัฒนาก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรเพื่อการคมนาคม” ไปล่วงหน้าแล้วนั้น ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินงานครั้งแรกของในประเทศไทย มีคณะผู้ดำเนินการโครงการ 4 ฝ่าย ประกอบด้วย
- กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (เจ้าของโครงการ)
- สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน (เจ้าของงบประมาณ)
- บริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) (ผู้ร่วมโครงการและร่วมลงทุน)
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ผู้ดำเนินการ)
มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดจัดแถลงข่าวขึ้น เพื่อชี้แจงให้สื่อมวลชนและประชาชนได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ และผลประโยชน์ด้านพลังงานของการดำเนินการต่อประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว ในวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554 เวลา 16.00 น.เป็นต้นไป ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
15.00 — 16.00 น. ผู้มีเกียรติ/สื่อมวลชนลงทะเบียน รับประทานอาหารว่าง
16.00 — 16.10 น. ชมวีดีทัศน์มหาวิทยาลัย
16.10 — 16.30 น. กล่าวรายงานความเป็นมา โครงการ“พัฒนาก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรเพื่อการคมนาคม”
โดย ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพลังงาน
16.30 — 17.00 น. กล่าวเปิดแถลงข่าวความร่วมมือ “การผลิตก๊าซชีวภาพอัด (CBG) ที่ จ.เชียงใหม่”
ผศ.ดร.จำเนียร ยศราช
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา
อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
นายกิตติ ชีวะเกตุ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดชอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ (UAC) จำกัด (มหาชน)
17.00 น. ตอบข้อซักถามและถ่ายรูปร่วมกัน
รายชื่อผู้เข้าร่วมแถลงข่าว
1. ผศ.ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
2. นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงงาน
3. นายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดชอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)
4. ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้